คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ vs. การลวงขายสินค้า - สินค้าคนละประเภท
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า3 คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 47 คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 12 และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 38 โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง 3 จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า 2 จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก 38โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "ST" กับสินค้าจำพวกที่ 47 คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก 12 คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก 38 เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก12 และ 47 แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก่อนฟ้องคดีเพียง 4 ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก 12 และ 47 ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก 12 และ 47 ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายเร็วขึ้น ถือเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า ๓ นิ้วฟุต ยาวราว ๑ ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตายเมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน ๑ นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ขนาดเท่าใดตีผู้ตายแล้วก็เลิกรา กันไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่า ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ ๑๗ ชั่วโมงแม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิจารณาถึงเจตนาและผลกระทบต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกทำร้าย
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุต ยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตายเมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน 1 นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ขนาดเท่าใด ตีผู้ตายแล้วก็เลิกรากันไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่า ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ 17 ชั่วโมง แม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการฆ่าโดยไม่เจตนา
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุต ยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏความหนาตีผู้ตาย เมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพจำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน 1 นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านโดยไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ใหญ่ขนาดเท่าใดตีผู้ตายแล้วเลิกรากันไปพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น ก่อนผู้ตายจะถูกจำเลยทำร้าย ผู้ตายมีอาการปกติดีอยู่ ไม่ได้ส่อว่าจะถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็งซึ่งผู้ตายเป็นอยู่ในเร็ววันการที่ผู้ตายถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ17 ชั่วโมง สภาพศพภายในสมองบวมน้ำ กระดูกซี่โครงซี่ที่ 2และที่ 4 ข้างขวาช้ำมีรอยแตกร้าว ส่วนสภาพศพภายนอกมีรอยช้ำขนาดใหญ่ที่ใบหน้าด้านขวาตั้งแต่คิ้วถึงคางและขอบตาซ้าย แม้แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพจะเบิกความว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็งไม่ได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายแต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าการที่จำเลยทำร้ายผู้ตายไม่เป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควร จำเลยต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายต่อเนื่องทำให้ถึงแก่ความตาย ถือเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายเร็วขึ้น
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุต ยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตายเมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน 1 นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ขนาดเท่าใดตีผู้ตายแล้วก็เลิกรา กันไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่า ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ 17 ชั่วโมงแม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาไปเพื่ออนาจาร ข่มขืน และชิงทรัพย์: การพิจารณาเจตนาในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา
จำเลยกับผู้เสียหายเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาได้แยกกันอยู่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยหย่าขาดกับผู้เสียหายตามกฎหมายอิสลามการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้กับภริยาซึ่งมีบุตรด้วยกัน อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะ ย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดยมีเจตนาร้าย จึงไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขังและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหายซึ่งสวมใส่ไป โดยบอกกับผู้เสียหายว่าถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวผู้เสียหายอาจมีเงินหลบหนีได้ แสดงว่าการที่จำเลยเอาทรัพย์ดังกล่าวไป จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตไม่จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดทางอาญาในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา: เจตนาวิสาสะและความเข้าใจผิดในสิทธิ
จำเลยกับผู้เสียหายแต่งงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหายแยกกันอยู่แต่มิได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกักขังเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิกระทำได้กับภริยาซึ่งมีบุตรด้วยกัน และบุตรก็ยังอยู่กับจำเลย อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะ ย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดยมีเจตนาร้ายไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขัง และข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหาย โดยจำเลยบอกกับผู้เสียหายว่า ถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวอาจมีเงินหลบหนีได้แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นประโยชน์ส่วนตัวไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจำเลยกระทำอนาจารและชิงทรัพย์: พิจารณาจากความสัมพันธ์และเหตุผลในการกระทำ
จำเลยกับผู้เสียหายเคยอยู่กินฉัน สามีภริยาโดย ทำพิธี แต่งงานกันตาม ลัทธิศาสนาอิสลาม และมีบุตรด้วยกัน ๑ คน ต่อมาได้ แยกกันอยู่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัด ว่า จำเลยหย่าขาดกับผู้เสียหายตามกฎหมายอิสลาม การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดย เข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้ กับภริยาซึ่ง มีบุตรด้วยกัน อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดย มีเจตนาร้าย จึงไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารหน่วงเหนี่ยวกักขังและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
จำเลยถอด เอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหายซึ่งสวมใส่ไป โดย บอกกับผู้เสียหายว่าถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัว อาจมีเงินหลบหนีได้ แสดงว่าการที่จำเลยเอาทรัพย์ดังกล่าวไป จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตไม่จึงไม่เป็นความผิดฐาน ชิงทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจำเลยกระทำอนาจารและชิงทรัพย์: วิสาสะ, ป้องกันการหลบหนี, ไม่เข้าข่ายความผิด
จำเลยกับผู้เสียหายเคยอยู่กินฉัน สามีภริยาโดย ทำพิธี แต่งงานกันตาม ลัทธิศาสนาอิสลาม และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาได้ แยกกันอยู่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัด ว่า จำเลยหย่าขาดกับผู้เสียหายตามกฎหมายอิสลาม การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดย เข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้ กับภริยาซึ่ง มีบุตรด้วยกัน อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดย มีเจตนาร้าย จึงไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารหน่วงเหนี่ยวกักขังและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยถอด เอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหายซึ่งสวมใส่ไป โดย บอกกับผู้เสียหายว่าถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัว อาจมีเงินหลบหนีได้ แสดงว่าการที่จำเลยเอาทรัพย์ดังกล่าวไป จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตไม่จึงไม่เป็นความผิดฐาน ชิงทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัท: การห้ามทำกิจกรรมส่วนตัวในสถานที่ทำงาน แม้หลังเลิกงาน ก็เป็นวินัยที่ลงโทษได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทผู้ร้องกำหนดว่า ลูกจ้างต้องไม่นำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่มาทำในเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงานของบริษัท ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า ห้ามลูกจ้างนำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่เข้ามาทำในสถานที่ทำงาน หรือทำสิ่งอื่นใดซึ่งไม่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในเวลาทำงานปกติหรือนอกเวลาทำงาน ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างนำเครื่องวิทยุมาซ่อมในสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่งานในหน้าที่แม้จะเป็นการทำนอกเวลาทำงานก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 54