คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องคดีฆ่าโดยเจ้าพนักงานตามหน้าที่: การกล่าวอ้างต้องเกิดขึ้นในชั้นสอบสวน
การที่จะกล่าวอ้างว่าตนเป็นเจ้าพนักงานฆ่าผู้ตายเพราะเหตุจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือผู้ตายตายอยู่ในระหว่างการควบคุมของตน ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสามนั้นต้องได้กล่าวอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เสนอสำนวนการสอบสวนความเห็นต่อพนักงานอัยการตามมาตรา 142 หรือต่ออธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา 143 วรรคสามได้ถูกต้องเมื่อมิได้มีการกล่าวอ้างเช่นว่านั้น ในชั้นที่ถูกกล่าวหาแล้วการที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเช่นคดีอาญาธรรมดารวมทั้งการที่พนักงานอัยการออกคำสั่งฟ้อง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องคดีฆาตกรรมโดยเจ้าพนักงาน: การกล่าวอ้างปฏิบัติราชการตามหน้าที่ต้องทำตั้งแต่ชั้นสอบสวน
การที่จะกล่าวอ้างว่าตนเป็นเจ้าพนักงานฆ่าผู้ตายเพราะเหตุจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือผู้ตายตายอยู่ในระหว่างการควบคุมของตน ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสามนั้นต้องได้กล่าวอ้างขึ้นในชั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เสนอสำนวนการสอบสวนความเห็นต่อพนักงานอัยการตามมาตรา 142 หรือต่ออธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา 143 วรรคสามได้ถูกต้องเมื่อมิได้มีการกล่าวอ้างเช่นว่านั้น ในชั้นที่ถูกกล่าวหาแล้วการที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเช่นคดีอาญาธรรมดารวมทั้งการที่พนักงานอัยการออกคำสั่งฟ้อง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน การรับฟังพยานหลักฐาน และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่ทราบว่าลูกจ้างคนใดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบ้างนั้นไม่น่ารับฟังเพราะโจทก์สามารถตรวจสอบจากรายชื่อลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าทำงานในระหว่างนัดหยุดงานได้ ดังนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีโดยมิได้ถือข้อเท็จจริงตามถ้อยคำสำนวน เพราะข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าใครบ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จี.เอส.สตีลนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์โดยหยิบยกเอาคำพยานบุคคลของโจทก์ขึ้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการเชื่อพยานเพียงใดหรือไม่นั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน โจทก์อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องแรงงาน: การพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง และการฟังข้อเท็จจริงสอดคล้องกับฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันทุจริตกับจำเลยที่ 1 โดยนำน้ำมันหล่อลื่นจำนวน 2 ถัง ขนาดถังละ 209 ลิตรราคาถังละ 5,747.50 บาท รวมเป็นเงิน 11,495 บาท ไปขายและเป็นประโยชน์เพื่อตนเองโดยทุจริต แสดงว่าโจทก์มิได้เจาะจงชนิดและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยที่ 2 นำไปขายโดยทุจริต เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่น1 ถังไปจริง ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่นตามฟ้องของโจทก์ไปแล้ว แม้จะปรากฏว่าน้ำมันหล่อลื่นถังดังกล่าวมีน้ำผสมอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องทุจริตต่อหน้าที่ ศาลต้องพิจารณาตามสภาพแห่งข้อหาที่บรรยายไว้ในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันทุจริตกับจำเลยที่ 1 โดยนำน้ำมันหล่อลื่นจำนวน 2 ถัง ขนาดถังละ 209 ลิตรราคาถังละ 5,747.50 บาท รวมเป็นเงิน 11,495 บาท ไปขายและเป็นประโยชน์เพื่อตนเองโดยทุจริต แสดงว่าโจทก์มิได้เจาะจงชนิดและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยที่ 2 นำไปขายโดยทุจริต เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่น1 ถังไปจริง ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่นตามฟ้องของโจทก์ไปแล้ว แม้จะปรากฏว่าน้ำมันหล่อลื่นถังดังกล่าวมีน้ำผสมอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานออกเช็คโดยบัญชีไม่มีเงิน ต้องพิสูจน์ ณ วันออกเช็ค หรือวันเช็คถึงกำหนด
ปัญหามีว่าวันออกเช็คหรือวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด ผู้ออกเช็คมีเงินในบัญชีที่ธนาคารพอจ่ายตามเช็คหรือไม่ เป็นข้อสำคัญแห่งคดีเพราะเป็นเหตุที่ทำให้การกระทำเป็นความผิดโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าวันดังกล่าวจำเลยมีเงินในบัญชีที่ธนาคารไม่พอจ่ายตามเช็คพิพาทคดีจึงจะลงโทษจำเลยได้การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเลื่อนกำหนดวันนำเช็คไปยื่นขอรับเงินจากธนาคารเป็นวันอื่น ซึ่งไม่ใช่วันออกเช็คโดยมิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขวันออกเช็คใหม่ ไม่ทำให้หน้าที่นำสืบของโจทก์เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าจ้าง, ค่าบำเหน็จ, ค่าครองชีพ: การจ่ายค่าจ้างเกิน, การยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้างหรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอนเป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใด จำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างเกิน และค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าจ้าง: การยอมรับความเป็นลูกจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, การจ่ายค่าจ้างเกิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญา และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ตกลงกันว่า จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อรับเงินค่างวดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้โดยทันที ถือว่ามิใช่กรณีที่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยที่ 1 จะตกเป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ให้คำเตือนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้คำเตือนจำเลยที่ 1 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่ละงวด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว.
of 54