พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากความแตกต่างของน้ำหนักข้าวโพด: การคำนวณความชื้นและสภาพสินค้า
แม้หลักฐานทางบัญชีของโจทก์จะปรากฏว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่พิพาทกันขาดจำนวนไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่รับซื้อเข้ามาและขายออกไป แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ขายข้าวโพดตามจำนวนน้ำหนักที่ขาดหายไปโดยไม่ลงบัญชีเพราะข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่รู้กันอยู่ทั่วไปโดยสภาพของธรรมชาติว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นที่มีอยู่ในตัว ถ้ามีความชื้นมากน้ำหนักก็จะมากขึ้น ถ้ามีความชื้นน้อยน้ำหนักก็จะลดไปตามส่วน ทั้งก่อนโจทก์ส่งข้าวโพดไปขายต่างประเทศจะต้องอบให้เหลือความชื้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด น้ำหนักย่อมลดลงไปอีก การคำนวณน้ำหนักจึงมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้มากเพราะความชื้นแตกต่างกัน จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชีมีเพียง 1,091.140 ตัน แต่โจทก์ส่งข้าวโพดออกไปต่างประเทศถึง700,000 เมตริกตันเศษ จึงเห็นได้ว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปดังกล่าวเกิดจากการคำนวณน้ำหนักความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามสภาพของสินค้าประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปมาถือว่าโจทก์ขายไปโดยไม่ลงบัญชี จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิแม้ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าหรือผู้รับตราส่ง
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้นพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2 ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิ แม้ไม่ใช่ผู้นำเข้า/ผู้รับตราส่ง ภายใน 6 เดือน
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนเงินภาษีอากรต้องรอการเพิกถอนการประเมินก่อน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากมิได้อุทธรณ์การประเมิน
คำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไปแล้วตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้น ศาลจะพิพากษาคืนให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการประเมินนั้นได้ถูกเพิกถอนไปแล้วเท่านั้น ตราบใดที่การประเมินของเจ้าพนักงานยังมีผลอยู่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินการที่โจทก์ฟ้องขอให้คืนเงินค่าภาษีอากรที่ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้นเป็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการประเมินเป็นเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ผลตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากรและเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยังมีผลอยู่ เงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินจึงเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกล่าวอ้างขึ้นเป็นข้อเรียกร้องขอคืนได้ที่จำเลยทั้งสองไม่คืนเงินค่าภาษีอากรให้โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์จากการผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดรถยนต์ชอบด้วยสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายตามฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวดจำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์ จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถพิพาทคืนจากโจทก์ เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม และให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์คืนจากผู้ผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยเรื่องเลิกสัญญาเกินประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวด จำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์คืนจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมและให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประเภทผิดพลาด และสิทธิของนายทะเบียนในการปฏิเสธการต่อทะเบียน
รถยนต์คันพิพาทเดิมเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หลังจากดัดแปลงให้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว เบาะสองแถวหน้าที่วางขวางตามตัวรถใช้นั่งในลักษณะปกติได้ 5 คน ส่วนพื้นที่ตอนท้ายของรถซึ่งมีเบาะอีก 2 เบาะ วางไว้กับพื้นรถตามความยาวของรถ ใช้เป็นที่เก็บยางอะไหล่และมีรอยวงล้อหลังโป่งนูนขึ้นมาทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ของรถและใช้เป็นที่บรรทุกสิ่งของไม่อาจติดตั้งเบาะสำหรับคนนั่งในลักษณะการนั่งอย่างธรรมดาได้ เบาะที่วางไว้กับพื้นรถดังกล่าวไม่มีพนักพิงและเมื่อนั่งแล้วผู้นั่งต้องชันเข่าขึ้นเพราะไม่มีที่ห้อยเท้า ศีรษะก็อยู่ติดกับหลังคารถ ลักษณะของเบาะดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นที่นั่งตามความหมายในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2524)ที่จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณจำนวนที่นั่งในรถตามกฎกระทรวงดังกล่าว รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน การที่นายทะเบียนยานพาหนะรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนมาแต่แรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มาขอต่อทะเบียนและชำระภาษีในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนโดยไม่ยอมจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนยานพาหนะมีอำนาจที่จะไม่รับชำระภาษีและไม่ต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้เสียภาษีมีสิทธิโต้แย้งการประเมินที่สูงเกินจริง และศาลต้องใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นหลัก
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เองพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้รับประเมินมีสิทธิฟ้องเมื่อถูกประเมินภาษีเกินจริง แม้จะรับประเมินไว้แล้ว
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ. 2529เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 กับปี พ.ศ. 2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2529ก็สูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้นแต่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปีพ.ศ. 2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ. 2528 เป็นหลัก