คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่ลงนามในหนังสือทัณฑ์บน นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ทัณฑ์บนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายทำให้แก่นายจ้างไว้เองด้วยความสมัครใจ โดยมีคำรับรองว่าลูกจ้างจะไม่กระทำผิดซ้ำอีกนายจ้างจึงไม่อาจที่จะบังคับลูกจ้างให้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่ตนได้การที่นายจ้างทำหนังสือทัณฑ์บนขึ้นแต่ลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างบังคับลูกจ้างทำทัณฑ์บนไม่ได้ ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ทัณฑ์บนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายทำให้แก่นายจ้างไว้เองด้วยความสมัครใจ โดยมีคำรับรองว่าลูกจ้างจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะบังคับลูกจ้างให้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่ตนได้ การที่นายจ้างทำหนังสือทัณฑ์บนขึ้น แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบหลักและส่วนประกอบรองเพื่อวินิจฉัยความเหมือน/ต่าง
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้ โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบอักษรโรมันคำว่าPUMA(พูม่า)โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์มีลักษณะโค้งมนส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่ง แล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บเส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามความในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONGHORNไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียว มาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMAบ้างหรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ลิ้นรองเท้าบ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อย เพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมันPUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่ จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นรูปแถบโค้งเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัดแม้ส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยากจึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่งแตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจากส่วนประกอบหลักและการประเมินเจตนาทุจริต
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีบับลิกแห่งประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้
โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐฺ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า PUMA (พูม่า) โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์ มีลักษณะโค้งมน ส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่งแล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตราในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONG HORN ไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียวมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMA บ้าง หรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ส้นรองเท้าบ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อยเพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยาก จึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อน จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลจำเลยในคดีก่อนด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ขอให้ศาลนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษในคดีที่โจทก์ฟ้องด้วย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดในคดีที่โจทก์ฟ้องและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏ แม้รายการประวัติอาชญากรที่พนักงานคุมประพฤติส่งต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับรายงานการสืบเสาะ จะระบุรายการตรงกับที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้อง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงไม่ติดใจคัดค้านกรณีก็ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาในคดีก่อนตามรายการประวัติอาชญากร จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องจะนำโทษในคดีดังกล่าวมาบวกกับโทษในคดีที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อน ต้องมีการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นคนเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ขอให้ศาลนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษในดคีที่โจทก์ฟ้องด้วย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดในคดีที่โจทก์ฟ้องและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏ แม้รายการประวัติอาชญากรที่พนักงานคุมประพฤติส่งต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับรายงานการสืบเสาะจะระบุรายการตรงกับที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้อง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงไม่ติดใจคัดค้านกรณียังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาในคดีก่อนตามรายการประวัติอาชญากร จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนำโทษในคดีดังกล่าวมาบวกกับโทษในคดีที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบการเงินอย่างร้ายแรง กรณีไม่นำเงินฝากตามกำหนด
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดที่ได้จากการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเป็นผู้รับผิดชอบส่งเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปฝากธนาคารหรือส่งให้สาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอสุไหงปาดีมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งรัด มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการธนาคารของจำเลย จนอาจทำให้ไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ การที่โจทก์รับเงินจากลุกค้าการเกษตรไว้จำนวน 1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่ต้องส่งฝากเข้าบัญชีเงินฝากของสาขาเพียง 74 บาท แต่เมื่อโจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วัน ทั้งที่โจทก์สามารถนำเงินไปฝากได้ทันทีตามกำหนดนั้น ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างขัดแจ้งอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงิน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดและส่งฝากเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเข้าธนาคารหรือสาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบด้วยการเงิน รับเงินจากลูกค้าการเกษตรไว้จำนวน1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้เพียง 74 บาท แต่โจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วันดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสคำนวณจากรายได้ประจำ: ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวม
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึง เฉพราะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือน ฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นหลักฐานคำนวณเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณโบนัส: รายได้ประจำ vs. รายได้เสริม - ศาลฎีกาชี้ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวมคำนวณ
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึงเฉพาะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือนฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินโบนัส
of 54