คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีหลังการล้มละลาย: ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษาโดยซื้อจากการขายโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี ก็โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกัน ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และการหักรายจ่าย กรณีการตรวจสอบภาษีและการแก้ไขการประเมิน
ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกโจทก์ในขณะที่โจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวภายหลัง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่โจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 24
บริษัท ส. จำกัด เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ส่วนโจทก์เป็นบริษัทรับจ้างตกแต่งภายในห้องชุดโครงการอาคารชุดของบริษัท ส. จำกัด ดังกล่าว และจะเริ่มดำเนินการต่อเมื่อบริษัท ส. จำกัด ก่อสร้างอาคารชุดแล้ว โดยบริษัททั้งสองไม่มีการถือหุ้นระหว่างกัน โจทก์รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือลูกค้าจะชำระเป็นงวดโดยบริษัท ส. จำกัด เป็นผู้รับแทนโจทก์ บริษัท ส. จำกัด ไม่ได้ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด และโจทก์ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาต่างตอบแทนกันว่า โจทก์ยอมให้สิทธิแก่บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดที่ลูกค้าชำระแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยแล้วบริษัท ส. จะเสนอผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนแก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. จำกัด ได้เรียกร้องให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น หากบริษัท ส. จำกัด ประสงค์จะได้หลักประกันว่าโจทก์จะไม่ทิ้งงาน โจทก์ย่อมติดต่อขอหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นหลักประกันก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บริษัทในเครือเดียวกันกับบริษัท ส. จำกัด ทั้งไม่มีหนี้สินต่อกัน โจทก์มีทุนจดทะเบียนเพียง 1,000,000 บาท แต่จำนวนเงินที่โจทก์มอบให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือไว้มีจำนวนนับร้อยล้านบาท ย่อมไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินดังกล่าวโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้ว่าโจทก์จะไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตกแต่งและไม่มีภาระหนี้สินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในขณะนั้นก็ตาม การที่โจทก์ยินยอมให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าที่ลูกค้าชำระให้แก่โจทก์โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้นถือได้ว่าเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้
การที่โจทก์ให้บริษัท ส. จำกัด ยึดถือเงินค่างวดล่วงหน้าเข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน และโจทก์ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากอีกทั้งทำเป็นปกติธุระทุกเดือนในช่วงปี 2534 ถึง 2536 เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่เป็นปัญหาที่จะต้องรอให้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่ากิจการใดเป็นกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 วรรคท้าย เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยกับบริษัท ส. จำกัด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/15 (2) และ 91/16 (6) ที่จะประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะโดยกำหนดดอกเบี้ยรับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การที่จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 มายังโจทก์ ดังนั้น ภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) ประกอบมาตรา 65 ตรี (9)
เอกสารที่โจทก์นำมาอ้างอิงในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเอกสารปลอม พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับการประเมินภาษีทุกประเภท
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน 4 ฉบับ คือ หนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และปี 2536 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2535 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีมกราคมถึงธันวาคม 2536 ซึ่งหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนภาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน แม้ว่าการแจ้งการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 4 ฉบับ จะมีที่มาจากการออกหมายเรียกและตรวจสอบภาษีโจทก์เพียงครั้งเดียว แต่เมื่อพิจารณาสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นได้ชัดว่าคำฟ้องของโจทก์มีข้อหาแต่ละข้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแยกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 4 ข้อหา
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้อื่นนอกจากรายได้ดอกเบี้ยรับ เนื่องจากงานในส่วนของโจทก์ที่เกี่ยวกับการตกแต่งภายในห้องชุดยังไม่เริ่ม ดังนั้น โจทก์จึงไม่สามารถนำยอดเงินที่โจทก์อ้างว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์นำมาลงบัญชีไว้ในหมวดสินทรัพย์อื่นในงบดุลซึ่งมิได้ระบุเป็นรายจ่าย จึงไม่อาจทราบได้ว่าเป็นรายจ่ายในกรณีใดมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 และ 2536 ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: การยื่นอุทธรณ์ฉบับแยกต่างหาก จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์
การชำระค่าขึ้นศาลจะต้องชำระเมื่อเวลายื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 ประกอบตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 4 ชำระเงินให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 4 ได้ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์มาฉบับเดียวกันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินอุทิศเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
การที่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์และยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายมาตั้งแต่ต้นแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ย่อมมีผลทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์อีก และย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม แม้จำเลยจะได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดิม
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรณีราษฎรฟ้องกันเองขอให้บังคับว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าในส่วนของโจทก์ที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 48,662 บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในส่วนนี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม แต่จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาทรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์ 264,537บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาท แก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เนื่องจากเหตุผลไม่สมควรและนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลชั้นต้นชอบแล้ว
การที่ทนายจำเลยอ้างว่า จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาตามกฎหมายนั้น เพราะทนายจำเลยหลงลืม นับว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามขอ และคดีนี้ จำเลยให้การต่อสู้โดยให้เหตุผลประการหนึ่งว่า ฮ.ไปดำเนินการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทไม่ตรงตามที่ ช.บอกไว้ แต่ตามคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยจำเลยอ้างว่า เพื่อจะนำพยานเข้าสืบในประเด็นข้อสำคัญว่า ช.มอบอำนาจให้ ฮ.ไปโอนที่ดินแทนหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องนอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้ กรณีจึงไม่มีเหตุผลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานตามคำร้องของจำเลยได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใด และเมื่อจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะนำพยานเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำขอท้ายอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยมิได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดี เพียงแต่ขอให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบเท่านั้น แม้จำเลยจะใช้ถ้อยคำในคำขอว่า พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดิน และสิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อ ส.และ ล.น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเอง แล้วมารดาโจทก์จดทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไป และคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าว ทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่ 6 ไร่เป็นของโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าว เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลไม่ครบและการขอบังคับคดีขับไล่: ศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระเพิ่มเติมได้ และคำพิพากษาไม่เกินคำขอ
กรณีที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลไว้ให้ครบ เป็นการคลาดเคลื่อน และเป็นการผิดพลาดเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาด แต่ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆ หรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยได้นำรถไถเข้าไปไถที่ดินและหว่านกล้าในที่ดินพิพาททั้งแปลง ที่ดินพิพาทสามารถปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งโจทก์ก็ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยมาเป็นรายปีจำเลยก็เบิกความยอมรับว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องแต่เพียงว่า ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมมีความหมายว่าขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่นอกเหนือหรือเกินคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีสอดขอเป็นคู่ความ - คดีมีทุนทรัพย์
คำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอดโจทก์มีชื่อถือไว้แทน ขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด เป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด คำร้องสอดจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดที่อ้างแต่การครอบครองปรปักษ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งปลูกสร้างในคดี ไม่มีประโยชน์ จึงไม่ต้องรับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
of 2