คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 448 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการหนี้ของหน่วยงานราชการโดยผู้กำกับดูแล หากเป็นการทำตามหน้าที่และหน่วยงานรับรู้ ไม่ถือเป็นการขัดความประสงค์
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณีไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรรและไม่รายงานให้จำเลยที่1ทราบทำให้จำเลยที่1ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีมิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396บัญญัติว่า"ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดีหรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นแม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่าผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้วและโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา396ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกิน 200,000 บาท และฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อเพิ่งรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหม
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งความแพ่งมาตรา248ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพราะฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างจำเลยที่1จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างนั้นปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วมฎีกาของจำเลยร่วมจึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กำหนดอายุความ1ปีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วหากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนกำหนดอายุความ1ปีนั้นก็จะยังไม่เริ่มนับโจทก์เพิ่งได้รับจากคำให้การของจำเลยที่2ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่30สิงหาคม2533ว่าจำเลยที่2ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุโจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วมที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่14กุมภาพันธ์2534ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และการเริ่มนับอายุความเมื่อรู้ตัวผู้รับผิด
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างนั้น ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วม ฎีกาของจำเลยร่วมจึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กำหนดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว หากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความ 1 ปี นั้นก็จะยังไม่เริ่มนับ โจทก์เพิ่งได้ทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุ โจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วม ที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายอายุความเมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องคดีเนื่องจากไม่มีอำนาจศาล
คำสั่งของศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ไม่รับฟ้องของโจทก์เนื่องจากจำเลยทั้งสองมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล มีความหมายเช่นเดียวกับการที่ศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฟ้องคดีนี้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความสิ้นสุดลงในวันเดียวกันกับที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งไม่รับฟ้อง อายุความจึงต้องขยายออกไปหกเดือนภายหลังคำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อยังไม่ครบกำหนดหกเดือนของอายุความที่ขยายออกไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างในฐานะผู้กระทำละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
แม้ว่าตามระเบียบของกรมชลประทานจำเลย การที่จะนำรถยนต์คันเกิดเหตุขับออกไปข้างนอกได้ต้องได้รับอนุญาต จากผู้บังคับบัญชาเสียก่อนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาคนใดเป็นผู้เก็บกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุที่ท.ต้องนำคำอนุมัติการใช้รถยนต์ไปเสนอแล้วจึงขอรับกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุไปขับรถยนต์คันเกิดเหตุ การที่จำเลยมอบการครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุและกุญแจของรถยนต์คันเกิดเหตุให้ ท.ซึ่งทำให้ท.พร้อมที่จะขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาเช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว ดังนั้นที่ ท.ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากกรมชลประทานสามเสนไปแล้วไปชน ศ.ตาย แล้วขับรถยนต์คันเกิดเหตุเข้ามากรมชลประทานสามเสนเหมือนเดิม โดยไม่ว่าในการขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นความประสงค์ของ ท.เองหรือพนักงานของกรมชลประทานคนใดของจำเลยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.กระทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของ ท.ดังกล่าวจึงถือว่ากระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยแล้ว โจทก์ที่ 1 เพิ่งรู้ว่า ท.เป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยชนผู้ตายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2531 โจทก์ที่ 1จึงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่ 28 เมษายน 2531จึงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 28 เมษายน 2531เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 11 เมษายน 2532จึงไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตใช้รถยนต์โดยปริยายและการรับผิดในทางการจ้าง
แม้ว่าตามระเบียบของกรมชลประทานจำเลย การที่จะนำรถยนต์คันเกิดเหตุขับออกไปข้างนอกได้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเสียก่อนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาคนใดเป็นผู้เก็บกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุที่ ท.ต้องนำคำอนุมัติการใช้รถยนต์ไปเสนอแล้วจึงขอรับกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุไปขับรถยนต์คันเกิดเหตุ การที่จำเลยมอบการครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุและกุญแจของรถยนต์คันเกิดเหตุให้ ท.ซึ่งทำให้ ท.พร้อมที่จะขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาเช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว ดังนั้นที่ ท.ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากกรมชลประทานสามเสนไปแล้วไปชน ศ.ตาย แล้วขับรถยนต์คันเกิดเหตุเข้ามากรมชลประทานสามเสนเหมือนเดิม โดยไม่ว่าในการขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นความประสงค์ของ ท.เองหรือพนักงานของกรมชลประทานคนใดของจำเลยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท. กระทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของ ท.ดังกล่าวจึงถือว่ากระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยแล้ว
โจทก์ที่ 1 เพิ่งรู้ว่า ท.เป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยชนผู้ตายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2531 โจทก์ที่ 1 จึงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน-ตำรวจในวันที่ 28 เมษายน 2531 จึงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 28 เมษายน 2531 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 11 เมษายน 2532 จึงไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการขุดดิน – ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง – การแก้ไขสภาพเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและจำเลยร่วมก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงโดยไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา448 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ปี และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงใช้อายุความตามหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
การที่ที่ดินของโจทก์พังทลายลงเกิดจากการกระทำของคนงานของจำเลยร่วมที่ขุดดินใกล้เขตที่ดินของโจทก์มากเกินไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมจะต้องเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดให้จำเลยร่วมผู้รับจ้างว่าจะขุดบริเวณใดเห็นได้ว่าจำเลยร่วมได้ทำตามคำสั่งของจำเลย แม้จะเป็นการจ้างทำของ จำเลยก็จะต้องร่วมรับผิดด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428
โจทก์ขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินยาว 180 เมตรก็เพื่อต้องการที่จะให้ที่ดินอยู่ในสภาพเดิมไม่พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเท่านั้นดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็น จึงได้ใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้อง
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเป็นข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์มีสิทธิพิสูจน์การรู้ข้อเท็จจริงเพื่อต่อสู้เรื่องอายุความ
การอ้างอายุความมาเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์นั้นเป็นเรื่องของฝ่ายจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หาใช่สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยยกปัญหาอายุความขึ้นต่อสู้ ย่อมเกิดประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์จำเลยจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้ศาลวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงให้ยุติแล้วจึงปรับเข้าข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันเดือนปีใด จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับถึงวันฟ้อง
of 8