พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง และความรับผิดร่วมกันของจำเลยหลายคนในกรณีละเมิด
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น - หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10 - 1806 ขก. ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น - 2691 ชย...ฯลฯ... แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของ ศปอ. หมายเลขทะเบียน 2 ง - 9601 ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี... รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น - 2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว เป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพ คือวันที่ 15เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด
จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง, การรับผิดร่วมกัน, การประมาทเลินเล่อ, การพิพากษาแก้
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10-1806 ขก.ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น-2691ซย.ฯลฯ...แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของศปอ.หมายเลขทะเบียน2ง-9601ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี...รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้วเป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพคือวันที่ 15 เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย: จุดเริ่มต้นเมื่อโจทก์ทราบตัวผู้ต้องรับผิด ไม่ใช่เมื่อได้รับแจ้งจากหน่วยงาน
ข้อเท็จจริงที่จำเลยละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความประมาทเลินเล่อในขณะเกิดเหตุได้ปรากฏในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้คณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ควรให้จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งกรมทางหลวงโจทก์เห็นพ้องด้วย จึงแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบ แสดงว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันบันทึกแสดงข้อความที่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ หาใช่ถือเอาวันที่ได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังว่าจำเลยต้องรับผิดเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้เสียหายและเป็นนิติบุคคลมีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้เอง ไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากกระทรวงการคลังแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: ผู้เสียหาย (นิติบุคคล) รู้ตัวผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหายเมื่อใดเป็นสำคัญ ไม่ใช่วันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานอื่น
ข้อเท็จจริงที่จำเลยละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความประมาทเลินเล่อในขณะเกิดเหตุได้ปรากฏในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้คณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ควรให้จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งกรมทางหลวงโจทก์เห็นพ้องด้วย จึงแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบ แสดงว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันบันทึกแสดงข้อความที่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ หาใช่ถือเอาวันที่ได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังว่าจำเลยต้องรับผิดเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้เสียหายและเป็นนิติบุคคลมีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้เอง ไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากกระทรวงการคลังแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลยเมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความหากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว