คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผลความล่าช้าที่ไม่เพียงพอ
ทนายจำเลยได้รับว่าความมาแต่ต้น มีรายละเอียดคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมดพร้อมคำพิพากษา กับเอกสารในคดีตามที่ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาไว้เพื่อใช้ศึกษาประกอบในการอุทธรณ์ ทั้งรูปคดีไม่ได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทัน นับแต่จำเลยแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ ทนายจำเลยก็ยังมีเวลาอีก 3 วันที่จะทำอุทธรณ์ได้ทัน ข้ออ้างของทนายจำเลยตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 7 วันที่ว่า จำเลยเพิ่งติดต่อทนายความได้และแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบส่งออกแร่ดีบุก การพิจารณาโทษบทที่หนักกว่าระหว่าง พ.ร.บ.แร่ และ พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบก ลง เรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตรเพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบนำแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร การพิจารณาบทหนักเบาตามกฎหมายแร่และศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่างแห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวน 853 กระสอบ จากบนบก ลงเรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตร เพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพมีเครื่องยนต์ 2 เครื่องซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่ายแสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักรและถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129,152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่านั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุกปรากฏว่า โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีอัตราโทษเท่ากับการกระทำความผิดสำเร็จดังนั้นโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 จึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบนำแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร การพิจารณาโทษตามกฎหมายแร่และศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบกลงเรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตร เพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2 เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร
ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129, 152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27, 102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำท้าของคู่ความต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หากมิได้ทำตาม จะนำแผนที่พิพาทมาวินิจฉัยคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างบ้านและรั้วบนที่ดินสาธารณะปิดหน้าที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า บ้านและรั้วตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับที่ดินของจำเลย มิได้อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย คู่ความท้ากัน ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลย หากได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและไม่ใช่ที่สาธารณะโจทก์ยอมแพ้คดี หากที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและเป็นที่สาธารณะ จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินมิได้รังวัดสอบเขตตามคำท้า แต่กลับรังวัดทำแผนที่พิพาทไปตามเขตที่ครอบครองซึ่งโจทก์จำเลยนำชี้ โดยจำเลยนำชี้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของตนซึ่งนอกคำให้การดังกล่าวข้างต้น แผนที่พิพาทจึงมิได้เกิดจากการที่เจ้าพนักงานที่ดินสอบเขตที่ดินตามคำท้า ฉะนั้น แนวเขตเส้นสีแดงในแผนที่พิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นแนวเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย ทั้งตามหนังสือนำส่งแผนที่พิพาทของ เจ้าพนักงานที่ดินก็มีข้อความว่า ไม่สามารถระบุได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เนื่องจากผู้แทนประธานสุขาภิบาลไม่สามารถชี้เขตที่ดินสาธารณะที่แน่นอนได้ แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ จึงไม่อาจนำแผนที่พิพาทมาใช้เป็นหลักฐานในการวินิจฉัยตามคำท้าได้ จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำท้าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้แผนที่พิพาทใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านและรั้วบนที่ดินสาธารณะปิดหน้าที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า บ้านและรั้วตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับที่ดินของจำเลย ซึ่งแสดงว่ามิได้อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย คู่ความท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลย หากได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและไม่ใช่ที่สาธารณะ โจทก์ยอมแพ้คดี หากที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของจำเลยเป็นที่สาธารณะ จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินมิได้รังวัดสอบเขตตามคำท้า แต่กลับรังวัดทำแผนที่พิพาทไปตามเขตที่ครอบครองที่โจทก์จำเลยนำชี้ โดยจำเลยได้นำชี้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของตนซึ่งเป็นการนอกคำให้การ แผนที่พิพาทจึงมิได้เกิดจากการที่เจ้าพนักงานที่ดินสอบเขตที่ดินตามคำท้า ฉะนั้น แนวเขตเส้นสีแดงในแผนที่พิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นแนวเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลยทั้งตามหนังสือนำส่งแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินก็มีข้อความว่าไม่สามารถระบุได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เนื่องจากผู้แทนประธานสุขาภิบาลไม่สามารถชี้เขตที่ดินสาธารณะที่แน่นอนได้ แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ จึงไม่อาจนำแผนที่พิพาทมาเป็นหลักฐานในการวินิจฉัยตามคำท้าได้ จะต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดสอบเขตที่ดินที่ถูกต้องตามคำท้าของคู่ความ มีผลผูกพันในการวินิจฉัยคดี หากมิได้ทำตามคำท้า จะนำแผนที่พิพาทมาใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างบ้านและรั้วบนที่ดินสาธารณะปิดหน้าที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า บ้านและรั้วตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับที่ดินของจำเลย มิได้อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย คู่ความท้ากัน ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลย หากได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและไม่ใช่ที่สาธารณะโจทก์ยอมแพ้คดี หากที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและเป็นที่สาธารณะ จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินมิได้รังวัดสอบเขตตามคำท้า แต่กลับรังวัดทำแผนที่พิพาทไปตามเขตที่ครอบครองซึ่งโจทก์จำเลยนำชี้ โดยจำเลยนำชี้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของตนซึ่งนอกคำให้การดังกล่าวข้างต้น แผนที่พิพาทจึงมิได้เกิดจากการที่เจ้าพนักงานที่ดินสอบเขตที่ดินตามคำท้า ฉะนั้น แนวเขตเส้นสีแดงในแผนที่พิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นแนวเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย ทั้งตามหนังสือนำส่งแผนที่พิพาทของ เจ้าพนักงานที่ดินก็มีข้อความว่า ไม่สามารถระบุได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เนื่องจากผู้แทนประธานสุขาภิบาลไม่สามารถชี้เขตที่ดินสาธารณะที่แน่นอนได้ แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ จึงไม่อาจนำแผนที่พิพาทมาใช้เป็นหลักฐานในการวินิจฉัยตามคำท้าได้ จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า"พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์หน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า "พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากพฤติกรรมเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น.ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ เมื่อ น.ไม่มีสุราต่างประเทศโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาท จาก น.ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 4.13 ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออกโดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
of 54