พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินผิดพลาดทางบัญชีและการพิสูจน์เจตนาทุจริต จำเลยไม่มีความผิด
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม2525 แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขายยาเสพติด: การมีไว้เพื่อขายและการขายเป็นกรรมเดียว
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 ว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย จำเลยมีแอมเฟตามีนไว้เพื่อขายและในขณะที่ยังมีแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ จำเลยได้ขายแอมเฟตามีนไปส่วนหนึ่ง ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานขายแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13เพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับความสำคัญการชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสนอคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์และธนาคารส่งเงินของจำเลยมาให้ตามหมายอายัดของศาลแล้ว ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายซึ่งผู้คัดค้านเป็นโจทก์ ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่ง จะขอรับเงินดังกล่าวส่วนที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ผู้ร้องได้แต่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการและกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27 และ 28 เท่านั้น และผู้คัดค้านจะขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้ไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายก็ไม่ได้ เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวม และรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดต่อเนื่อง-รับของโจร: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ แต่เชื่อมโยงกัน
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่งดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีต่อเนื่อง: ปล้นทรัพย์-รับของโจร, อำนาจศาล, การปรับบทความผิด
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันโดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: การโต้แย้งสิทธิในกองมรดกของจำเลยที่ 1 ในฐานะบุคคลภายนอก ไม่ใช่การจัดการมรดก
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อโดยอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ร. กึ่งหนึ่งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ร่วมกับโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ได้ครอบครองมาโดยตลอด หากฟังว่าที่ดินเป็นมรดกของ ร. สิทธิของทายาท ร. ก็ขาดอายุความแล้ว การโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. แต่เป็นการโต้แย้งโดยอ้างอำนาจของตนเอง จึงมิใช่เป็นการทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกของร.กรณีมิใช่เป็นเรื่องความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดการมรดกของร. ซึ่งต้องถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ทั้งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ก็ได้ถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ร.แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ที่เหลืออยู่แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดก แม้ผู้จัดการมรดกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินนั้นเอง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อโดยอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ร. กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ร่วมกับโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองมาโดยตลอด หากฟังว่าที่ดินเป็นมรดกของ ร. สิทธิของทายาท ร. ก็ขาดอายุความแล้ว การโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. แต่เป็นการโต้แย้งโดยอ้างอำนาจของตนเอง จึงมิใช่เป็นการทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกของ ร. กรณีมิใช่เป็นเรื่องความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดการมรดกของ ร. ซึ่งต้องถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ทั้งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่ 1 ก็ได้ถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ที่เหลืออยู่แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์อุธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์อุธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์และรับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งชัดเจน
ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรนั้นเป็นความผิดคนละฐานะจะลงโทษคนคนเดียวในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานะด้วยกันไม่ได้คำรับของจำเลยไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าได้ทำผิดฐานใดเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความถึงการทำผิดของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่สืบพยานก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเงินเพื่อหลอกลวงซื้อขาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการฉ้อโกง หากการฉ้อโกงเกิดขึ้นได้โดยไม่แสดงเงิน
การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหายโดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดูแล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่นและบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้นการแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินสดแสดงเพื่อหลอกลวงในการฉ้อโกง ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหายโดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดูแล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่นและบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้น การแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)