พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานในช่วงแจ้งล่วงหน้า แต่จ่ายค่าจ้างให้
เมื่อกรณีเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างได้แจ้งการปิดงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว แม้นายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในช่วงเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ประกาศแจ้งล่วงหน้า แต่ก็ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถือได้ว่าคงมีการทำงานอยู่จนถึงกำหนดวันเวลาที่แจ้งให้การปิดงานมีผล มิใช่เป็นการปิดงานนับแต่วันเวลาที่แจ้ง จึงเป็นการปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างในระหว่างที่มีการปิดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตาม โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุด และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของนายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยกับโจทก์ต้องผูกพันกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ทำให้ความเป็นลูกจ้างนายจ้างสิ้นสุดลง คงเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะได้กำหนดขึ้น เมื่อโจทก์ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ จำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างตามข้อผูกพันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ โจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยอายุความในการฟ้องร้องจึงต้องถืออายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ตกเป็นผู้ผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการทำร้ายร่างกายและการยินยอมให้ถอนเงินร่วม ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกาย ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์จำเลยตกลงกัน ศาลได้บันทึกข้อตกลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "จำเลยรับว่าได้ทำร้ายร่างกายโจทก์จริง โจทก์ว่าเมื่อจำเลยรับแล้ว ก็ไม่ติดใจจะว่ากล่าวกับจำเลย เงินในบัญชีธนาคารซึ่งใส่ชื่อร่วมกันอยู่ จำเลยจะคืนให้โจทก์และจะให้อีก400,000 บาท โดยจะชำระให้ภายใน 6 เดือนแรก 200,000 บาท ที่เหลือภายใน 6 เดือนหลัง นอกจากข้อตกลงนี้แล้วคู่ความไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกัน โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้านจำหน่ายคดี" ดังนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ไม่ติดใจว่ากล่าวกับจำเลยเพราะจำเลยรับว่าได้ทำร้ายโจทก์ ไม่มีเงื่อนไขหรือมีความหมายว่าจำเลยจะให้เงินโจทก์เมื่อโจทก์ถอนฟ้อง และเป็นบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 และมิได้เป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยตรง ซึ่งจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการร่วมกันกระทำความผิดอาญา แม้ไม่มีการวางแผนร่วมกัน
จำเลยชกต่อยกับผู้ตายไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่เมื่อน้องชายช่วยจำเลยโดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด จนผู้ตายล้มลง จำเลยใช้สากไม้ตำข้าวขนาดใหญ่ตีผู้ต้ายซ้ำอีก2 ที ที่ศีรษะของผู้ตายจนกะโหลกศรีษะของผู้ตายแตกเป็นหลายชิ้นสมองถูกทำลาย ดังนี้แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตาย การร่วมกันกระทำความผิดไม่จำเป็นต้องมีเจตนาร่วมกันมาก่อนเกิดเหตุเสมอไป อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเหตุนั้นเองก็ได้ ทั้งนี้แล้วข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น จำเลยกับน้องชายมิได้คบคิดกันเพื่อประทุษร้ายผู้ตายมาก่อนจำเลยเห็นผู้ตายถูกกระสุนปืนนัดแรกแต่ยังไม่ถึงแก่ความตายจำเลยก็ใช้สากไม้ตำข้าวตีทำร้ายผู้ตายช้ำในทันที ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ที่จะช่วยน้องชายทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นฟ้องซ้ำกับการฟ้องเรียกเงินสำรองที่เบิกไป
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์คดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 และศาลได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดไปแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินสำรองจากจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยเบิกเงินสำรองจากโจทก์ไปแล้วไม่ชำระคืน เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาหรือข้อตกลง มูลกรณีซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องเรียกและประเด็นซึ่งจะต้องวินิจฉัย จึงต่างเหตุและต่างประเด็นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดีข่มขืนกระทำชำเราเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์และการพิจารณาความผิดต่อส่วนตัว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก โจทก์ฎีกาว่า ไม่สมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่า ในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น จำเลยมิได้กระทำต่อหน้าธารกำนัล โดยจำเลยอยู่กับผู้เสียหายโดยลำพังในห้อง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส จึงเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 281 และคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดีข่มขืนกระทำชำเรา และผลของการถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสองศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก โจทก์ฎีกาว่า ไม่สมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น จำเลยมิได้กระทำต่อหน้าธารกำนัลโดยจำเลยอยู่กับผู้เสียหายโดยลำพังในห้อง การกระทำของจำเลยก็มิได้เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส จึงเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 และคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีละเมิด การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นไปโดยมีมูล
โจทก์ขับรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศของบุคคลภายนอก คณะกรรมการสอบสวนของจำเลยมีมติว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท โจทก์จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายนี้เจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศได้ฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้การที่จำเลยหักเงินของโจทก์ไว้ตามสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์จำเลยและค่าช่วยเหลือผู้โดยสารในรถยนต์ของจำเลยที่บาดเจ็บที่จำเลยจ่ายไป จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินมาโดยมีมูลจะอ้างกฎหมายได้ คำพิพากษาในคดีระหว่างบุคคลภายนอกกับโจทก์และจำเลยย่อมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น ความเสียหายของจำเลยที่โจทก์ยอมรับชดใช้ยังคงมีอยู่ หามีผลทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลับเป็นไม่มีมูลจะอ้างกฎหมายได้อีกไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนจากจำเลย