คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานโดยคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อาจถือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นรับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่งจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จ้างเข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: คณะกรรมการอาคารชุดไม่ใช่ตัวแทนจำเลยที่ 1 แม้มีการสนับสนุนทางการเงิน
เดิมจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาจำเลยที่ 1ได้อนุมัติให้คณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นซึ่งมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นกรรมการไปดำเนินการและรับผิดชอบในการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องเพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการดังกล่าว การจ้างงานระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 กับโจทก์เพื่อทำงานรักษาความสะอาด และรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชน เป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาตัวการตัวแทน และการรับผิดชอบค่าจ้างเมื่อมีการมอบหมายงานให้คณะกรรมการ
เดิมจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาได้อนุมัติให้คณะกรรมการการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นซึ่งมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นกรรมการไปดำเนินการและรับผิดชอบในการบริหารงาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้อง เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และจ่ายเป็นรายเดือนตามที่ศาลแรงงานพิพากษา
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและศาลต้องพิพากษาตามรูปแบบที่โจทก์ขอ
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้วยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวนจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมแรงงาน
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น"เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างกำหนดข้อบังคับทำงานเพิ่มเติม ต้องผูกพันตามข้อบังคับนั้น การเลิกจ้างเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับถือไม่ชอบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติและโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าว ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น นายจ้างจะลงโทษนอกเหนือจากข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งทำงานล่วงเวลา และผลผูกพันตามข้อบังคับเพิ่มเติมของนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษทางวินัยเกินข้อบังคับ: การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ทำงานล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โดยทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสองได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบการโรงแรมโอเรียนเต็ลโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2531 โจทก์กับกรรมการลูกจ้างอื่นราว 11 คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการลูกจ้างทั้งหมด ทำหนังสือถึงจำเลยขอให้จัดประชุมร่วมหารือระหว่างกรรมการลูกจ้างกับจำเลยตามกฎหมาย แต่จำเลยปฏิเสธที่จะจัดประชุม การกระทำของจำเลยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธื พ.ศ. 2518 ทำให้โจทก์ทั้งสองในฐานะกรรมการลูกจ้างได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจัดประชุมร่วมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
of 54