พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระ ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้ การวางเงิน ณ ศาลไม่ถือเป็นการชำระหนี้โดยชอบ
ตามคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินแก่จำเลยจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น มิได้พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาล ทั้งตามคำบังคับของศาลออกให้ตามคำขอของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 324 ที่บัญญัติให้ต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจุบันของเจ้าหนี้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงิน โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จึงต้องนำเงินไปชำระแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ณภูมิลำเนาของจำเลย การที่โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยโดยนำเงินมาวางศาล จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้รับชำระหนี้จากโจทก์โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และโจทก์ก็มิได้แจ้งการชำระหนี้โดยการนำเงินมาวางศาลให้จำเลยทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลย การที่จำเลยขอบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของโจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาล จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่จำเลยมีอยู่เพื่อขอบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริต จงใจหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใดแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษา การวางเงินต่อศาลไม่ถือเป็นการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิบังคับคดี
ตามคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินแก่จำเลยจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลทั้งตามคำบังคับของศาลออกให้ตามคำขอของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ใช้เงินไว้ด้วยกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา324ที่บัญญัติให้ต้องชำระณสถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ต้องชำระด้วยเงินโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จึงต้องนำเงินไปชำระแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ณภูมิลำเนาของจำเลยการที่โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยโดยนำเงินมาวางศาลจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้รับชำระหนี้จากโจทก์โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วและโจทก์ก็มิได้แจ้งการชำระหนี้โดยการนำเงินมาวางศาลให้จำเลยทราบทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่จำเลยการที่จำเลยขอบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของโจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาลจึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่จำเลยมีอยู่เพื่อขอบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริตจงใจหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใดแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949-2951/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การกระทำของผู้เช่าวางทรัพย์มิใช่ละเมิดของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำพื้นที่อาคารมาบุญครองเซ็นเตอร์ ของโจทก์บริเวณชั้น1บางส่วนไปให้ม. ส. และป. เช่าโดยไม่มีอำนาจต่อมาโจทก์ทราบเรื่องจึงให้ผู้เช่าทั้งสามรายทำสัญญาเช่ากับโจทก์เป็นเหตุให้ผู้เช่าทั้งสามรายไม่อาจหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิให้เช่าที่แท้จริงจึงไม่นำเงินค่าเช่ามาชำระแก่โจทก์แต่นำไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีภายใต้เงื่อนไขว่าเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริงตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดโจทก์ติดต่อขอรับเงินแล้วแต่ไม่สามารถรับเงินได้การที่โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าเช่านี้เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยไม่มีสิทธิให้เช่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าเช่าที่ผู้เช่าทั้งสามรายวางไว้นั้นเกิดจากการที่ผู้เช่าทั้งสามรายทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วไม่ชำระค่าเช่าแต่กลับนำเงินค่าเช่าไปวางณสำนักงานวางทรัพย์กลางโดยวางเงื่อนไขว่าจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริงตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดเป็นการกระทำของผู้เช่าทั้งสามรายไม่ใช่การกระทำของจำเลยการที่โจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าเช่าได้ก็เพราะมีเงื่อนไขดังกล่าวที่ผู้เช่าทั้งสามรายกำหนดไว้มิใช่เพราะว่าจำเลยไปคัดค้านการขอรับเงินของโจทก์แต่อย่างใดทั้งจำเลยได้ทำสัญญากับผู้เช่าทั้งสามรายมาก่อนการวางทรัพย์จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์รับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์กลางไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดทางอาญา: การรับเอกสารจากผู้กระทำผิดโดยไม่มีเจตนาช่วยเหลือ
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ดึงใบสมัครงานทั้งสองฉบับไปจากมือของผู้เสียหายเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยจำเลยที่ 1 กระทำลงไปตามลำพัง จำเลยที่ 2มิได้สมคบร่วมรู้เห็นมาก่อน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะเห็นการโต้ตอบระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 และเห็นจำเลยที่ 1 แย่งเอกสารจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ โดยมีพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาณ 20 คน ยืนล้อมผู้เสียหายอยู่และจำเลยที่ 2 ยอมรับเอกสารดังกล่าวมาเก็บรักษาไว้ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผลของการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 มิได้มีการกระทำการใด ๆ ที่ส่อแสดงว่ามีการยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 1 หรือร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำต่อผู้เสียหาย ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีหน้าที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลร้ายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 เพียงแต่รับเอกสารจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างมาเก็บรักษาไว้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพนันสลากกินรวบ: การพิเคราะห์พยานหลักฐาน, ความร่วมมือ, และการลงโทษ
แม้โพยสลากกินรวบเป็นภาพถ่ายจากเครื่องถ่ายเอกสารไม่ใช่ต้นฉบับ แต่ภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวเป็นบันทึกความจำเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบมีจำนวนถึง656 แผ่นและมีลักษณะเหมือนเป็นโพยสลากกินรวบที่คนเดินโพยหรือเจ้ามือเป็นผู้ทำเพื่อส่งต่อให้เจ้ามือเหนือขึ้นไปอีกทอดหนึ่งจึงต้องถ่ายสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน แม้จะรับฟังเป็นพยานเอกสารไม่ได้ แต่ก็ฟังได้ว่าเป็นพยานวัตถุเกี่ยวแก่การเล่นการพนัน แม้โพยสลากกินรวบจะลงวันที่ 20 มีนาคม 2537 โดยไม่มีฉบับใดลงวันที่ 1 เมษายน2537 ก็ตาม แต่การเล่นการพนันสลากกินรวบครั้งเกิดเหตุนี้เจ้ามือผู้รับกินรับใช้ถือเอาผลการออกสลากกินแบ่งของรัฐบาลประจำงวดวันที่ 1 เมษายน 2537 เป็นเลขถูกสลากกินรวบและลูกค้าผู้เข้าเล่นจะได้รับสินพนัน ดังนั้น การที่มีผู้แทงหรือผู้เข้าเล่นล่วงหน้าเป็นเวลาสิบวันจึงเป็นเรื่องปกติวิสัยหาเป็นเรื่องน่าระแวงสงสัยแต่อย่างใด
