คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เหล็ก ไทรวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ปัญหาความเคลือบคลุมและการจำกัดสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษจำคุกและโทษปรับ: พิจารณาจากพฤติการณ์ความผิด, ประวัติผู้กระทำผิด, และผลกระทบของโทษ
จำเลยที่ 1 เพียงแต่มีเครื่องวิทยุโทรคมนาคมโดยไม่ได้ รับอนุญาตให้มีและใช้จากทางราชการเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเครื่องวิทยุโทรคมนาคมของกลางเป็นเครื่องที่สามารถ ดักฟังข่าวสารราชการที่เป็นความลับของชาติได้ ประกอบกับ จำเลยที่ 1 ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันสมควร รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกไว้ แต่ลงโทษปรับ เพิ่มขึ้นอีกสถานหนึ่งด้วย มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังไม่ต้องรับโทษจำคุก โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเบากว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ และผลของการไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมิน เท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึง เสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อ จำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์: ศุลกากรมีสิทธิประเมินราคาสินค้าใหม่ได้หากพบราคาต่ำกว่าตลาด
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึงเสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อจำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรใหม่ได้ แม้มีการอุทธรณ์ก่อนหน้า หากพบราคาสินค้าไม่ถูกต้อง
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม ไม่ได้บัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอน การประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ ตามบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคแรก และวรรคสาม แสดงว่า ภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าจำเลยสำแดงรายการสินค้า ไม่ถูกต้องก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริง ในท้องตลาดได้ การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด ส่วนภาษีการค้าและภาษีเทศบาลที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและการลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากร โดยคำนึงถึงวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตาม อัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก)(ข)และ(ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติ ว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลา ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้นเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539 เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบ แสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสอง จำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยขอ ให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการ ลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พฤติการณ์ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นหลักประกัน
การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินทั้งเข้าร่วม ลงชื่อเป็นพยานยิ่งกว่าผู้เป็นนายหน้าหาเงินกู้ทั่วไปจะ พึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่า น.ส.3 ก. ที่อ. นำมาให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นเอกสารปลอม และนอกจากการกู้ยืมเงิน รายนี้แล้วบุคคลที่จำเลยพามากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายล้วนแต่ ใช้ น.ส.3 ก. ปลอมวางเป็นหลักประกันทั้งสิ้น ทั้งเมื่อ ผู้เสียหายมอบเงินให้แล้ว จำเลยน. และอ. ช่วยกันนับเงินและแบ่งใส่กระเป๋าแต่ละคนแล้วพูดกันว่ายืมเงินกันใช้ก่อน ครั้นเมื่อ อ. ไม่ชำระเงินคืน ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ช่วยติดต่อจำเลยบอกว่าอย่าเพิ่งแจ้งความจะนำเงินมาชำระให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กัน ทำโดยนำ น.ส.3 ก. ปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้และแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายไปพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และใช้เอกสารสิทธิอันเป็น เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องอาศัยเสียงข้างมากในการดำเนินการบังคับคดี
โจทก์ทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากตึกแถวพิพาทจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายชนะคดีและได้มีการบังคับคดีในเวลาต่อมา โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ กรณีเป็นเรื่องมีผู้จัดการมรดกหลายคน โจทก์ทั้งสามแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2คัดค้านคำร้อง ของ โจทก์ที่ 3 ที่ขอให้งดการบังคับคดีกรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 โจทก์ที่ 3 ไม่อาจกระทำได้โดยลำพัง
of 31