คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด นายจ้างมีอำนาจบริหาร แต่ต้องไม่เลือกปฏิบัติ
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การกระทำของลูกจ้างที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลต่อการพิจารณา
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจการเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การเข้าใจผิดและอำนาจบริหาร
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคารอ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรง กัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่า ไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบ จนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ. แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินเพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ให้เสนอเรื่องซื้อสินค้า ถือเป็นความผิดฐานใช้ให้กระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยเพื่อนำไปให้ ส. เป็นการตอบแทนที่ ส. เสนอเรื่องขอซื้อสินค้าของผู้เสียหายต่อผู้บังคับบัญชาจนเป็นผลสำเร็จ เป็นกรณีที่ผู้เสียหายใช้จำเลยนำเงินไปให้แก่ ส.เพื่อจูงใจให้ส. กระทำการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ให้จำเลยไปกระทำความผิด ดังนี้ ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็คพิพาท แม้ผู้สลักหลังจะชำระหนี้แล้ว
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจากป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้นเป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้รับโอนในการฟ้องผู้สั่งจ่าย
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การไม่มีเงินในบัญชี ณ วันออกเช็คเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. เช็ค
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็คเงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูลมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการจ่ายเช็คในวันออกเช็คเป็นเหตุให้คดีมีมูลไม่ต้องพิสูจน์สถานะบัญชีในวันออกเช็ค
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูล มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการจ่ายเช็คในวันออกเช็คแสดงว่าไม่มีเงินในบัญชี คดีเช็คมีมูล
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูล มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค.
of 54