คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ กรรณสูต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยทางทะเล และข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทน
เรือฉลอมลำน้ำของโจทก์ถูกเรือ อ. ชนจมลงเมื่อวันที่ 11เมษายน 2520 โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าบริษัท ท. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยเรือ อ. ขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2523 ซึ่งเป็นเวลากว่าสองปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882
ทนายจำเลยร่วมมีหนังสือถึงโจทก์ว่าเรื่องที่เรือโจทก์เกิดชนกับเรือ อ. และโจทก์ขอเรียกค่าเสียหายได้ส่งเรื่องให้ตัวการคือเจ้าของเรือ อ.พิจารณาต่อไปแล้วจะแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควรกับได้ให้เจ้าของเรือที่ได้รับความเสียหายส่งสำเนาใบประเมินความเสียหายมาให้รายละ 3ฉบับนั้น การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นเพียงแต่จะพิจารณาเรื่องค่าเสียหายยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้อง จึงไม่เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยร่วมยอมรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยเป็นเพียงตัวแทนเจ้าของเรือต่างประเทศ มีหน้าที่ในการรับขนสินค้าลงจากเรือ ติดต่อดำเนินพิธีการด้านการท่าเรือ การศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง จำเลยไม่ต้องรับผิดในการที่กัปตันผู้ควบคุมเรือซึ่งเป็นลูกจ้างเจ้าของเรือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการ ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ และขอบเขตความรับผิดของตัวแทนเรือ
เรือฉลอมลำน้ำของโจทก์ถูกเรือ อ. ชนจมลงเมื่อวันที่ 11เมษายน 2520 โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าบริษัท ท. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยเรือ อ. ขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2523 ซึ่งเป็นเวลากว่าสองปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882
ทนายจำเลยร่วมมีหนังสือถึงโจทก์ว่าเรื่องที่เรือโจทก์เกิดชนกับเรือ อ. และโจทก์ขอเรียกค่าเสียหายได้ส่งเรื่องให้ตัวการคือเจ้าของเรือ อ.พิจารณาต่อไปแล้วจะแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควรกับได้ให้เจ้าของเรือที่ได้รับความเสียหายส่งสำเนาใบประเมินความเสียหายมาให้รายละ 3 ฉบับนั้น การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นเพียงแต่จะพิจารณาเรื่องค่าเสียหายยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้อง จึงไม่เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยร่วมยอมรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยเป็นเพียงตัวแทนเจ้าของเรือต่างประเทศ มีหน้าที่ในการรับขนสินค้าลงจากเรือ ติดต่อดำเนินพิธีการด้านการท่าเรือ การศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง จำเลยไม่ต้องรับผิดในการที่กัปตันผู้ควบคุมเรือซึ่งเป็นลูกจ้างเจ้าของเรือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการ ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจากเรือชน และขอบเขตความรับผิดของตัวแทนเรือ
เรือฉลอมลำน้ำของโจทก์ถูกเรือ อ. ชนจมลงเมื่อวันที่ 11เมษายน 2520 โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าบริษัท ท. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยเรือ อ. ขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2523 ซึ่งเป็นเวลากว่าสองปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ทนายจำเลยร่วมมีหนังสือถึงโจทก์ว่าเรื่องที่เรือโจทก์เกิดชนกับเรือ อ. และโจทก์ขอเรียกค่าเสียหายได้ส่งเรื่องให้ตัวการคือเจ้าของเรือ อ. พิจารณาต่อไปแล้วจะแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควรกับได้ให้เจ้าของเรือที่ได้รับความเสียหายส่งสำเนาใบประเมินความเสียหายมาให้รายละ 3 ฉบับนั้น การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นเพียงแต่จะพิจารณาเรื่องค่าเสียหายยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้อง จึงไม่เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยร่วมยอมรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา172 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จำเลยเป็นเพียงตัวแทนเจ้าของเรือต่างประเทศ มีหน้าที่ในการรับขนสินค้าลงจากเรือ ติดต่อดำเนินพิธีการด้านการท่าเรือการศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง จำเลยไม่ต้องรับผิดในการที่กัปตันผู้ควบคุมเรือซึ่งเป็นลูกจ้างเจ้าของเรือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการ ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: ศาลฎีกาแก้บทลงโทษจากความผิดฐานใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำผิดเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา
