คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เหล็ก ไทรวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและการประเมินเจตนาในการฆ่า: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่าและตบหน้าจำเลยจำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุมีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์จำเลย และผู้ตาย อ. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยหรือผู้ตายมาก่อน จึงเป็นพยานคนกลาง พยานปากนี้จึงมีน้ำหนักมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาคำเบิกความของจำเลยแล้ว จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทั้งที่ยังไม่พฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลยและไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืนจึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 72โจทก์ร่วมขอขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่อนุญาต จึงถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต้องถือว่าปัญหาดังกล่าวสำหรับโจทก์ร่วมได้ยุติแล้ว โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาโจทก์ร่วมมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ระหว่างสมรส และผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์กับ ช. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2480 ตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามมาตรา 1462 วรรคสอง เดิม ช. ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2509 และปี 2529 ช. ได้จดทะเบียนให้จำเลยเช่า 30 ปี ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตกลงเป็นอย่างอื่น ช. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการตึกแถวพิพาทได้ฝ่ายเดียวมาแต่แรกตามมาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่นี้ ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้จัดการสินบริคณห์แต่ฝ่ายเดียวให้ถือว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ยินยอมให้คู่สมรสนั้นจัดการสินสมรสด้วย ช. เพียงฝ่ายเดียวจึงมีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิม นิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่เพื่อให้ลงลายมือชื่อในบันทึกการชำระหนี้ที่ไม่มีมูล เป็นโมฆะ
โจทก์มิได้สมัครใจซื้อรถบรรทุก 10 ล้อ คันเกิดเหตุจากจำเลย จำเลยมิได้เจ้าของรถคันดังกล่าวแล้วแต่กลับกล่าวหาว่าโจทก์ถอดเอาอุปกรณ์ของรถคันดังกล่าวไปขายอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แล้วบังคับให้โจทก์ซื้อรถคันดังกล่าวในราคา55,000 บาท หากไม่ซื้อก็จะดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหายักยอกทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขู่โจทก์จนโจทก์ จำต้องยอมลงลายมือชื่อในบันทึกการชำระหนี้พิพาท และยอมมอบเช็คจำนวนเงิน 55,000 บาท ให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลย ดังกล่าวมาถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม แต่ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจให้โจทก์มีมูล ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่เสรีภาพของโจทก์ เป็นภัย อันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันถูกจำเลย ข่มขู่เอานั้น บันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ได้บอกล้างแล้ว บันทึกการชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้นโจทก์ไม่จำต้องรับผิด ตามบันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขู่บังคับซื้อทรัพย์สิน: บันทึกชำระหนี้โมฆียะจากความกลัวภัยอันใกล้
โจทก์มิได้สมัครใจซื้อรถบรรทุก 10 ล้อ คันเกิดเหตุจากจำเลยจำเลยมิได้เป็นเจ้าของรถคันดังกล่าวแล้วแต่กลับกล่าวหาว่าโจทก์ถอดเอาอุปกรณ์ของรถคันดังกล่าวไปขายอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แล้วบังคับให้โจทก์ซื้อรถคันดังกล่าวในราคา 55,000 บาท หากไม่ซื้อก็จะดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหายักยอกทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขู่โจทก์จนโจทก์จำต้องยอมลงลายมือชื่อในบันทึกการชำระหนี้พิพาท และยอมมอบเช็คจำนวนเงิน 55,000 บาท ให้แก่จำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม แต่ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจให้โจทก์มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่เสรีภาพของโจทก์เป็นภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันถูกจำเลยข่มขู่เอานั้นบันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ได้บอกล้างแล้ว บันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น โจทก์ไม่จำต้องรับผิดตามบันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกง: การหลอกลวงด้วยเอกสารเท็จและเช็คไม่มีมูล
สัญญากู้ที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ร่วมนั้น จำเลยทำในนามของ ป. ซึ่งไม่มีตัวจริง ทั้งเช็คที่จำเลยนำมาแลกจำเลยยืมของบุคคลอื่นมาเป็นเช็คที่ปิดบัญชีแล้ว ลายมือชื่อที่จำเลยลงในเช็คก็ใช้ภาษาจีนไม่เป็นไปตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคารเช็คที่ใช้แลกเงินจากโจทก์ร่วมไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ การหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมโดยทำหลักฐานการกู้หรือมอบเช็คให้โจทก์ร่วมดังกล่าวก็เป็นการหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินนั่งเอง จำเลยมิได้มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญากู้ หรือเช็คที่นำไปแลกแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการลงโทษนอกคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่าจำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ. ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้เพราะเกินคำขอ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 204,205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5195/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจ้างทำของ: ค่าขายบ้านจัดสรรเป็นสินจ้างเพื่องานตามมาตรา 193/34(8) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำให้การจำเลยที่ระบุว่าคำฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเรียกร้องเอาค่าขายบ้านจัดสรรซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างทำของต้องใช้สิทธิภายใน 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของเกิดขึ้นเมื่อ 5 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา คดีโจทก์ขาดอายุความแม้จะไม่ได้ระบุเลขอนุมาตราใดก็เป็นคำให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 ศาลชอบที่จะนำบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมาปรับแก่คดีได้
ค่าขายบ้านที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นสินจ้างเพื่องานที่ทำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8) มิใช่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มีบทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความกำหนดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ของมูลนิธิ: อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีข้อเท็จจริง
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนแถวให้โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องรับขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และ ม. นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ตึกแถวของมูลนิธิ, อำนาจการมอบสัญญา, และข้อตกลงระหว่างบุคคลสิทธิ
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนตึกแถวให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด
คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และม.นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น: การอุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งบสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์ตามทุนทรัพย์โดยไม่ชอบและเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องลง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์จะยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นอุทธรณ์มิได้ ให้ยกคำร้องนั้นจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกันปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
of 31