พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเจ้าของสถานีบริการเช่าที่ดิน: ค่าเช่ารวมถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
ตามบทบัญญัติของมาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันแต่เมื่อค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดช. เป็นการให้เช่าสถานีบริการ รวมทั้งที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการแสดงว่าเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินรวมกันแล้ว การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของโรงเรือนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันมา จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเช่าสถานีบริการรวมที่ดิน
ตามบทบัญญัติของมาตรา 40 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกัน แต่เมื่อค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เป็นการให้เช่าสถานีบริการ รวมทั้งที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการ แสดงว่าเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินรวมกันแล้ว การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของโรงเรือนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันมา จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายและการระงับการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นเมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะ ดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเองแต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34 ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวงพ.ศ. 2501 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยผู้ใช้กระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการค้าเรียกค่าสินค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)(7) ที่จะต้องใช้อายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจริง แม้มีลายมือชื่อในสัญญากู้ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
จำเลยให้การว่า มีหญิงชายคู่หนึ่งมาหลอกเอาเงินโจทก์จำเลยไป โจทก์กลัวว่าสามีโจทก์รู้แล้วจะด่าว่าและทำร้าย โจทก์จึงนำสัญญากู้ซึ่งเขียนเสร็จแล้ว มาให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อโจทก์จะนำสัญญากู้ไปหลอกสามีว่าจำเลยกู้เงินไป ซึ่งความจริงจำเลยไม่เคยได้รับเงินตามสัญญา เช่นนี้จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย เพราะเป็นการนำสืบมูลเหตุที่ทำสัญญาเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีมูลหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ และหนี้เงินกู้ไม่สมบูรณ์เพราะโจทก์ไม่ได้ส่งมอบเงินที่กู้ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่สมบูรณ์ แม้เชื่อมั่นในความสามารถบุคคลธรรมดาที่เป็นกรรมการบริษัท ผู้รับจ้างไม่มีคุณสมบัติเฉพาะ
การที่จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลก็โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรในบริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นสำคัญ ขณะที่จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ที่ 1 เนื่องจากเชื่อในความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 และเป็นผู้ที่ต้องทำงานให้แก่จำเลยตามสัญญา โจทก์ทั้งสองได้แจ้งประวัติของโจทก์ที่ 2ให้กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยทราบและจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 1 เพราะเชื่อในความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มีการศึกษาระดับ O(โอ) จากวิทยาลัยว่ายานฮ่องกง จี.ซี.อี.มีความรู้ด้านภาษาเซี่ยงไฮ้จีนกลาง กวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ มีประสบการณ์ด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นผู้จัดการโรงแรมอายุน้อยที่สุดของฮ่องกง เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่เคยแจ้งหรืออ้างว่ามีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมเลย ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าการที่จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 1เกิดจากความสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์ที่ 2 ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สัญญาจ้างจึงสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆียะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120(เดิม)(มาตรา 157ที่แก้ไขใหม่) ส่วนการที่โจทก์ที่ 2 ยังมิได้รับอนุญาตจากกรมแรงงานให้ทำงานในประเทศไทย มิใช่คุณสมบัติซึ่งปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจอ้างเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆียะได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาจ้างดังกล่าว และไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองแต่จำเลยต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร หากไม่ได้รับอนุมัติ การประเมินภาษีชอบแล้ว
เดิมโจทก์ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราลดลงจากยอดคงเหลือ ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาจากเดิมโดยหักค่าเสื่อมราคาตามสภาพความเป็นจริง ถือได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาแล้ว เมื่อไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าไม่ยอมออกและไม่ซ่อมแซมอาคาร โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้สัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจะมีผลผูกพันคู่สัญญาโดยไม่จำต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็มีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาที่ตกลงกันเท่านั้น
คดีนี้เป็นเรื่องการเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดและต่อสัญญากันมาถึงสามครั้งแล้ว และครั้งพิพาทเป็นครั้งที่สี่ ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเช่าเพียงสองปี เมื่อครบกำหนดแล้ว โจทก์ไม่ต่อสัญญาให้อีก จำเลยที่ 1 ไม่ซ่อมแซมอาคารพิพาทในสภาพเรียบร้อยแล้วออกไปจากสถานที่เช่า ย่อมทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติ และที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับอัตราค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 เช่าคลังสินค้าพิพาทอยู่โดยอาศัยสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1มีต่อกัน กรณีไม่จำต้องฟังพยานบุคคลมาสนับสนุนให้ชัดแจ้งเพราะอัตราค่าเช่าตามสัญญาทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันไว้ในขณะทำสัญญาแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งชำระค่าเช่าต่อมาโดยตลอดในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้นเป็นปัญหาที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดแล้วจำเลยผู้เช่าไม่ยอมออกไปจากที่เช่า และโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าเช่าอาคารคลังสินค้าพิพาทตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองอยู่ซึ่งศาลกำหนดให้แล้วดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้พื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าวางตู้สินค้าเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกัน จึงไม่กำหนดให้อีก
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีโรงเรือนแทนโจทก์ ระหว่างจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองคลังสินค้าโจทก์มาโดยตลอด ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นบังคับคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้เป็นเรื่องการเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดและต่อสัญญากันมาถึงสามครั้งแล้ว และครั้งพิพาทเป็นครั้งที่สี่ ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเช่าเพียงสองปี เมื่อครบกำหนดแล้ว โจทก์ไม่ต่อสัญญาให้อีก จำเลยที่ 1 ไม่ซ่อมแซมอาคารพิพาทในสภาพเรียบร้อยแล้วออกไปจากสถานที่เช่า ย่อมทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติ และที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับอัตราค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 เช่าคลังสินค้าพิพาทอยู่โดยอาศัยสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1มีต่อกัน กรณีไม่จำต้องฟังพยานบุคคลมาสนับสนุนให้ชัดแจ้งเพราะอัตราค่าเช่าตามสัญญาทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันไว้ในขณะทำสัญญาแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งชำระค่าเช่าต่อมาโดยตลอดในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้นเป็นปัญหาที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดแล้วจำเลยผู้เช่าไม่ยอมออกไปจากที่เช่า และโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าเช่าอาคารคลังสินค้าพิพาทตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองอยู่ซึ่งศาลกำหนดให้แล้วดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้พื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าวางตู้สินค้าเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกัน จึงไม่กำหนดให้อีก
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีโรงเรือนแทนโจทก์ ระหว่างจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองคลังสินค้าโจทก์มาโดยตลอด ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นบังคับคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกต้องตามกฎหมาย การวางเงินต่อศาลไม่ถือเป็นการชำระหนี้หากเจ้าหนี้ไม่ทราบ
ตามคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินแก่จำเลยจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาล ทั้งตามคำบังคับของศาลออกให้ตามคำขอของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 324 ที่บัญญัติให้ต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงิน โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จึงต้องนำเงินไปชำระแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยการที่โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยโดยนำเงินมาวางศาลจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้รับชำระหนี้จากโจทก์โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และโจทก์ก็มิได้แจ้งการชำระหนี้โดยการนำเงินมาวางศาลให้จำเลยทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลย การที่จำเลยขอบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของโจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาล จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่จำเลยมีอยู่เพื่อขอบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริต จงใจหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใดแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์