พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนซื้อสินค้า: ความผูกพันชำระหนี้แม้มีการจ้างเหมาช่วง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงรับจ้างก่อสร้างโรงเรือนสุกรพันธุ์ แม้จำเลยที่ 1 จะนำสืบแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างจำเลยที่ 3 ทำงานแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 4 ไปพบโจทก์ ให้โจทก์คำนวณราคาแบบติดตั้งและอุปกรณ์โดยแนะนำว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดูแลงานก่อสร้างดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหนังสือสั่งซื้อและติดตั้งอุปกรณ์การก่อสร้างไปถึงโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 โอนเงินให้โจทก์บางส่วน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเคยติดต่อให้โจทก์ออกใบกำกับภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย กรณีจึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 4 ว่าเป็นตัวแทนของตนติดต่อซื้ออุปกรณ์ติดตั้งคอกสุกรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระราคาส่วนที่ค้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ละเว้นการแจ้งป่าสงวนก่อนออก น.ส.3ก. ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อออก น.ส.3 ก. ไม่มีการแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขต เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เพราะมีเหตุสงสัยว่าที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตติดต่อกับเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ. 2424 จำเลยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตแต่กลับรายงานต่อนายอำเภอที่เกิดเหตุทั้งสามแปลงไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเหตุให้นายอำเภอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่ ส. เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 157,162(4) แต่การกระทำดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดินและข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของวัด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวาอารามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับ จึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้ พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ พ. ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้ พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ พ. ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ครอบครองเดิม ผู้รับพินัยกรรม และผู้เช่า: การพิพากษาตามฟ้องแย้ง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวา อา รามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับจึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาท เป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของพ.ดังนี้กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่าใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการ: การตีความฐานภาษีที่ถูกต้องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 และประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาทต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคาซี.ไอ.เอฟ. จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัยการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน 1,983,333.33 บาทตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ครอบครองจะเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเอง และผู้ซื้อไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองด้วยการรับมรดกมาจากบิดา แม้จำเลยจะเพิ่งทราบว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยก่อนฟ้องประมาณ 3 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปีจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วหาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 32 ไร่เศษ โดยเห็นบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ซักถามว่าบ้านจำเลยอยู่ในหรือนอกเขตโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกัน และจำเลยอยู่โดยสิทธิอันใด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์รู้ว่ามีผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่โจทก์รับซื้อมาจากผู้ขาย กรณีดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่โจทก์ผู้มีชื่อ ในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดที่ดินต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่รู้ว่าเป็นที่ดินผู้อื่น โจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครองจึงไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองด้วยการรับมรดกมาจากบิดา แม้จำเลยจะเพิ่งทราบว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยก่อนฟ้องประมาณ 3 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 32 ไร่เศษ โดยเห็นบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ซักถามว่าบ้านจำเลยอยู่ในหรือนอกเขตโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกัน และจำเลยอยู่โดยสิทธิอันใด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์รู้ว่ามีผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่โจทก์รับซื้อมาจากผู้ขาย กรณีดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่โจทก์ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดที่ดินต่อไป
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 32 ไร่เศษ โดยเห็นบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ซักถามว่าบ้านจำเลยอยู่ในหรือนอกเขตโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกัน และจำเลยอยู่โดยสิทธิอันใด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์รู้ว่ามีผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่โจทก์รับซื้อมาจากผู้ขาย กรณีดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่โจทก์ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดที่ดินต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้อง แต่ยื่นล่าช้า ศาลพิพากษายืนตามคำวินิจฉัยเดิม
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่24 มิถุนายน 2536 นั้น เป็นฉบับที่โจทก์ยื่นปกติมิใช่ฉบับยื่นเพิ่มเติม แม้โจทก์มิได้ยื่นตามกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสอง ก็ตาม แต่ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ภาษีขาย ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้ว ภาษีซื้อ ภาษีที่ชำระเงิน และภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ตรงตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้ทุกรายการ เช่นนี้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์ยื่นปกติสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2536จึงมิได้มีข้อผิดพลาดหรือมีการแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องและไม่เป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีมีนาคม 2536คลาดเคลื่อนไปแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนภาษีมีนาคม 2536 ภายในกำหนดเวลาโจทก์จะต้องรับผิด หรือไม่อย่างไร ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากแบบแสดงรายการภาษีถูกต้อง
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2536 นั้น เป็นฉบับที่โจทก์ยื่นปกติมิใช่ฉบับยื่นเพิ่มเติม แม้โจทก์มิได้ยื่นตามกำหนดเวลาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสอง ก็ตาม แต่ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ภาษีขาย ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้วภาษีซื้อ ภาษีที่ชำระเกิน และภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ตรงตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้ทุกรายการ เช่นนี้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์ยื่นปกติสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2536 จึงมิได้มีข้อผิดพลาดหรือมีการแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีมีนาคม 2536 คลาดเคลื่อนไปแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีมีนาคม 2536 ภายในกำหนดเวลาโจทก์จะต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้