พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21165/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดของกรรมการ, การจำนอง และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหนี้
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 บัญญัติให้สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 51 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ข้อบังคับของโจทก์ข้อ 65 ก็มีข้อความทำนองนี้ โดยในวรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติของคณะกรรมการดำเนินการ และมติของที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งในเรื่องการฟ้องและดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ สำหรับหนังสือมอบอำนาจของโจทก์นั้น มีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 จำนวน 15 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจ เมื่อพิจารณาประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 71 พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และข้อบังคับของโจทก์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการมอบอำนาจ ไม่ปรากฏว่าจะต้องให้กรรมการดำเนินการของโจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อเพื่อกระทำการแทนและให้มีผลผูกพันโจทก์ ดังนั้น แม้ต่อมาศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืน ทำให้ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีผลอยู่ โดยตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ. ซึ่งส่งผลให้การสมัครรับเลือกตั้งของ บ. ไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย บ. ไม่มีฐานะเป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ในขณะที่ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ตนเองและหรือ ส. กรรมการดำเนินการของโจทก์อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่ยังเหลืออยู่อีก 14 คน ยังมีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากที่จะดำเนินการแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 71 และถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแล้ว การดำเนินการของ ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์และผู้แต่งตั้งทนายความจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับ และหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินมรดกที่ไม่ชอบธรรม โดยอ้างอิงสิทธิในฐานะทายาทและหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและตกเป็นของโจทก์ทั้งสองเฉพาะส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้สิทธิในฐานะบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และไม่ใช่การฟ้องคดีละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11437/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ: พิจารณาจากเจตนาในคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 จะใช้อายุความเรื่องละเมิดหรือใช้อายุความทั่วไปนั้น ต้องพิจารณาจากการบรรยายในคำฟ้องของโจทก์เพื่อให้เห็นเจตนาว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยอ้างอิงหรืออาศัยสิทธิตามกฎหมายใดเป็นหลัก ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดโดยตรง หรือฟ้องโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มีหลักสำคัญอยู่ที่การทำให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน กรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิด มักจะต้องบรรยายในคำฟ้องให้เห็นว่า จำเลยจงใจกระทำการใด ๆ หรือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำในคำฟ้องคดีนี้แล้วไม่ปรากฏแจ้งชัดว่าโจทก์ได้ใช้ถ้อยคำที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องโดยอาศัยสิทธิในมูลละเมิดโดยตรงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม คำฟ้องของโจทก์บรรยายโดยกล่าวในตอนต้นให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจหน้าที่ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมและทำนุบำรุงทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเขตที่รับผิดชอบมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับรวมทั้ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ด้วย ต่อมาจึงบรรยายโดยใช้ถ้อยคำว่าการกระทำของจำเลยโดยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ ก่อสร้าง แผ้วถางป่า โดยตัดฟัน โค่น เลื่อย ชักลากไม้ในป่า อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ ซึ่งโจทก์เป็นผู้ดูแลอยู่ ทั้งในตอนท้ายโจทก์ก็บรรยายในคำฟ้องแจ้งชัดว่า การกระทำของจำเลยนั้นทำให้เกิดความเสียหาย โดยโจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย โดยกำหนดจากหลักเกณฑ์ความเสียหายในทางแพ่งตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา 97 ดังกล่าวระบุในทำนองว่า ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือทำให้เสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป การบรรยายในคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ใช่การบรรยายฟ้องในเรื่องละเมิดโดยตรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการบรรยายในคำฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ด้วย ซึ่งการเรียกร้องค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 นั้น ไม่ได้มีบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือ 10 ปี เมื่อจำเลยกระทำความผิดตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551 จึงยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้งในคดีละเมิด: การฟ้องของโจทก์ไม่สะดุดอายุความฟ้องแย้งของจำเลย
การฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์ หาได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองซึ่งฟ้องแย้งด้วยไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14426/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้มีสัญญาข้อกำหนดความรับผิดชอบร่วมกัน ก็ไม่อาจขยายอายุความได้
แม้ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีสัญญากำหนดความรับผิดต่อกันไว้โดยระบุว่า ในกรณีที่พนักงานประจำรถและหรือรถตามสัญญานี้ ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นแก่ผู้ให้สัญญาหรือบุคคลใด ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นบนเส้นทาง หรือนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ ผู้รับสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นการแสดงเจตนาของคู่สัญญาที่กล่าวถึงความรับผิดของจำเลยผู้รับสัญญา ในกรณีที่พนักงานประจำรถของจำเลยไปก่อให้เกิดความเสียหายอันทำให้โจทก์จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อความเสียหายดังกล่าวมาจากเหตุละเมิด อายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้จึงมีกำหนด 1 ปี และไม่อาจนำข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวมาขยายอายุความละเมิดออกไป เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/11 เมื่อได้ความว่าผู้แทนของโจทก์ลงนามในช่องผู้จัดการใหญ่ อนุมัติจ่ายค่าลากรถยนต์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 จึงเป็นวันที่โจทก์รู้ถึงเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2548 พ้นกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8896/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: โจทก์รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด?
