คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ กรรณสูต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าและผลกระทบต่อการนำสืบพยานในคดีแพ่ง
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันอ้างว่าเป็นเพราะความพลั้งเผลอและหลงลืมของทนาย กรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 3 ที่ยื่นเกินกำหนดนั้น และกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ และไม่อาจสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานตนเองได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมคบคิดพยายามฆ่า: พฤติการณ์ส่งปืนร่วมกับหลบหนีแสดงเจตนา
จำเลยกับ ส. ไปด้วยกันที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อถึงโต๊ะที่ผู้เสียหายทั้งสองนั่งดื่มเบียร์ จำเลยส่งปืนให้ ส.ส.ขึ้นลำปืนแล้วยิงผู้เสียหายทันที จำเลยกับ ส. หลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยกับ ส. สมคบกันยิงผู้เสียหายจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
การที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดจริงดังฟ้องจำเลยจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, สัญญา, การปิดอากรแสตมป์, ฟ้องเคลือบคลุม: ประเด็นสำคัญในการรับสภาพหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์มิได้ฟ้องให้รับผิดฐานละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าใครเป็นผู้ขับรถยนต์ชนโจทก์อย่างไร ทั้งโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนเงินส่วนที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ปัญหาว่าใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น เพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งมอบอำนาจให้กระทำครั้งเดียวคดีเดียวมิใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องตามสัญญารับสภาพหนี้ และการยกข้อต่อสู้เรื่องอากรแสตมป์ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ มิได้ฟ้องให้รับผิดฐานละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าใครเป็นผู้ขับรถยนต์ชนโจทก์อย่างไร ทั้งโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนเงินส่วนที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ปัญหาว่าใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น เพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งมอบอำนาจให้กระทำครั้งเดียวคดีเดียวมิใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงเหตุผลและความเสียหายหากไม่เลื่อน การไม่ทราบกฎหมายใหม่ไม่ใช่เหตุฟังได้
โจทก์เพียงแต่ยื่นคำร้องเข้ามาในวันนัดพิจารณาว่า โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้เพราะโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุว่าเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลอีกด้วยว่าถ้าศาลไม่ให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนการพิจารณาได้ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้วได้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2527 อันเป็นวันที่โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่เมื่อมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เป็นกฎหมายแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดี: หน้าที่การแถลงเหตุผลและแสดงเหตุผลที่สมควรต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์เพียงแต่ยื่นคำร้องเข้ามาในวันนัดพิจารณาว่า โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้เพราะโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุว่าเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลอีกด้วยว่าถ้าศาลไม่ให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนการพิจารณาได้
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้วได้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2527 อันเป็นวันที่โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่เมื่อมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เป็นกฎหมายแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยเจ้าพนักงานตำรวจนอกเหนือหน้าที่ ไม่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว ทั้งจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์จะให้โจทก์รับสารภาพ กรณีจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยจำเลยมีความผิดตามมาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลังจับกุม ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157
ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว และจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์จะให้โจทก์รับสารภาพ กรณีจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 295.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ การสละสิทธิเมื่อไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด และความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงให้ราษฎรได้ทราบว่าบริเวณป่าที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ แม้จำเลยปลูกบ้านอยู่มาก่อนก็ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อนายอำเภอสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเพราะทำให้ที่ดินนั้นกลายเป็นที่บ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นที่ดินตามสภาพเดิมอีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่แสดงสิทธิภายในกำหนด ทำให้สิทธิสิ้นสุด และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงให้ราษฎรได้ทราบว่าบริเวณป่าที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ แม้จำเลยปลูกบ้านอยู่มาก่อนก็ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อนายอำเภอสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเพราะทำให้ที่ดินนั้นกลายเป็นที่บ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นที่ดินตามสภาพเดิมอีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14.
of 13