พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความคล้ายคลึงจนทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่น สีพ่นรถ ภาชนะใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมันอยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลงของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาว รูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกัน ด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝากระป๋องก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้ จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้" กับ "สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน "TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบกรรมวิธีตามสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยรวม 8 คนฐานร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาโดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85,86,88ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เพียงแต่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งคุ้มครองเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ได้ยื่นคำขอไว้และการกระทำของจำเลยในคดีนี้ก็เป็นเรื่องของการประดิษฐ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องส่วนใหญ่แล้ว ก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ มีข้อแตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งเพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดทางอาญาตามฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เป็นผู้ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำเลยที่ 5 นิติบุคคล ผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นดังกล่าว ส่วนจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็อาจจะเป็นผู้กระทำความผิดได้ตามมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีของโจทก์จึงมีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบกรรมวิธีตามสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยรวม 8 คนฐานร่วมกันผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาโดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตาม กฎหมายและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85, 86, 88 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เพียงแต่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งคุ้มครองเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ได้ยื่นคำขอไว้และการกระทำของจำเลยในคดีนี้ก็เป็นเรื่องของการประดิษฐ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องส่วนใหญ่แล้วก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกับ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ มีข้อแตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งเพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดทางอาญาตามฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เป็นผู้ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำเลยที่ 5 นิติบุคคล ผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นดังกล่าว ส่วนจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็อาจจะเป็นผู้กระทำความผิดได้ตามมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีของโจทก์จึงมีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การ - การสละสิทธิเรียกร้อง - การวินิจฉัยนอกประเด็น
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริตทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาต่อโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาท ให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใดแต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีแรงงาน: จำเลยต้องให้การชัดเจนเพื่อสร้างประเด็นข้อพิพาท ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริต ทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาทให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์ โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใด แต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิลูกจ้าง สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ และการสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทำได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลย ซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าว ไม่มีผลใช้บังคับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011-5036/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการสิทธิในการสืบพยานหลังพ้นกำหนด
เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจสั่งและดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 แล้วจดแจ้งเรื่องที่กระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหลายนั้นคงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับเดียวกันได้
จำเลยมาศาลในขณะที่ศาลแรงงานกลางกำลังอ่านรายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ที่เหลือนั้นต่อไปและจดแจ้งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม (1) จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ
จำเลยมาศาลในขณะที่ศาลแรงงานกลางกำลังอ่านรายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ที่เหลือนั้นต่อไปและจดแจ้งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม (1) จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สถาบันการเงิน: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย vs. ข้อตกลงในสัญญา
บริษัทโจทก์ประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ จึงเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาตรา 3 มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราสูงสุดเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 สัญญากู้ที่จำเลยทำกับโจทก์ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แต่ไประบุไว้ในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้แต่ต้องไม่สูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 20 ตามสัญญากู้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยฯ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมาย
บริษัทโจทก์์ประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ จึงเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 มาตรา 3 มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราสูงสุดเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 สัญญากู้ที่จำเลยทำกับโจทก์ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ไประบุไว้ในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้แต่ต้องไม่สูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 20 ตามสัญญากู้เท่านั้น