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 ก็เปิดร้านเสริมสวยซึ่งเป็นธุรกิจของตนเองอยู่คนละชั้นกับจำเลยที่ 3 แยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขณะถูกจับอยู่อาคารเดียวกันแต่คนละชั้นกันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ถูกจับในที่เกิดเหตุไม่ได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3
แม้จำเลยที่ 3 จะฎีกาว่าการเล่นการพนันสลากกินรวบ จะต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ประกอบด้วยผู้เข้าเล่นกับเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เดินโพย จึงจะถือว่าเป็นการเล่นการพนันสลากกินรวบได้ และในการจับโพยสลากกินรวบได้ที่จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีบุคคลที่จะเป็นผู้เข้าเล่นด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า ส่วนพวกที่หลบหนีเป็นผู้เข้าร่วมเล่น แสดงว่าผู้จัดให้มีการเล่นและผู้เข้าเล่นอยู่ห่างกันโดยระยะทาง จึงไม่สามารถจับกุมได้ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
แม้จำเลยที่ 3 มีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าสำนักและเจ้ามือสลากกินรวบ ยอดจำนวนเงินที่ปรากฏในการเล่นสลากกินรวบมีจำนวนมากถึง 4,801,152 บาท แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้ามือรายใหญ่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง อีกทั้งการพนันสลากกินรวบเป็นสิ่งมอมเมาและเป็นอบายมุขที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของบ้านเมือง การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษ
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นภริยาจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 ก็เปิดร้านเสริมสวยซึ่งเป็นธุรกิจของตนเองอยู่คนละชั้นกับจำเลยที่ 3 แยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขณะถูกจับอยู่อาคารเดียวกันแต่คนละชั้นกันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ถูกจับในที่เกิดเหตุไม่ได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3
แม้จำเลยที่ 3 จะฎีกาว่าการเล่นการพนันสลากกินรวบ จะต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ประกอบด้วยผู้เข้าเล่นกับเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เดินโพย จึงจะถือว่าเป็นการเล่นการพนันสลากกินรวบได้ และในการจับโพยสลากกินรวบได้ที่จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีบุคคลที่จะเป็นผู้เข้าเล่นด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า ส่วนพวกที่หลบหนีเป็นผู้เข้าร่วมเล่น แสดงว่าผู้จัดให้มีการเล่นและผู้เข้าเล่นอยู่ห่างกันโดยระยะทาง จึงไม่สามารถจับกุมได้ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
แม้จำเลยที่ 3 มีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าสำนักและเจ้ามือสลากกินรวบ ยอดจำนวนเงินที่ปรากฏในการเล่นสลากกินรวบมีจำนวนมากถึง 4,801,152 บาท แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้ามือรายใหญ่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง อีกทั้งการพนันสลากกินรวบเป็นสิ่งมอมเมาและเป็นอบายมุขที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของบ้านเมือง การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความสุจริตของผู้เสียภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89 (4)แห่ง ป.รัษฎากร ขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การเฉลี่ยภาษีซื้อ และอำนาจศาลในการงดเบี้ยปรับ
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2535เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ที่ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นสำนักงานของโจทก์ส่วนที่เหลือจะให้เช่าเป็นสำนักงานซึ่งขอคืนภาษีซื้อไม่ได้เนื่องจากกิจการให้เช่าอาคารได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่จะใช้เป็นสำนักงานนั้นขอคืนภาษีซื้อได้แต่จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อโดยปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่29)เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา82/6แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่9มีนาคม2535คือแจ้งจำนวนพื้นที่ที่จะใช้เป็นอาคารสำนักงานให้จำเลยที่1ทราบแต่โจทก์ก็ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่1ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อสำหรับใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้จึงแสดงจำนวนภาษีซื้อเกินไปเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์ได้ตามมาตรา 89(4)แห่งประมวลรัษฎากรแต่เนื่องจากภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนเป็นภาษีซื้อของเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวก็เพิ่งจะประกาศในวันที่9มีนาคม2535หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อไปแล้วทั้งเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยวงอนจึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด ศาลมีอำนาจงดหรือลดเบี้ยปรับได้เพราะเมื่อบทบัญญัติมาตรา30(2)แห่งประมวลรัษฎากรให้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลย่อมมีอำนาจในการพิจารณาว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความเชื่อโดยสุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าวจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากรขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มกล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตามแต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้วอีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่า ศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีสัญญาเช่า และจำเลยต้องรับผิดชอบการรอนสิทธิ
ภาระจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิโดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญา หากปฏัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า
โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมกัเจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย.จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภาระจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญา หากปฏัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า
โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมกัเจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย.จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภาระจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมของผู้ซื้อที่ดิน แม้มีผู้เช่าเดิม การรอนสิทธิโดยบริวารเจ้าของที่ดิน ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องได้
ภารจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิ์โดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่าผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญาหากปฏิบัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมก็เจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่แม้ย. จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อนก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด10ปีนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภารจำยอมและเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภารจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภารจำยอมภารจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่