คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ศาลต้องไต่สวนเหตุผลก่อนมีคำสั่ง ไม่ใช่ยกคำร้องทันที
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกาและสืบพยานจำเลยเวลา 13.30 นาฬิกาในวันเดียวกัน จำเลยไม่มาศาลในเวลาสืบพยานโจทก์ จนศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนหมดพยาน คดีเสร็จการพิจารณาให้รอฟังคำพิพากษา ก่อนศาลพิพากษาคดีในวันนั้นเวลา13.14 นาฬิกา จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังนี้ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และมีเหตุสมควรพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838-3853/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะการจ้างงาน: การจ่ายค่าจ้างตามผลงานไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ หากมีอำนาจบังคับบัญชา
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานแต่จำเลยเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ในการทำงาน ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นลักษณะการจ้างแรงงานหาใช่จ้างทำของไม่ การที่จำเลยจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้โจทก์ตามผลงานที่ทำได้นั้นค่าตอบแทนดังกล่าวคงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้อง ของ โจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่าย อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุน ยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่า ศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกสำนวนคดีแพ่งกับการพิจารณาคดีแรงงาน ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร ไม่ผูกมัดผลคำพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้องของโจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุนยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่าศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยานเอกสาร มิใช่การผูกมัดผลคำพิพากษา อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายแรงงาน
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้อง ของ โจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่าย อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุน ยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่า ศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรงกระทบต่อการทำงาน แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับ ก็สามารถอ้างเหตุได้
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วจะต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ก็สามารถพิจารณาได้จากการกระทำของโจทก์ว่า เป็นการกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 หรือไม่ โจทก์ซึ่งมีอาการมึนเมาสุราได้ขอให้ ป.ผู้ร่วมงานช่วยตามหาภรรยาซึ่งหนีไป เมื่อ ป. ไปกับโจทก์ โจทก์ถือโอกาสพา ป. เข้าโรงแรมแล้วปลุกปล้ำแต่ ป. หนีมาได้ การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นความผิดอาญา เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดี เป็นการประพฤติชั่วแล้ว ยังก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันเป็นผลเสียกระทบกระเทือนถึงการงานของจำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรงกระทบต่อการทำงาน แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับก็มีผลให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วจะต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ก็สามารถพิจารณาได้จากการกระทำของโจทก์ว่า เป็นการกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 หรือไม่ โจทก์ซึ่งมีอาการมึนเมาสุราได้ขอให้ ป.ผู้ร่วมงานช่วยตามหาภรรยาซึ่งหนีไป เมื่อ ป. ไปกับโจทก์ โจทก์ถือโอกาสพา ป. เข้าโรงแรมแล้วปลุกปล้ำแต่ ป. หนีมาได้ การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นความผิดอาญา เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดี เป็นการประพฤติชั่วแล้ว ยังก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันเป็นผลเสียกระทบกระเทือนถึงการงานของจำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 27 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้
of 54