พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาพระภิกษุและทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนา
หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุ ใบมรณบัตร ใบแต่งตั้งเป็นพระครูคำขอรับมรดกของมารดาและบัญชีเงินฝากต่างระบุว่าผู้ตายอยู่วัดผู้ร้อง แสดงว่าผู้ตายถือเอาวัดผู้ร้องเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ วัดผู้ร้องจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ทรัพย์สินของผู้ตายที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นสมบัติของวัดผู้ร้องที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมณเพศตกเป็นของวัดเมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพ
บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุข.บวชเป็นพระภิกษุ การที่พระภิกษุข.ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุข.ถึงแก่มรณภาพ เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมณเพศเมื่อมรณภาพตกเป็นของวัด
บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุ ข.บวชเป็นพระภิกษุเมื่อพระภิกษุ ข. ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศเมื่อพระภิกษุ ข. ถึงแก่มรณภาพเงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ข..(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินพระภิกษุตกได้แก่วัดเมื่อไม่มีพินัยกรรม โดยโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าพินัยกรรมที่อ้างไม่ปลอม
เงินประมาณ7แสนบาทและที่ดิน5โฉนดเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุช.เจ้ามรดกได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศโจทก์อ้างว่าพระภิกษุช.ได้ทำพินัยกรามยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์วัดผู้ร้องสอดต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอมขึ้นภายหลังพระภิกษุช.มรณภาพแล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบว่าพินัยกรรมที่อ้างนั้นไม่ปลอม ทรัพย์พิพาทพระภิกษุช.ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศแล้วถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดจึงตกได้แก่วัดผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1623.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินพระภิกษุ: การพิสูจน์พินัยกรรมและการตกได้แก่ วัดเมื่อไม่มีพินัยกรรมยกทรัพย์
เงินประมาณ 7 แสนบาท และที่ดิน 5 โฉนด เป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ช. เจ้ามรดกได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ โจทก์อ้างว่าพระภิกษุ ช.ได้ทำพินัยกรามยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ วัดผู้ร้องสอดต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอมขึ้นภายหลังพระภิกษุ ช.มรณภาพแล้ว เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบว่าพินัยกรรมที่อ้างนั้นไม่ปลอม
ทรัพย์พิพาทพระภิกษุ ช. ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศแล้วถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จึงตกได้แก่วัดผู้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623
ทรัพย์พิพาทพระภิกษุ ช. ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศแล้วถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จึงตกได้แก่วัดผู้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมปลอมและการตกได้ซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุหลังมรณภาพ ทรัพย์สินตกเป็นของวัด
โจทก์อ้างว่าพระภิกษุทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ผู้ร้องสอดต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอมเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องนำสืบให้ได้ความว่าพินัยกรรมนั้นไม่ปลอม พระภิกษุช. ได้ทรัพย์พิพาทมาระหว่างอยู่ในสมณเพศแล้วถึงแก่มรณภาพโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดทรัพย์พิพาทจึงตกได้แก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุช. ตามป.พ.พ.มาตรา1623.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทมีอำนาจหน้าที่เหนือวัด แม้ไม่มีทรัพย์มรดก
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิเหนือวัด แม้วัดมีสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่น จึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินสงเคราะห์วัดหลังมรณภาพ & สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกสร้างอาคาร
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ผ.จดทะเบียนยกให้พระภิกษุฮ. ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุ ฮ. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ฮ. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1623
พระภิกษุ ฮ. ให้จำเลยปลูกห้องแถวอาศัยอยู่ในดินถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินใช้สิทธินั้นปลูกห้องแถวลงไว้ในที่ดินพิพาท ห้องแถวจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท และยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไป อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยได้
พระภิกษุ ฮ. ให้จำเลยปลูกห้องแถวอาศัยอยู่ในดินถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินใช้สิทธินั้นปลูกห้องแถวลงไว้ในที่ดินพิพาท ห้องแถวจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท และยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไป อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)