พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้เช่าซื้อรถบรรทุกเมื่อร่วมประกอบการขนส่งและเกิดละเมิด
จำเลยเป็นเจ้าของรถบรรทุกคันเกิดเหตุและได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วย รถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยจะให้ ว. เช่าซื้อ รถคันนั้นไป แต่ จำเลยก็ยังยื่นขอต่อ อายุทะเบียนรถ และหาได้ บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว แก่ทางราชการไม่กลับยอมให้ ว. ขับรถคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่งในชื่อ จำเลยอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยและ ว. ร่วมกันประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการดังกล่าวเมื่อ ว. ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้อง รับผิดชดใช้ให้โจทก์ภายในขอบอำนาจแห่งฐานะ ตัวแทน จำเลยซึ่ง เป็น ตัวการต้อง ร่วม รับผิดด้วย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 427820(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3480/2530).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของผู้ตาย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกันไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของทั้งสองฝ่าย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและ ร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกัน ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามวรรคแรก
แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถซึ่งจำเลยขับชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายแต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มาก กรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56.
แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถซึ่งจำเลยขับชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายแต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มาก กรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากโรคหัวใจวายหลังเลิกงาน: ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับงานที่ทำ
ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคหัวใจวายหลังจากเลิกสัมมนาอันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างแล้วเป็นเวลาถึงประมาณ 10 ชั่วโมง เช่นนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างนั้นถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากโรคหัวใจหลังเลิกงาน ไม่ถือเป็นการตายเนื่องจากการทำงาน
ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคหัวใจวายหลังจากเลิกสัมมนา อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างแล้วเป็นเวลาถึงประมาณ 10 ชั้วโมง เช่นนี้ จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างนั้นถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา: การกลับเข้าทำงานตามคำพิพากษา ไม่รวมถึงการนับอายุงานต่อเนื่อง หากมิได้ขอโดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายสภาพแห่งคำขอบังคับว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 7,159,417.58 บาท หรือให้จำเลยยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และให้จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่น้อยกว่าตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่โจทก์ได้รับขณะเลิกจ้าง โจทก์หาได้มีคำขอบังคับให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันไม่ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิมย่อมหมายความว่าไม่นับอายุการทำงานของโจทก์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับคดีให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันได้ เพราะจะเป็นการเกินไปกว่าคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือคดี แก้ไขเอกสารแจ้งความ ทำให้โทษเบาลง มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแจ้งความ-แก้ไขข้อหา-ปลอมเอกสาร: จำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขหนังสือมอบอำนาจผู้บังคับบัญชา
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคารพ.ศ.2522มาตรา70ไปแจ้งคีวามและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจแก้ไขเอกสารราชการแจ้งข้อหา แม้ได้รับมอบอำนาจแจ้งความแล้ว การกระทำเข้าข่ายปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลัง เป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานอิสระของคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อยู่ในบังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิม จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่น รับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงานกรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่ง จำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 จ้าง เข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.