พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ โดยการหักจากทรัพย์สินของผู้ถูกบังคับคดี ศาลตีความตามประโยชน์ของผู้เสียภาษี
ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89/2 เบี้ยปรับและเงินเพิ่มในหมวดนี้ซึ่งหมายถึงในหมวดภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นภาษีอากรประเมินตามมาตรา 77 และมาตรา 12 วรรคแรก บัญญัติว่า ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้างดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ เมื่อถึงกำหนดชำระจึงย่อมถือว่าเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น
หนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคแรก และการที่นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างมีหลายจำนวนและกรณีที่มีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำสั่งกรมสรรพากรมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรฯ บางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น กรณีหาอาจใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการดังกล่าวไม่
หนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคแรก และการที่นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างมีหลายจำนวนและกรณีที่มีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำสั่งกรมสรรพากรมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรฯ บางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น กรณีหาอาจใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองการเสียอากรแสตมป์จากเอกสารที่ยื่นต่อศาล: สำเนาเอกสารราชการที่ตรวจสอบได้ถือเป็นหลักฐานได้
สัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้น โจทก์ได้แนบแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานสรรพากรและใบเสร็จรับเงินของสำนักงานสรรพากรมาด้วย แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินระบุมูลค่าของตราสารไว้ ย่อมหมายถึงโจทก์ขอเสียอากรแสตมป์สำหรับตราสารสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้อง ส่วนใบเสร็จรับเงินที่แนบมาด้วยนั้นก็มีจำนวนเงินตรงตามจำนวนเงินค่าอากรแสตมป์ที่ขอชำระ แม้แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินและใบเสร็จรับเงินค่าอากรแสตมป์ดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายแต่ก็เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายจากเอกสารแบบฟอร์มของทางราชการที่สามารถตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารได้ และเอกสารดังกล่าวโจทก์แนบมาท้ายสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกัน ถือว่าได้ยื่นต่อศาลโดยชอบแล้วจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรรับค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินแล้ว จึงถือว่าตราสารได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)