พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่แจ้งรายละเอียด
แม้โจทก์จะโอนที่ดินใช้หนี้ให้แก่ ส.ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินแล้ว การที่โจทก์ประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินและที่ดินที่โจทก์โอนตีใช้หนี้เป็นที่ดินแปลงหนึ่งในจำนวนหลายแปลงที่โจทก์จัดสรรขายเพียงแต่วิธีการชำระเงินให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ต่อกันเท่านั้น ดังนั้น การโอนที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในประเภท 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มีอาชีพประกอบการค้าที่ดินแล้ว แม้จะครอบครองมาเกิน 5 ปี ก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการค้าหรือหากำไร ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์แล้ว
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์สิน ต้องทำตามขอบเขตอำนาจและสุจริต หากไม่เป็นไปตามนั้น สัญญาไม่ผูกพันทายาท
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำสั่งศาลแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และจะต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วันตามมาตรา 1728 หากในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ อ. จำเป็นต้องขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจนำที่ดินนั้นไปขายได้ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ.แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกันจำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ. ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.และศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์ เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้จัดการมรดกที่ไม่สุจริตและเกินขอบอำนาจ ไม่ผูกพันทายาท
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ตามคำสั่งศาลแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน ตามมาตรา 1728 หากในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ อ. จำเป็นต้องขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจนำที่ดินนั้นไปขายได้
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ. แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกัน จำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ.ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และศาลได้มีคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของอ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ.ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะจะขายกันโดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ.ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ. แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกัน จำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ.ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และศาลได้มีคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของอ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ.ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะจะขายกันโดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ.ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเป็นภาระจำยอม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกเป็นที่ดินอีกโฉนดหนึ่งเนื้อที่ 18 ตารางวาและจดทะเบียนภารจำยอมเป็นทางเดินให้แก่ที่ดินแปลงอื่น เมื่อทางภารจำยอมที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกไปจากที่ดินซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อเป็นทางภารจำยอมที่มีมาแต่เดิม การแบ่งแยกทางภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องโอนขายแก่โจทก์ จึงมิใช่การฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำเป็นการชำระหนี้บางส่วน การฟ้องร้องบังคับตามสัญญาไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐาน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงขอให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมแล้วศาลจึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: พยานยืนยันตัวผู้กระทำผิดจากลักษณะรูปร่างและคำให้การรับสารภาพ
แม้จำเลยจะสวมหมวกไหมพรมสีดำปิดหน้าถึงบริเวณคิ้วแต่สามารถเห็นหน้าและพยานโจทก์ทั้งสามเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ขู่บังคับพยานจำหน้าจำเลยได้แม่นยำ เนื่องจากบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟนีออนและสปอทไลท์ เปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ประกอบกับก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยได้มาคุยกับผู้เสียหายที่ 1 ขอทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ได้เดินทางไปแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจที่ตู้ยามพร้อมกับยืนยันว่าคนร้ายคือจำเลยพยานทั้งสามไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุที่จะเบิกความปรักปรำจำเลยน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามที่เป็นจริง นอกจากนี้โจทก์ยังมี ท.พนักงานสอบสวนมาเบิกความว่า เมื่อจับกุมจำเลยได้แล้วได้แจ้งข้อหาจำเลยว่าร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้อื่นและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ เมื่อท. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ ที่จำเลยนำสืบว่าเจ้าพนักงานตำรวจบอกให้ลงลายมือชื่อแล้วจะกันไว้เป็นพยานโดยไม่ได้อ่านข้อความให้ฟังนั้น เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังเมื่อฟังคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนประกอบคำเบิกความของประจักษ์พยานทั้งสามแล้ว เชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างทนายความต้องแจ้งเจตนาชัดเจน การประวิงคดีไม่อาจอ้างเหตุเลิกสัญญาได้
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาได้ และไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่างพ.ทนายความจำเลยกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ พ.ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลย สัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ.และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างว่าความ การถอนทนาย และการประวิงคดี: ศาลต้องแจ้งการถอนทนายให้จำเลยทราบ
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งตามกฎหมายเรื่องจ้างทำของมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้าง จะบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่าง พ. ทนายความกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อปรากฏว่า พ. ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยสัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ. และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง การที่ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายให้จำเลยทราบ ตามกฎหมายก็เฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่อง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ พ.ถอนตัวจากการเป็นทนาย จึงไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดี เพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาล ในครั้งนี้ทนายมายื่นคำร้องขอถอนตัว โดยจำเลยเองก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความและจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทรายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุประวิงคดีไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและฟังว่าจำเลยจงใจประวิงคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบจัดหาแหล่งเงินกู้ หรือสร้างไม่เสร็จหากไม่มีข้อตกลงในสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อสัญญาใดระบุหน้าที่จำเลยว่าเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ ให้โจทก์ การที่สำนักงานขายจำเลยมีโฆษณาของสถาบันการเงินต่าง ๆชักชวนให้ลูกค้าจำเลยไปกู้ยืมเงินถือเป็นเรื่องของสถาบันการเงินที่จะโฆษณาหาลูกค้า หามีผลผูกพันให้จำเลยต้องจัดหาสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ไม่ แม้พนักงานของจำเลยจะเรียกหลักฐาน จากโจทก์เพื่อติดต่อสถาบันการเงินให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องให้ความสะดวกแก่โจทก์เพื่อประโยชน์แก่การขายอาคารชุดของจำเลยมากกว่าที่จำเลยจะผูกพันในรูปสัญญาจะจัดหางานแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ส่วนเอกสารที่สถาบันการเงินมีถึงจำเลยแสดงความยินดีสนับสนุนลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดจำเลย ก็ไม่ใช่เอกสารที่ผูกพันอันจะฟังได้ว่าจำเลยมีสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์