คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน: การบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนจากอุบัติเหตุจากการทำงาน: เกณฑ์การเป็นผู้อยู่ในอุปการะ
ผู้ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างที่ตายตามความในวรรคสองของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 นั้น อาจเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันไม่ถึงเสมอเป็นเครือญาติกับลูกจ้าง แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพียงพอเกี่ยวกับการดำรงชีพที่ได้รับจากผู้ตายเสมอมามิใช่ด้วยความเมตตาเป็นครั้งเป็นคราวและไม่แน่นอน และความตายของลูกจ้างผู้นั้นต้องเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บุคคลนั้นต้องได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาวางเงินตามคำสั่งศาล: ผลของการไม่รอฟังคำสั่งและการป่วยหลังทราบคำสั่ง
โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 7 มีนาคม 2518 ขอให้เพิกถอนคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีและคำสั่งพนักงานเงินทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นว่า โจทก์ไม่ได้วางเงินตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ให้โจทก์วางเงินภายใน 3 วัน แล้วจะสั่งต่อไป ดังนี้เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องระบุว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งของศาลในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั่นเอง ซึ่งย่อมมีผลตั้งต้นคำนวณเป็นหนึ่งในวันรุ่งขึ้น และสิ้นสุดที่จะต้องวางเงินตามคำสั่งภายในวันที่ 10 มีนาคม 2518 เมื่อโจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องไปแล้ว โจทก์จะขอวางเงินโดยอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2518 หาได้ไม่ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ป่วยก่อนที่จะทราบคำสั่งให้วางเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจกท์ทราบคำสั่งศาลแล้วเช่นกัน