คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เหล็ก ไทรวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดอายุบังคับคดีไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กำหนดเวลาบังคับคดีเป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับกับหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ทำถึงโจทก์ภายหลังที่ล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้วนั้นได้หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหลังครบกำหนดเวลาไม่สละสิทธิ
กำหนดเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดเวลาบังคับคดี ไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี vs. อายุความ: หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ไม่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ
โจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย และกรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร และหน้าที่เสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรอันเข้าลักษณะประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ และให้ปลดภาษีการค้าแก่โจทก์ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลจำต้องถือตาม
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ การครอบครองภายหลังด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก บ. ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใดเมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้วนั้น ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือ ที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อจาก บ. ตลอดมาแม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้ สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติ มาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาท ตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษและเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ตลอดมา โดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครองที่ดินพิพาท ของโจทก์จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ แต่การครอบครองต่อเนื่องแสดงเจตนาที่จะครอบครองเพื่อตน
บิดาจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้ว ต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ เพียงแต่มีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ เท่านั้น แต่เมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้ว โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจากบิดาจำเลยจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ เพียงใด ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่
โจทก์ซื้อและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. ตลอดมา แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ ตลอดมาโดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครอง ที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน: การครอบครองต่อเนื่องโดยเจตนาเพื่อตนทำให้ได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย
บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก บ.ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใดเมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้วนั้น ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่
โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อจาก บ.ตลอดมาแม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติ มาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษและเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ตลอดมา โดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครอง: พฤติการณ์การยึดของกลางและการพิสูจน์เจตนา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตำรวจได้ยึดเฮโรอีนเป็นของกลางจากคนร้ายแล้วจำเลยมิได้จับกุมหรือพันธนาการคนร้ายแต่ประการใดทั้งที่จำเลยมีกุญแจมือติดตัวอยู่จำเลยยืนอยู่กับคนร้ายซึ่งนั่งคร่อมบนที่นั่งคนขับรถจักรยานยนต์และติดเครื่องยนต์อยู่ ไม่มีลักษณะเป็นการจับกุมคนร้ายจำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามคนร้ายเข้าไปในเขตอำนาจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญจำเลยก็มิได้แจ้งแก่นายดาบตำรวจอ.และท.ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอหัวตะพานปฏิบัติหน้าที่ล้ำเขตอำนาจออกมา ทั้งขณะที่นายดาบตำรวจทั้งสองทำการตรวจค้นจำเลยยืนยันว่าเฮโรอีนของกลางจำเลยได้มาจากชายคนที่นั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ โดยบอกว่าจำเลยขอมาจากคนดังกล่าวเพื่อนำไปให้เด็กที่เลื่อยไม้ให้จำเลย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงฟังได้ว่าจำเลยมิได้จับกุมคนร้ายและยึดเฮโรอีนของกลางมาจากคนร้ายจำเลยเจตนามีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเช่าที่ดิน แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแสดงการยอมรับหนี้ของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยซื้อที่ดินมาจาก ว. จำเลยได้เช่าจาก ว.ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 100,000บาท นับแต่โจทก์ได้ซื้อที่ดินมา จำเลยไม่เคยชำระค่าเช่าส่วนของโจทก์ให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยนำค่าเช่าที่ดินไปชำระให้แก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่า แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเช่า แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินที่กำหนดจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือน แม้จะเรียกชื่ออย่างอื่นที่แท้ก็คือค่าเช่า เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยเป็นผู้รับผิดแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 538
of 31