คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ม. 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ไม้แปรรูป' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ลักษณะเครื่องใช้ต้องสอดคล้องกับท้องถิ่น
ไม้สักของกลางเป็นแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว หนา 1 นิ้ว เซาะร่องที่ขอบโดยรอบร่องลึกประมาณครึ่งนิ้ว ขัดและทาน้ำมันทุกแผ่น มีลักษณะผิดจากเขียงที่ใช้กันอยู่ในท้องที่เกิดเหตุ แม้จะมีผู้ซื้อไปใช้แทนเขียง ก็ไม่ใช่เขียงที่คนในท้องถิ่นนั้นใช้กัน ถือว่ายังเป็นไม้แปรรูปอยู่ มิใช่เครื่องใช้
ความในวรรคสองของมาตรา 4 (4) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาใช่บทยกเว้นความในวรรคแรกไม่ คำว่าเครื่องใช้ในวรรคสองนี้หมายความว่า เครื่องใช้ที่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้แปรรูปที่ยังไม่เป็นเครื่องใช้สำเร็จรูป มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้ของกลางเป็นไม้สักแผ่นเล็ก ๆ รวม 95 ชิ้น ตัดเป็นรูปคล้ายค้างคาวและปลา ตรงกลางขุดเซาะเป็นแอ่ง ตัดและขุดเป็นรูปหยาบ ๆ ยังไม่เป็นรูปสัตว์ และดูไม่ออกว่าทำเป็นภาชนะใส่อะไร ไม่ได้ตกแต่งตามรอยตัด ไม่ลบเหลี่ยม มีเสี้ยนและรอยสิ่ว รอยมีด ไม่ขัดทาน้ำมัน ลักษณะดังนี้ถือได้ว่ายังเป็นไม้แปรรูปอยู่ ยังไม่เป็นภาชนะใส่อาหารตั้งบนโตกอันจะเป็นเครื่องใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้สักแปรรูปเป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูป ไม่ถือเป็นไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ผู้ครอบครองไม่มีความผิด
ไม้สักของกลางเป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูป สามารถนำไปใช้ติดตั้งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้ทันที โดยไสกบตบแต่งเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับวงกบประตูหรือหน้าต่างมีสภาพเป็นของใหม่ยังไม่เคยใช้มาก่อน ทำไว้แน่น เป็นการแสดงเจตนาว่าจะนำไปใช้เป็นบานประตูหน้าต่างโดยเฉพาะ จึงมิใช่ไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ แม้จำเลยมีไว้ในความครอบครองก็ไม่มีความผิด และไม่จำต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยมีไว้ในความครอบครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เพราะมิใช่เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพที่เป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาก่อนแล้ว