พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมปล้นทรัพย์-เจตนาฆ่าไม่ปรากฏ: ศาลฎีกาแก้บทลงโทษ
แม้ในขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ไม่มีอาวุธปืนใด ๆ ติดตัวมาเลยและขณะจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและกระชากเอาสร้อยคอทองคำไปจากผู้ตาย จำเลยที่ 2 จะยืนอยู่เฉย ๆ ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 มายังที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1กับพวก เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้ตายสวมอยู่ไปได้แล้ว จำเลยที่ 2 วิ่งหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 กับพวก ประกอบกับคดีฟังได้ตามคำให้การชั้นสอบสวนว่าขณะจำเลยที่ 1 กับพวกปรึกษากันเรื่องจะปล้นทรัพย์ผู้ตาย จำเลยที่ 2 ก็นั่งฟังอยู่ด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์
ขณะจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้น จำเลยที่ 2ยืนเฉย ๆ มิได้พูดหรือกระทำการใด ๆ อันจะถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กับพวกในการฆ่าผู้ตายเลย จำเลยที่1 กับพวกตัดสินใจใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายไปตามลำพังและโดยฉับพลันในขณะนั้นเอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ด้วย.
ขณะจำเลยที่ 1 กับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้น จำเลยที่ 2ยืนเฉย ๆ มิได้พูดหรือกระทำการใด ๆ อันจะถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กับพวกในการฆ่าผู้ตายเลย จำเลยที่1 กับพวกตัดสินใจใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายไปตามลำพังและโดยฉับพลันในขณะนั้นเอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟเข้าข่าย 'ผลิต' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟนั้น ถือว่าเป็นการ 'ผลิต' ตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานผลิตเฮโรอีนโดยไม่ได้รับอนุญาต.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีบุกรุกที่ดิน: การขาดอายุความเนื่องจากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
จำเลยเข้าไปปักเสาและปลูกต้นมะขามในที่ดินของโจทก์ก็เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าว ส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก: การไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน ทำให้คดีขาดอายุความ แม้การบุกรุกยังคงอยู่
จำเลยเข้าไปปักเสาและปลูกต้นมะขาม ในที่ดินของโจทก์ก็เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าวส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม2528 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืนแม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก เนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิด
จำเลยเข้าไปปักเสาและปลูกต้นมะขามในที่ดินของโจทก์ก็เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าวส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืนแต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืนแต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินบริจาคไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินในศาลเจ้าไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้าแม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิวรรคสอง ได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินบริจาคไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา, ความผิดตาม ม.340 ไม่ใช่ ม.340ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรกและไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จ: การพิสูจน์มูลฟ้องในชั้นไต่สวน และการฟ้องก่อนศาลตัดสินคดีหลัก
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเมื่อโจทก์ยืนยันว่าข้อความที่จำเลยเบิกความเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดีคืออาจทำให้มีผลแพ้ชนะคดีกันได้ ก็เพียงพอแล้วที่จะฟังว่าคดีมีมูลส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร เท็จหรือไม่เท็จ ก็จะต้องฟังพยานในชั้นพิจารณาต่อไป การฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ หาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดฐานเบิกความเท็จเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าผู้ตายก่อนเสียชีวิตไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย แม้มีพยาน แต่ข้อมูลขัดแย้ง ศาลฎีกายกฟ้อง
คำบอกเล่าของผู้ตายเพียงปากเดียว แม้จะพูดในขณะรู้ตัวว่าจะตาย ถ้าไม่มีพยานอื่นประกอบให้น่าเชื่อ ก็ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
ฎีการะบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ฎีกา แต่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ผู้เดียว กรณีจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 เท่านั้นฎีกา เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้าย ย่อมมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา225.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ฎีการะบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ฎีกา แต่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ผู้เดียว กรณีจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 เท่านั้นฎีกา เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้าย ย่อมมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา225.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)