คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าวไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี มิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามระยะเวลาจ่ายค่าจ้าง
จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้โจทก์เดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 16และวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนซึ่งเป็นวันสิ้นเดือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่งเป็นวันสิ้นเดือนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือวันที่ 16 มีนาคม 2531 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์ขอก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ขอมา ศาลแรงงานก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิได้ จำเลยนำสืบพยานเอกสารโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานสามวัน แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะ จึงหาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและการรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน
จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้โจทก์เดือนละ 2 ครั้งในวันที่ 16 และวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนซึ่งเป็นวันสิ้นเดือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่งเป็นวันสิ้นเดือนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือถึงวันที่ 16 มีนาคม 2531
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินค้าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์ขอก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ขอมา ศาลแรงงานก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิได้
จำเลยนำสืบพยานเอกสารโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานสามวัน แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงหาขัดต่อประมวลกฎมหายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังได้รับการล้างมลทินทางวินัย: ผลของการตักเตือนเป็นหนังสือที่มีอยู่เดิม
เมื่อปี พ.ศ.2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้นและถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้น ส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มากระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยคือในปี พ.ศ.2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออก จากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินทางวินัยกับการเลิกจ้าง: การพิจารณาโทษทางวินัยที่ได้รับการล้างมลทินแล้วและการลงโทษซ้ำ
เมื่อปี พ.ศ. 2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน1 ขั้น และถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้นส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มา กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยอีกในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติ ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: ภาพศิลปะ vs. ภาพธรรมดา, จำนวนพยางค์, และความสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่งประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่าจั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า จึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมและเจตนาของผู้ประกอบการ
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่ง ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่า จั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้าจึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: ผู้รับมอบหมายทำงานและลูกจ้างที่รับเข้าทำงานตามอำนาจมอบหมายเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมาย
"นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 แยกออกได้เป็น 2 จำพวก คือนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลสำหรับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา นอกจากจะเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้แล้ว ยังหมายความรวมไปถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างด้วยและลูกจ้างที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างรับเข้าทำงานตามอำนาจที่นายจ้างมอบหมาย ย่อมเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำนิยาม “นายจ้าง” ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ครอบคลุมผู้รับมอบหมายทำงานแทนได้ แม้เป็นบุคคลธรรมดา
"นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 แยกออกได้เป็น 2 จำพวก คือนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล สำหรับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา นอกจากจะเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมไปถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างด้วยและลูกจ้างที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างรับเข้าทำงาน ตามอำนาจที่นายจ้างมอบหมาย ย่อมเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมายด้วย
of 54