แม้จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลา 2 ปี (มิใช่ 1 ปี) นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 อันเป็นวันเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน แต่เมื่อตามคำฟ้องและข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ถือได้ว่าจำเลยได้ยกอายุความเรื่องละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ขึ้นต่อสู้แล้ว ประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นอายุความเรื่องละเมิด ศาลก็ต้องยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นปรับแก่คดี เพราะการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง แม้ฟ้องผิดคันก่อน
โจทก์ยื่นฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 15602/2547 ต่อศาลชั้นต้น สืบเนื่องจากโจทก์ได้รับแจ้งหมายเลขทะเบียนรถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดผิดพลาดจากพนักงานสอบสวน กรณีจึงยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สินไหมทดแทนตั้งแต่วันเกิดเหตุ ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้รับแจ้งว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับคนขับรถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดแล้ว จึงทราบว่ารถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดที่แท้จริงคือ หมายเลขทะเบียน 11-9221 กรุงเทพมหานคร กรณีจึงถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อายุความทางละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 15602/2547 ต่อศาลชั้นต้นมาก่อน เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นตัวการผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารประจำทาง โดยรับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-2921 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคนละคันกับคดีนี้เข้าร่วมในการประกอบกิจการและได้รับประโยชน์จากรถโดยสารคันดังกล่าว หาได้เรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดเกี่ยวกับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-9221 กรุงเทพมหานคร ในคดีนี้แต่อย่างใด กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2550 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 15602/2547 ต่อศาลชั้นต้นมาก่อน เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นตัวการผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารประจำทาง โดยรับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-2921 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคนละคันกับคดีนี้เข้าร่วมในการประกอบกิจการและได้รับประโยชน์จากรถโดยสารคันดังกล่าว หาได้เรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดเกี่ยวกับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-9221 กรุงเทพมหานคร ในคดีนี้แต่อย่างใด กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2550 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10930/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด 1 ปี คดีค่าสินไหมทดแทนจากรถหาย ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย
คำแก้อุทธรณ์เป็นคำคู่ความ คู่ความย่อมตั้งประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (5), 237 และ 240 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุอื่น แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความละเมิด 1 ปี จึงมีประเด็นเรื่องอายุความละเมิด 1 ปี ในชั้นอุทธรณ์ ไม่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นเรื่องอายุความละเมิด 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยด้วยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีรถหายแก่ผู้เอาประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ 880 วรรคหนึ่ง ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองส่งคืนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากพนักงานของจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเป็นมูลละเมิดต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 พ้น 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีรถหายแก่ผู้เอาประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ 880 วรรคหนึ่ง ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองส่งคืนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากพนักงานของจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเป็นมูลละเมิดต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 พ้น 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8550/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้หรือควรรู้ตัวผู้ต้องรับผิดและระยะเวลาดำเนินการของหน่วยงาน
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2537 ถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 และฉบับวันที่ 5 มิถุนายน ถึงจำเลยที่ 1 แสดงว่าอย่างช้าที่สุดในวันที่ 5 มิถุนายน 2538 โจทก์ได้รู้แล้วว่าผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยทั้งสาม แม้โจทก์จะอ้างว่าต้องรับผิดชอบคดีที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีงานคั่งค้างเป็นเหตุให้รายงานอธิบดีโจทก์ทราบล่าช้า แต่การใช้เวลาดำเนินการเนิ่นนานไปจนผิดปกติเช่นนี้ โจทก์ควรมีพยานหลักฐานมาแสดงให้ปรากฏว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้างและไปติดขัดอยู่ที่ใด และไม่ปรากฏว่าโจทก์เร่งรัดไปยังแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 เพิ่มเติมหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งที่รู้แล้วว่าผู้ที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยทั้งสามแต่กลับเพิ่งจะมีบันทึกข้อความรายงานถึงอธิบดีโจทก์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และอธิบดีโจทก์ลงนามรับทราบในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ภายหลังวันเกิดเหตุเกือบ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกินสมควรกว่าขั้นตอนการปฏิบัติราชการตามปกติ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์เพิ่งจะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 เชื่อว่าโจทก์ได้รู้หรือควรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547 เกิน 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดนิติบุคคล: เริ่มนับเมื่อผู้แทนตามกฎหมายทราบการละเมิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้แทนตามกฎหมายซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบของราชการ รวมทั้งเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฉะนั้นการนับอายุความละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่ออธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องที่ตัวแทนจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 นับถึงวันที่ 10 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ป. และ น. มีตำแหน่งเป็นนายช่างแขวงการทางชัยนาท ส่วน ธ. เป็นนิติกรประจำกองนิติการซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2537 แล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะเป็ฯเหตุให้ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันเวลาดังกล่าว
ป. และ น. มีตำแหน่งเป็นนายช่างแขวงการทางชัยนาท ส่วน ธ. เป็นนิติกรประจำกองนิติการซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2537 แล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะเป็ฯเหตุให้ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันเวลาดังกล่าว