พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถา ต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาเดียวกัน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้โดยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่งหรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่อีกกรณีหนึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องยื่นคำร้องเสียภายในกำหนด15วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกันแต่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่เมื่อพ้นกำหนด15วันแล้วจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นในปัญหาว่าโจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นภายใน8วันจึงหมดสิทธิคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลยกคำร้องอนาถา: กำหนดเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับการชำระค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้คือนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระเสียภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่งหรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่อีกกรณีหนึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังแม้กฎหมายมาตราดังกล่าวนี้จะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ยื่นคำร้องไว้แต่เมื่อการใช้สิทธิดำเนินการในกรณีแรกคือนำเงิน ค่าธรรมเนียมมาชำระต้องนำมาชำระภายใน15วันตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังนี้การใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องดำเนินการเสียภายใน15วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกันจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนด15วันศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเพื่ออุทธรณ์หลังศาลยกคำร้องขอเป็นคนอนาถา ต้องยื่นภายใน 15 วัน แม้กฎหมายไม่ได้กำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของตนได้โดยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่ง หรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสี่ อีกกรณีหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังก็ต้องยื่นคำร้องเสียภายในกำหนด 15 วันเช่นเดียวกันเพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเหมือนกัน แต่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ เมื่อพ้นกำหนด15 วัน แล้วจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นในปัญหาว่าโจทก์ไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน จึงหมดสิทธิคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระผูกพันตามสัญญาภารจำยอม, การโอนสิทธิและหน้าที่, การประพฤติผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้รับโอน
จำเลยที่1ได้แบ่งแยกที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ออกเป็น5แปลงแล้วยกให้จำเลยที่2ถึงที่4ทางภารจำยอมบนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ของโจทก์ยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนของที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง5แปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1395 จำเลยที่1โอนที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่2ถึงที่4ไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับจำเลยที่1ให้เพิกถอนสัญญาภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์แถลงว่าจำเลยที่4ไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมกรณีไม่มีข้อโต้แย้งกันจึงไม่มีข้อพิพาทที่โจทก์จะบังคับจำเลยที่4ตามฟ้องได้ การจดทะเบียนภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มีข้อตกลงและเงื่อนไขว่าเจ้าของสามยทรัพย์จะนำเอาทางภารจำยอมไปให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้เด็ดขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์และหากมีการเปิดทางภารจำยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยบรรดาผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่างๆยินยอมให้ตกได้แก่เจ้าของภารยทรัพย์แต่ผู้เดียวข้อตกลงดังกล่าวแสดงถึงเจตนาของโจทก์เจ้าของภารยทรัพย์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์อย่างชัดเจนคู่สัญญาย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติย่อมเป็นการประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิเมื่อจำเลยที่2และที่3ต่างได้รับการยกให้ที่ดินสามยทรัพย์มาจากจำเลยที่1จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่คือต้องปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาภารจำยอมโดยจะนำที่ดินสามยทรัพย์ของตนไปเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นมาร่วมใช้ไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากโจทก์เมื่อจำเลยที่2นำที่ดินสามยทรัพย์ที่คงเหลือจากการแบ่งแยกไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นอีก4แปลงผ่านแล้วมาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ได้เปิดทางให้บุคคลอื่นที่มีบ้านในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมในที่ดินโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะการกระทำของจำเลยที่2และที่3เป็นการประพฤติผิดสัญญาและเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมได้เพราะที่ดินของจำเลยที่2และที่3เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์ในทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์ ฎีกาของจำเลยที่2และที่3ที่ว่าได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความตามฟ้องแย้งนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องแย้งโดยฟังว่าจำเลยที่2และที่3ไม่ได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความจำเลยที่2และที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์และยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจำกัดเฉพาะที่ดินสามยทรัพย์ การโอนสิทธิและหน้าที่เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนภารจำยอมโดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของสามยทรัพย์จะเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์ และย่อมถือว่าประพฤติผิดสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการให้ที่ดินสามยทรัพย์จากจำเลยที่ 1 ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินที่รับให้ไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นผ่านที่ดินแปลงนี้มาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ได้เปิดทางให้ผู้อื่นซึ่งมีบ้านอยู่ในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะด้วย เป็นการประพฤติผิดสัญญาและ เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์ โจทก์ขอให้เพิกถอน การจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกำหนดเขตป่าสงวน, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, และการไม่วินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติรายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณาคำให้การของจำเลยจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226 โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ส่วนโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค3แต่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใดฎีกาของโจทก์ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาทรัพย์สินต่ำ
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ รายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณา คำให้การจำเลยจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญากู้ยืมที่มีการค้ำประกันเมื่อลูกหนี้โยกย้ายไปบริษัทในเครือ
ตามสัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ข้าพเจ้า (จำเลย) ขอทำสัญญาค้ำประกัน ว.ไว้ต่อบริษัท น. มีข้อความดังต่อไปนี้ ข้อ 5 " ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับคำสั่งให้โยกย้ายไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่น ซึ่งต่างนิติบุคคลกับบริษัท น.แต่เป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม ที.ซี.ซี.ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี." หมายความว่าจำเลยยอมผูกพันตนชำระหนี้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ อันเกิดจากการกระทำของ ว.ในขณะปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของบริษัท น.หรือบริษัทในกลุ่ม ที.ซี.ซี.
เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ ว.ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัท น. แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ดังนั้นเมื่อ ว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ ว.ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัท น. แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ดังนั้นเมื่อ ว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันขยายผลถึงบริษัทในเครือ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันมีใจความว่าข้าพเจ้า(จำเลย)ขอทำสัญญาค้ำประกันว. ไว้ต่อบริษัทน. มีข้อความดังต่อไปนี้ข้อ5"ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับคำสั่งให้โยกย้ายไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่นซึ่งต่างนิติบุคคลกับบริษัทน. แต่เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มที.ซี.ซี.ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานอยู่ณที่ใดก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี."หมายความว่าจำเลยยอมผูกพันตนชำระหนี้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆอันเกิดจากการกระทำของว.ในขณะปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของบริษัทน. หรือบริษัทในกลุ่มที.ซี.ซี. เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ว. ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัทน.แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่มที.ซี.ซี.ดังนั้นเมื่อว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิทธิของเจ้าของที่ดิน/ผู้เช่าในการฟ้องขับไล่
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่ดิน มีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาให้ใช้ประโยชน์ที่ดินแก่จำเลยแล้ว สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงจำเลยย่อมอ้างไม่ได้ว่ามีสิทธิครอบครองที่ดินอยู่เมื่อโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าหลังจากสัญญาดังกล่าวระงับไปแล้ว ต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพัง แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาเช่าที่โจทก์กับโจทก์ร่วมมีต่อกัน โจทก์จึงชอบที่จะขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้เป็นคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477,549 และเมื่อศาลได้เรียกเจ้าของที่ดินเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้