คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะไม้หวงห้ามตามกฎหมาย ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีไม้งิ้วอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 ซึ่งไม้งิ้วในท้องที่ที่จำเลยกระทำผิดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 แต่ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 และบัญญัติให้ไม้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิได้กำหนดให้ไม้งิ้วเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ดังนั้นไม้งิ้วย่อมไม่เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกต่อไป จำเลยจึงเป็นผู้พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีข้าวเปลือกสูญหาย: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยแม้ชาวนายังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของโจทก์ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ระวังรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากจากชาวนา เป็นเหตุให้คนร้ายลักข้าวเปลือกนั้นไป เป็นผลโดยตรงให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องใช้เงินให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรผู้รับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าขณะที่ข้าวเปลือกหายไปยังเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวนาอยู่หรือไม่และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวนาแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ร่วมกันอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และระบุว่ากรณีจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทำให้ข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากไว้ในคลังสินค้าขาดหายไป ดังนี้คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญยาจ้างแรงงานอันมีอายุความฟ้องร้อง 10ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดฐานกระทำละเมิดตามมาตรา 420 อันมีอายุความฟ้องร้อง 1ปีตามมาตรา 448 วรรคแรกไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในคดีเดิมที่จำเลยขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าโจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้างเป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานเพื่อตอบสนองในความร่วมมือของพนักงานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้นและประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างเมื่อพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนประกาศ
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้าง เป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานว่าเพื่อตอบแทนในความร่วมมือของพนักงานที่ทำ ให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้น และประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศ ดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6143/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมความ ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 และการขอเลื่อนคดีมีเหตุผล
การไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเพียงการไต่สวนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่เท่านั้น พยานหลักฐานในชั้นนี้จึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันไต่สวนไม่น้อยกว่าสามวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก ในระหว่างสืบพยานจำเลยตามคำร้องขอจำเลยที่กล่าวหาว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาแม้แต่ครั้งเดียว ทนายโจทก์เพิ่งขอเลื่อนการพิจารณาครั้งแรก ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าวโดยอ้างว่า ทนายโจทก์ป่วยและมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย ถือได้ว่าทนายโจทก์มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนและตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ประวิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6143/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันไต่สวน และการขอเลื่อนคดีที่มีเหตุผล
การไต่สวนคำร้องของจำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเพียงการไต่สวนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ เท่านั้น พยานหลักฐานในชั้นนี้จึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทกันตามคำฟ้อง และคำให้การ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันไต่สวนไม่น้อยกว่าสามวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก
ในระหว่างสืบพยานจำเลยตามคำร้องของจำเลยที่กล่าวหาว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาแม้แต่ครั้งเดียว ทนายโจทก์เพิ่งขอเลื่อนการพิจารณาครั้งแรกในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าวโดยอ้าง ว่าทนายโจทก์ป่วยและมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วยถือได้ว่าทนายโจทก์มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนและตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าโจท์ประวิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด และต้องพิจารณาข้อบังคับการทำงาน
คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือทำร้ายผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และโจทก์ทำร้าย ป.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์เนื่องจากถูก ป.ตำหนิเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น แต่ที่วินิจฉัยต่อไปว่าการที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป.ดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ซึ่งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ป.ผู้บังคับบัญชานั้น ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องนี้มีว่าอย่างไร และไม่ปรากฏว่าคู่ความได้อ้างส่งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา มีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
of 54