จำเลยที่ 4 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับขี่มาที่เกิดเหตุขณะจำเลยที่ 1,2 ลักทรัพย์ จำเลยที่ 4 ก็ยืนคอยอยู่แถวนั้น พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดด้วย
ขณะจำเลยกระทำผิด รถจักรยานยนต์พาหนะของจำเลยยังจอดอยู่ที่เดิมมิได้ก่อให้เกิดความสะดวกในการลักทรัพย์แต่อย่างใดการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336ทวิ
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ จำเลยที่ 4 ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งเหตุพยานมาสายและไม่ขอเลื่อนคดี ศาลชอบที่สั่งตัดพยานและดำเนินคดีต่อไปได้
ศาลนัดสืบพยานจำเลยเวลา 9.00 นาฬิกา ถึงเวลานัดทนายจำเลยมาศาลแต่พยานจำเลยยังไม่มา ทนายจำเลยรอพยานอยู่นอกห้องพิจารณาโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีต่อศาลหรือเจ้าหน้าที่ของศาล ศาลออกนั่งพิจารณาเวลา 9.33 นาฬิกา และสั่งว่า จำเลยไม่มาศาล โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนถือว่าไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้แสดงว่าศาลรอจำเลยเกินกำหนดนัดไป 33 นาที โดยจำเลยมิได้ดำเนินการอย่างใด จำเลยจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิดของทนายจำเลยว่าศาลจะพิจารณาคดีของตนเป็นเรื่องที่สองไม่ได้ เพราะจะทำให้กำหนดวันเวลาที่ศาลนัดไว้ไร้ประโยชน์ จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอสืบพยานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งเหตุพยานไม่มาศาล และผลกระทบต่อการไต่สวนพยาน การที่ศาลไม่รอฝ่ายจำเลยเกินสมควร
ศาลนัดสืบพยานจำเลยเวลา 9.00 นาฬิกา ถึงเวลานัดทนายจำเลยมาศาลแต่พยานจำเลยยังไม่มา ทนายจำเลยรอพยานอยู่นอกห้องพิจารณาโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีต่อศาลหรือเจ้าหน้าที่ของศาล ศาลออกนั่งพิจารณาเวลา 9.33 นาฬิกา และสั่งว่า จำเลยไม่มาศาล โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนถือว่าไม่มีพยานมาสืบและนัดฟัง คำพิพากษา เช่นนี้แสดงว่าศาลรอจำเลยเกินกำหนดนัดไป33 นาที โดยจำเลยมิได้ดำเนินการอย่างใด จำเลยจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิด ของทนายจำเลยว่าศาลจะพิจารณาคดีของตนเป็นเรื่องที่สองไม่ได้ เพราะจะทำให้กำหนดวันเวลาที่ศาลนัดไว้ไร้ ประโยชน์ จึงไม่จำเป็นต้อง ไต่สวนคำร้องขอสืบพยานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินริบ เจ้าของต้องไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิด
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ศาลจึงจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกริบให้แก่เจ้าของได้ ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอคืนของกลางว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางของผู้ร้องไปใช้โดยผู้ร้องมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด มีความหมายต่างจากการที่ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลมีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ศาลจึงจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกริบให้แก่เจ้าของได้ ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอคืนของกลางว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางของผู้ร้องไปใช้โดยผู้ร้องมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ซึ่งมีความหมายต่างจากการที่ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ศาลมีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด ไม่ใช่แค่ไม่มีส่วนร่วม
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ศาลจึงจะสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกริบให้แก่เจ้าของได้ ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอคืนของกลางว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางของผู้ร้องไปใช้โดยผู้ร้องมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด มีความหมายต่างจากการที่ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลมีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326,328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
of 13