พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานปล้นทรัพย์และพกพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ต้องพิสูจน์การไม่มีใบอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านโดยมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว จำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะฟังได้ว่าขณะที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยก็ตามโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองและมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวจึงจะลงโทษจำเลยได้ มิฉะนั้นคงลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การว่าจ้างฆ่าผู้อื่น: พยานหลักฐานแน่นหนา ทั้งคำเบิกความและคำรับสารภาพ
โจทก์มี ส. เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 มาติดต่อขอให้หามือปืนไปฆ่าคน ส. จัดให้จำเลยที่ 1 พบและตกลงว่าจ้างจำเลยที่ 2 กับ ป. ราคา 45,000 บาท ส. รับฝากเงินค่าจ้างงวดแรก 15,000บาทจากจำเลยที่ 1 ไปมอบให้ ป. หลังจากผู้ตายถูกยิงแล้วส.รับเงินค่าจ้างงวดที่สอง30,000บาทจากจำเลยที่1ฝากฉ.ไปมอบให้จำเลยที่ 2 อีก ฉ. เบิกความสอดคล้องกัน ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 กับพวกให้ไปฆ่าผู้ตายจริงอันเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างธนาคาร การลดโทษทางวินัย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยให้โจทก์นำเอกสารที่เป็นความลับของธนาคารจำเลยที่ไม่ต้องการใช้และไม่มีประโยชน์ไปเผาทำลาย แต่โจทก์กลับนำเอกสารบางส่วนไปขายโดยไม่นำไปเผา และเอาเงินที่ขายได้เป็นของตนเอง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่สิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลดโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลดโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างธนาคารและการเลิกจ้างโดยชอบธรรม การลดโทษไม่กระทบสิทธิของนายจ้าง
จำเลยให้โจทก์นำเอกสารที่เป็นความลับของธนาคารจำเลยที่ไม่ต้องการใช้และไม่มีประโยชน์ไปเผาทำลาย แต่โจทก์กลับนำเอกสารบางส่วนไปขายโดยไม่นำไปเผา และเอาเงินที่ขายได้เป็นของตนเองจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลงโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบสถาบันฯ เป็นความผิด แม้ไม่มีเจตนา
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 2,6,45,46 และ 54 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107 ถึง 112 แสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศตลอดไป
พระบรมมหาราชวังเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระธิดาดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า ถ้าจำเลยเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระนั้น แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้ง ก็ย่อมแปลเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวด้วย การที่จำเลยกล่าวว่า ถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมตื่นอีกทีบ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์ให้สบายอกสบายใจนั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจ ใด ๆ เวลาเที่ยงเสวยเสร็จก็บรรทมไปจนถึงเวลาบ่ายสามโมงตกตอนเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์อย่างสบายอกสบายใจ ต่างกับจำเลยซึ่งเกิดเป็นลูกชาวนาต้องทำงานหนัก มีแต่ความยากลำบากเพราะเลือกเกิดไม่ได้ คำกล่าวของจำเลยนี้ พยานโจทก์ทุกปากประกอบด้วยบุคคลจากหลายท้องถิ่นและหลายสาขาอาชีพ ทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ครูอาจารย์ ทนายความ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวนา ล้วนเบิกความให้ความเห็นสรุปได้ว่า จำเลยกล่าวหาใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใด ๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปต่างเห็นว่าจำเลยเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯองค์รัชทายาท ความเห็นของพยานโจทก์นี้เป็นความเห็นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทย่อมรับฟังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมดแล้ว ถือได้ว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผล เพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112
จำเลยเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ได้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดหาทุนสร้างสวนหลวง ร.9 และหาทุนโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย นับว่าเป็นผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อน นอกจากนี้หลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภา และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการ เป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริม)
พระบรมมหาราชวังเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระธิดาดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า ถ้าจำเลยเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระนั้น แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้ง ก็ย่อมแปลเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวด้วย การที่จำเลยกล่าวว่า ถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมตื่นอีกทีบ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์ให้สบายอกสบายใจนั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจ ใด ๆ เวลาเที่ยงเสวยเสร็จก็บรรทมไปจนถึงเวลาบ่ายสามโมงตกตอนเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์อย่างสบายอกสบายใจ ต่างกับจำเลยซึ่งเกิดเป็นลูกชาวนาต้องทำงานหนัก มีแต่ความยากลำบากเพราะเลือกเกิดไม่ได้ คำกล่าวของจำเลยนี้ พยานโจทก์ทุกปากประกอบด้วยบุคคลจากหลายท้องถิ่นและหลายสาขาอาชีพ ทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ครูอาจารย์ ทนายความ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวนา ล้วนเบิกความให้ความเห็นสรุปได้ว่า จำเลยกล่าวหาใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใด ๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปต่างเห็นว่าจำเลยเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯองค์รัชทายาท ความเห็นของพยานโจทก์นี้เป็นความเห็นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทย่อมรับฟังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมดแล้ว ถือได้ว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผล เพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112
จำเลยเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ได้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดหาทุนสร้างสวนหลวง ร.9 และหาทุนโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย นับว่าเป็นผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อน นอกจากนี้หลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภา และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการ เป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพวาดจากการทำซ้ำเพื่อจำหน่าย แม้จะขายภาพต้นฉบับไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าขายลิขสิทธิ์ไปด้วย
โจทก์ร่วมขายภาพวาดสีน้ำมันขนาด 12 นิ้วฟุตคูณ 15 นิ้วฟุตอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ราคาเพียงภาพละ 300 บาท ให้ อ. และ ม. ดังนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมขายภาพดังกล่าวเป็นภาพ ๆ ไป หาได้ขายลิขสิทธิ์ในภายให้ไปด้วยไม่ ถ้าโจทก์ร่วมอนุญาตให้นำภาพดังกล่าวไปพิมพ์ได้ก็จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ทำซ้ำซึ่งภาพวาดนั้นเป็นบัตรอวยพร ปีใหม่ออกจำหน่ายแก่ประชาชนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูปจากวัดโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินของวัดและประสงค์มิให้เจ้าอาวาสขัดขวาง
พระพุทธรูปของกลางเป็นของวัด การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันซื้อพระพุทธรูปดังกล่าวจากพระภิกษุซ.ซึ่งจำวัดอยู่ในวิหาร โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ทรัพย์สินของพระภิกษุซ.ก็เพื่อมิให้พระภิกษุซ.ขัดขวางจำเลยทั้งสองกับพวกเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกเอาพระพุทธรูปของกลางไปจากวิหาร จำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษายกฟ้องแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ก็เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟ ฯ เช่นเดียวกับคดีก่อนอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง ดังนี้ เหตุที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้จึงเป็นเหตุเดียวกับคดีก่อน เพียงแต่อ้างเหตุแห่งการเรียกค่าเสียหายต่างกันเท่านั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษายกฟ้องแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟ ฯ เช่นเดียวกับคดีก่อนอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง ดังนี้ เหตุที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้จึงเป็นเหตุเดียวกับคดีก่อน เพียงแต่อ้างเหตุแห่งการเรียกค่าเสียหายต่างกันเท่านั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุเดิม แม้เปลี่ยนเหตุแห่งการเรียกร้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟฯ เช่นเดียวกับคดีก่อนอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง ดังนี้ เหตุที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้จึงเป็นเหตุเดียวกับคดีก่อน เพียงแต่อ้างเหตุแห่งการเรียกค่าเสียหายต่างกันเท่านั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