คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เหล็ก ไทรวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - สัญญาเช่าที่ไม่มีผลต่อเจ้าของสิทธิ - การละเมิดสิทธิครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่าที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจอ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – สัญญาเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิ – การละเมิดสิทธิ – การฟ้องขับไล่
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่า ที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจ อ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8044/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำของตัวแทนเชิดในการทำสัญญา
คดีมีประเด็นว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูม ของจำเลยหรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เชิด ป. เป็นตัวแทนของจำเลยในการว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูมดังกล่าว เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์โดยมี ป. ทำการแทนจำเลยในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นแห่งคดีดังกล่าวแล้ว หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8044/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างผ่านตัวแทน: ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คดีมีประเด็นว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูมของจำเลยหรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เชิด ป.เป็นตัวแทนของจำเลยในการว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูมดังกล่าว เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์โดยมี ป.ทำการแทนจำเลยในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นแห่งคดีดังกล่าวแล้ว หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและขอบเขตการจับกุม
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงาน: การปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานอื่นตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วย ดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลยผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องภาษีมูลค่าเพิ่มหลังสัญญาซื้อขายก่อนบังคับใช้กฎหมาย, อายุความ 10 ปี, ราคาวัสดุไม่รวมภาษี
กรณีที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่การขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นยังมิได้เสร็จเด็ดขาดหรือสิ้นสุดลงก่อนวันดังกล่าวผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไป แต่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราดังกล่าวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุก่อสร้างก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535แต่การซื้อขายมิได้เสร็จเด็ดขาดก่อนวันดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากจำเลยได้ คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าวัสดุก่อสร้างตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่อาจนำอายุความกำหนด 2 ปี มาใช้บังคับกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เรียกเก็บจากจำเลยเพื่อนำไปชำระแก่กรมสรรพากรและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยไปแล้วซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้มีการยื่นอุทธรณ์และส่งเอกสารภายหลัง
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีและใบเสร็จการชำระภาษีเงินได้มาให้เจ้าพนักงานประเมินตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2536จนถึงวันที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี เป็น การให้โอกาสแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาอันสมควรแล้วแต่โจทก์ส่งเอกสารมาเพียงบางส่วน มิได้สนใจค้นหา เอกสารดังกล่าวอย่างแท้จริง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรโดยชอบแล้วแม้ภายหลังโจทก์ยื่นอุทธรณ์และส่งเอกสารทางการบัญชีหลายเล่มมาประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม ก็หาทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ชอบแล้วเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษีไม่นำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีและใบเสร็จการชำระภาษีเงินได้มาให้เจ้าพนักงานประเมินตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม2536 จนถึงวันที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี เป็นการให้โอกาสแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาอันสมควรแล้ว แต่โจทก์ส่งเอกสารมาเพียงบางส่วน มิได้สนใจค้นหาเอกสารดังกล่าวอย่างแท้จริง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 71 (1) แห่งป.รัษฎากร
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) แห่ง ป.รัษฎากรโดยชอบแล้ว แม้ภายหลังโจทก์ยื่นอุทธรณ์และส่งเอกสารทางการบัญชีหลายเล่มมาประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม ก็หาทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ชอบแล้วเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์, การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
เดิม ค. ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค. ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค. มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค. จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
of 31