คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า การประเมินเกินกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในเดือนมีนาคม 2517 ซึ่งเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการจนถึงวันที่เจ้าพนักงานออกหมายเรียกแล้วเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี การออกหมายเรียกจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจศาลชอบที่จะเพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516เสียได้ ส่วนภาษีการค้าซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84และ 85 ทวิ นั้นปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา88 ทวิ(2) การประเมินดังกล่าวจึงไม่เกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: เมื่อมีคดีเพิกถอนการประเมินภาษีแล้ว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์ หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษีค้าง เมื่อคดีเพิกถอนการประเมินยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่ คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: คดีเพิกถอนการประเมินภาษีค้างพิจารณา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเก็บภาษี
โจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระภาษีให้โจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จึงฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามที่มีการประเมินไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมิน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดชั้นบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างมีสิทธิร้องคัดค้านได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาและออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปตามคำบังคับ ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องหากผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีนี้ และถูกโต้แย้งสิทธิจึงชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)ได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการบังคับคดีเสียก่อน เนื่องจากโจทก์ย่อมขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างได้ทันทีตามมาตรา 296 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากมิได้แจ้งประเมินผู้ถูกประเมินโดยตรง หรือมีข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน การประเมินนั้นไม่ชอบ
ถึงแม้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จะเป็นสามีภริยากัน และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี แต่การประเมินตาม มาตรา 20 นั้นจะต้องมีการออกหมายเรียกผู้ถูกประเมินมาทำการไต่สวนก่อนตามมาตรา 19การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ที่ 1 มาไต่สวนเพียงผู้เดียว จะถือเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ด้วยไม่ได้ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์ที่ 2 ชำระภาษีเพิ่ม การประเมินโดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 49จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกประเมินมีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่ได้ยื่นรายการไว้ เมื่อโจทก์ที่ 1 และภริยามิได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนในแต่ละปีภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ดังนี้ เจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มโดยอาศัยเหตุดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายกล่องกระดาษ: พิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์เพื่อแยกแยะจากการจ้างทำของ
การซื้อขายและจ้างทำของต่างกันที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ในเรื่องจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 592 จึงกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้อีกประการหนึ่งว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น แต่บางกรณีผลสำเร็จของงานที่ทำอาจเป็นทรัพย์ สิ่งของ เช่นสินค้า และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยวัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ในการทำเป็นของผู้รับจ้างก็ได้ การจ้างทำของในกรณีนี้จึงคล้ายคลึงกับการซื้อขาย การพิจารณาว่า กรณีใดเป็นการซื้อขายหรือจ้างทำของ จึงต้องดูจากเจตนาและพฤติการณ์ของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาว่าสัมภาระ หรือวัสดุที่ใช้ทำเป็นสินค้ากับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้น สิ่งใดสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นจ้างทำของ ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นซื้อขาย กล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นมานั้น ใช้สำหรับบรรจุสินค้าต่าง ๆของลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม สิ่งที่ลูกค้าของโจทก์ต้องการคือคุณภาพของกล่องกระดาษซึ่งจะต้องมีความเหนียวทนทาน และรับน้ำหนักสินค้าที่บรรจุได้เป็นสำคัญ เพื่อมิให้สินค้าที่บรรจุอยู่ภายในเสียหาย แม้ขนาดของกล่องตรา และข้อความที่พิมพ์ลงบนกล่องจะแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของลูกค้า แต่กล่องทุกใบก็มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดอยู่ ทั้งลูกค้าก็จะต้องสั่งซื้อกล่องกระดาษตามตัวอย่างที่โจทก์ทำส่งไปให้เลือก ขนาดของกล่องและข้อความดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อให้เหมาะสมแก่การบรรจุสินค้าต่าง ๆ ของลูกค้าเท่านั้น หามีความสำคัญไปกว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษไม่ และหลังจากสั่งซื้อกล่องตามขนาด ชนิด และข้อความที่ต้องการแล้ว ลูกค้าของโจทก์ไม่มีอำนาจที่จะเข้าตรวจตราการทำงานของโจทก์ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับลูกค้า จึงมิใช่อยู่ในฐานะของผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แต่เป็นการประกอบการค้าโดยการทำกล่องกระดาษขายให้แก่ลูกค้าตามคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ ในการทำกล่องกระดาษนั้น โจทก์จะนำกระดาษคราฟท์ป้อนเข้าเครื่องจักรแล้วเครื่องจักรก็จะทำงานตามขั้นตอนจนสำเร็จออกมาเป็นส่วนที่จะใช้เป็นกล่องซึ่งเป็นตัวสินค้า จึงเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า อันอยู่ในความหมายของคำว่า"ผลิต" ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและเมื่อผลิตออกมาเป็นกล่องแล้วก็จะส่งให้ลูกค้าตามที่สั่งโดยคิดราคาตามที่ตกลงกัน อันเป็นการขายตามความหมายที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ ดังนั้น การประกอบการค้ากล่องกระดาษของโจทก์จึงเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ ชนิด 1(ก) มิใช่เป็นการรับจ้างทำของอันจะต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิต: การพิสูจน์ภาระภาษีและการรับฟังพยานหลักฐาน
ตามใบสำคัญที่จำเลยยึดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้รับเงินค่าขายเครื่องดื่มพิพาทในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน (เว้นแต่เดือนเมษายน)2528 จำนวน 889,399 ขวดและในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ซื้อแสตมป์จากจำเลยเพื่อปิดแสดงการชำระภาษี 600,000 ดวง โดยปิดที่ขวดเครื่องดื่ม ขวดละ 1 ดวงเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำนวนขวดที่ปรากฏในเอกสารที่จำเลยยึดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมของโจทก์เป็นการเจ็บหนี้เก่าของโจทก์อยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเครื่องดื่มพิพาทที่โจทก์นำออกจากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 289,399 ขวด โจทก์มิได้เสียภาษีสรรพสามิตก่อนนำออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามที่ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527มาตรา 10 กำหนดไว้ เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นภาพถ่าย โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่อ้างส่งต้นฉบับหรือคู่ฉบับไม่ได้เพราะเหตุใด เอกสารที่โจทก์อ้างจึงต้องห้ามมิให้รับฟังดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 93.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารทางภาษี การประเมินภาษีเมื่อเอกสารสูญหาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณสถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้
แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1)แห่งประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีเอกสารทางบัญชีสูญหายจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษการที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้ แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรได้
of 72