พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้นและพฤติการณ์ที่ไม่สมควรรอการลงโทษ
พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่า จำเลยปีนกำแพงด้านหลังบ้านขึ้นไปบนชั้นที่สองของบ้าน งัดกลอนประตูจนหลุดเป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือ ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)(4)(8)แม้ทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปมีราคาไม่มากนักแต่จำเลยทำในเวลากลางวันโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ที่จำเลยฎีกา ขอให้รอการลงโทษเพราะจำเลยมีฐานะมั่นคง ความประพฤติเรียบร้อย มีอาชีพที่แน่นอน มีภาระต้องเลี้ยงดูภริยาและบุตรนั้น ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แพทย์ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดเสริมหน้าอก ทำให้ผู้ป่วยต้องผ่าตัดแก้ไขซ้ำหลายครั้ง และเกิดความเครียดทางจิตใจ แพทย์ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็นผู้ชำนาญพิเศษ ในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงตามสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลีนิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่น ทำการรักษาต่อโดยเดิมจำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกในวันที่ 12 เมษายน 2537 รักษาตัว ที่โรงพยาบาล 1 วัน วันที่ 13 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2 อนุญาตให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 15 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2 เปิดแผลพบมีน้ำเหลืองไหลบริเวณปากแผลทรวงอกไม่มีร่องอก มีก้อนเนื้ออยู่บริเวณ รักแร้ด้านขวา เต้านมด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าด้านขวา และส่วนที่เป็นหัวนมจะมีบาดแผลที่คล้ายเกิดจากการถูกไฟไหม้ จำเลยที่ 2 รับว่าเกิดจากการผิดพลาดในการผ่าตัดแล้วแจ้งว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ จำเลยที่ 2นัดให้โจทก์ไปทำแผลดูดน้ำเหลืองออกจากบริเวณทรวงอก และได้มีการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกอีก 3 ครั้งแต่โจทก์เห็นว่าทรวงอกไม่มีสภาพดีขึ้น ประกอบกับระยะเวลาล่วงเลยมานานจึงเปลี่ยนแพทย์ใหม่ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม การที่แพทย์ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่องต้องแก้ไขยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลาและกรรมวิธีในการดำเนินการรักษาจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์ จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์มีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผลทำให้โจทก์เครียดมากกังวลและนอนไม่หลับรุนแรงกว่าก่อนผ่าตัด โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัด จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกตแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์ จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์มีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผลทำให้โจทก์เครียดมากกังวลและนอนไม่หลับรุนแรงกว่าก่อนผ่าตัด โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัด จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกตแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทางการแพทย์: ความประมาทเลินเล่อของแพทย์, ค่าเสียหาย, และอายุความ
จำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำการผ่าตัดแก้ไขที่คลินิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึง ให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทำการรักษาโจทก์ต่อจากจำเลยที่ 2 จะไม่สามารถ นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัด และรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ ผ่าตัด จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่ นายแพทย์ ด. ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมา มีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไขและแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ติดต่อรักษากับจำเลยที่ 2 ที่คลินิกและตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลจำเลยที่ 1โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทให้จำเลยที่ 1 จำนวน 30,000 บาท ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นนายจ้างหรือตัวการที่ต้องร่วมรับผิด ในส่วนของค่าเสียหายนอกจากส่วนที่มีใบเสร็จแม้โจทก์จะมีอาการเครียด อยู่ก่อนได้รับการผ่าตัดจาก จำเลยที่ 2 แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียด ของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิด และแม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินไปเป็นจำนวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ ต้องรักษาจริง ศาลเห็นสมควรกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ สำหรับค่าเสียหายอื่นนั้นเมื่อปรากฏว่าหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึง ไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อื่นอันมิใช่ตัวเงิน เหตุละเมิดเกิดวันที่ 12 เมษายน 2537 ต้องฟ้อง ภายใน 1 ปี ครบกำหนดตรงกับวันหยุดสงกรานต์วันที่ 12 ถึง 14 เมษายน วันที่ 15 และ 16 เมษายน 2538 เป็นวันเสาร์อาทิตย์ ราชการหยุดทำการ โจทก์ยื่นฟ้อง วันเปิดทำการวันที่ 17 เมษายน 2537 ได้ คดีไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์และการชดใช้ค่าเสียหายจากการผ่าตัดศัลยกรรม
จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็นผู้ชำนาญพิเศษในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงมีสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลีนิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ โดยเดิมจำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกในวันที่12 เมษายน 2537 รักษาตัวที่โรงพยาบาล 1 วัน วันที่ 13 เมษายน 2537จำเลยที่ 2 อนุญาตให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 15 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2เปิดแผลพบมีน้ำเหลืองไหลบริเวณปากแผลทรวงอกไม่มีร่องอก มีก้อนเนื้ออยู่บริเวณรักแร้ด้านขวา เต้านมด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าด้านขวา และส่วนที่เป็นหัวนมจะมีบาดแผลที่คล้ายเกิดจากการถูกไฟไหม้ จำเลยที่ 2 รับว่าเกิดจากการผิดพลาดในการผ่าตัดแล้วแจ้งว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ จำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำแผลดูดน้ำเหลืองออกจากบริเวณทรวงอก และได้มีการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกอีก 3 ครั้งแต่โจทก์เห็นว่าทรวงอกไม่มีสภาพดีขึ้น ประกอบกับระยะเวลาล่วงเลยมานานจึงเปลี่ยนแพทย์ใหม่ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม แม้พยานโจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่การที่แพทย์ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่อง แก้ไข ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด โจทก์มีตัวโจทก์และนายเพียงเทพ พงศะบุตรเบิกความว่า โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทและจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 29,826 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 และค่ารักษาตัวที่โรงพยาบาลปิยะเวท 73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1และค่ารักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช 52,927 บาท ตามเอกสารหมาย จ.13 รวมค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ทั้งสิ้นหลังจากเลิกรักษากับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 400,000บาทเศษ เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ที่โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นเงิน 29,826บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นเงิน73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 และค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสมิติเวช 33,624 บาท ตามเอกสารหมาย จ.2 และ 52,927 บาท ตาม จ.13โจทก์มีหลักฐานมาแสดง มีน้ำหนักรับฟังได้ เชื่อว่าโจทก์จ่ายไปจริง ส่วนค่าผ่าตัดของจำเลยที่ 2 แม้จะไม่มี ภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้วมีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผล ทำให้โจทก์เครียดมาก กังวลและนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าก่อนผ่าตัดพยานจึงทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก.
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด โจทก์มีตัวโจทก์และนายเพียงเทพ พงศะบุตรเบิกความว่า โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทและจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 29,826 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 และค่ารักษาตัวที่โรงพยาบาลปิยะเวท 73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1และค่ารักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช 52,927 บาท ตามเอกสารหมาย จ.13 รวมค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ทั้งสิ้นหลังจากเลิกรักษากับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 400,000บาทเศษ เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ที่โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นเงิน 29,826บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นเงิน73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 และค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสมิติเวช 33,624 บาท ตามเอกสารหมาย จ.2 และ 52,927 บาท ตาม จ.13โจทก์มีหลักฐานมาแสดง มีน้ำหนักรับฟังได้ เชื่อว่าโจทก์จ่ายไปจริง ส่วนค่าผ่าตัดของจำเลยที่ 2 แม้จะไม่มี ภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้วมีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผล ทำให้โจทก์เครียดมาก กังวลและนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าก่อนผ่าตัดพยานจึงทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีวัตถุออกฤทธิ์: ต้องมีคำพิพากษาลงโทษก่อนจึงจะริบได้ แต่การมีวัตถุไว้ในครอบครองเองก็เป็นความผิดที่ต้องริบ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 ฉะนั้น เมื่อศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาตามมาตรา 89 แล้ว กรณีจึงไม่อาจริบของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามบทบัญญัติ ดังกล่าวได้ แต่การมีวัตถุออกฤทธิ์ของกลางไว้ในครอบครองเป็นความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงริบของกลาง ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นไม้: การส่งมอบงาน, การชำระเงิน, และขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ข้อ 10 ความว่าการส่งมอบงานตามสัญญานี้ให้หมายถึงการส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และถูกต้องสมบูรณ์เป็นช่วง ช่วงละ 50 ต้น และข้อ 16 ความว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังต่อไปนี้ (16.1) ชำระราคา ต่อเมื่อผู้รับจ้างได้ทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจนแล้วเสร็จและ ส่งมอบในแต่ละช่วง ช่วงละ 50 ต้น (16.2) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้างจะทำการจ่ายภายหลัง 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วง (16.3) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้าง จะทำการจ่ายเมื่อครบกำหนดการรับประกันโดยไม่มีข้อชำรุด บกพร่องในงานแต่ละช่วงตามสัญญา ดังนั้น การที่จำเลย จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้โจทก์ตามสัญญา แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบ งานตามสัญญาที่แล้วเสร็จและถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงานแล้วเสร็จในแต่ละช่วงตามสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามข้อ 16.2 จำเลยแจ้งความเสียหาย ให้โจทก์แก้ไขเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536 โจทก์ยอมรับว่า มีความชำรุดบกพร่องจริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 แสดงว่า นับแต่จำเลยแจ้งความชำรุดบกพร่องครั้งแรกจนถึงวันตรวจสอบ ครั้งหลังเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่ง น่าเชื่อว่าโจทก์ปรับปรุง แก้ไขนานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ส่งมอบงาน ที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยเมื่อใด แต่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้าง งวดแรกแก่โจทก์ครบถ้วน ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือ ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน และส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 กำหนดเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุด บกพร่องของต้นปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานในแต่ละช่วง จึงมีกำหนดถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 จำเลยแจ้ง ให้โจทก์ทราบว่าต้นปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก ให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมซึ่งเป็นเวลาหลังจากการรับประกัน ความชำรุดบกพร่องของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่โจทก์รับประกัน ความชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดแก้ไขซ่อมแซม ที่กรรมการโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีต้นปาล์มน้ำมันเสียหาย 12 ต้น ก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าความเสียหายเกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุดบกพร่องจำเลยจึง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ค่าจ้างตามสัญญาข้อ 16.3 เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศาลยืนตามเดิมให้ปรับเฉพาะมาตรา 89(7) แม้จะมีความผิดตามมาตรา 89(4) ด้วย
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากใบกำกับภาษีปลอม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลงโทษตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว และขอบเขตของคำสั่งกรมสรรพากร
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89(4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) อีกด้วยไม่
ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตรา จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว
ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตรา จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อซ่อมแซมอาคาร – จำเลยฎีกาเรื่องวิธีซ่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และก่อสร้างผิดแบบ แต่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นต้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 ให้สิทธิเจ้าของที่ดินใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในการปลูกสร้างหรือซ่อมแซมโรงเรือนตรงหรือใกล้แนวเขตของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยผู้ครอบครองที่ดิน ที่ติดต่อทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ย่อมใช้ที่ดิน ติดต่อที่จำเลยครอบครองอยู่ในการตั้งนั่งร้านเพียงเพื่อจำเป็นเพื่อให้ช่างปืนขึ้นไปซ่อมแซมรอยร้าวของผนังตึกอาคาร ของโจทก์มีรอยร้าวแตกรั่วซึมได้ แม้การแก้ไขนั้น โจทก์ต้องทุบผนัง อาคารดังกล่าวและทำการก่อผนังอาคารใหม่ และแม้การที่โจทก์ ขอเข้ามาตั้งนั่งร้านเพื่อจะฉาบผนังที่มีรอยร้าวจะเป็นการแก้ไข ไม่ถูกวิธีก็ตาม เพราะการจะซ่อมวิธีใดเป็นดุลพินิจของโจทก์ ที่จำเลยฎีกาว่า การก่อสร้างอาคารของโจทก์เป็นการ ก่อสร้าง อาคารผิดแบบแปลนที่ยื่นขออนุญาตไว้ต่อทางราชการ การที่โจทก์มาฟ้องขอเข้าดำเนินการซ่อมแซมอาคารที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติต่อกฎหมายนั้นข้ออ้าง ดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากัน มาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย