พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงค่าเช่า และสิทธิเรียกร้องเงินคืน
การเช่าที่ดินเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อสัญญาเช่าที่ดินมีข้อความระบุว่า ผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2535ถึงเดือนสิงหาคม 2536 เดือนละ 8,000 บาท เป็นค่าเช่าที่แท้จริง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคแรก เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การ ของจำเลยรับกันว่า สัญญาเช่ารายนี้กำหนดค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท จำเลยชำระให้โจทก์เกินจากค่าเช่าตามสัญญา ซึ่งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าเงินที่จำเลยชำระเกินเป็นเงินค่ากินเปล่าล่วงหน้าแล้ว จึงต้องถือว่า จำเลยชำระเงิน ให้แก่โจทก์เช่นนั้นเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งเพื่อ ชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยจึงไม่มีสิทธิ ที่จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน การครอบครองทรัพย์ และความรับผิดในกรณีทรัพย์สินสูญหาย
การฟ้องใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน จากบุคคลที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือ ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 นั้น ต้องได้ความว่าทรัพย์สินนั้นยังอยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อทรัพย์พิพาทที่จำเลยทั้งสองได้รับมอบมาเพื่อใช้ในการถ่ายทอดสดรายการต่าง ๆ ได้สูญหายไปโดย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์พิพาทไปเป็นของตน หรือของบุคคลอื่นโดยมิชอบ แสดงว่าทรัพย์พิพาทไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยทั้งสองได้ ทั้งการที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคานั้นก็ปรากฏว่าโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชำระค่าไฟฟ้าค้างชำระจากเครื่องวัดชำรุด และอายุความของการเรียกร้องหนี้ค่าสาธารณูปโภค
ส. เป็นผู้ขอใช้ไฟฟ้าระบุสถานที่ใช้ไฟฟ้าคือบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท พ.จำเลยที่2เมื่อส. ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า จาก ส. มาเป็นชื่อจำเลยที่ 1 เมื่อบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นทั้งที่อยู่ของจำเลยที่ 1 และที่ทำการของจำเลยที่ 2 จึงต้อง ถือว่าจำเลยทั้งสองใช้ไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าดังกล่าวร่วมกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าไฟฟ้าแก่โจทก์ เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าอยู่นอกอาคารของจำเลยที่ 2 และ การที่เครื่องวัดหน่วยคลาดเคลื่อนมิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสอง ทั้งเครื่องวัดที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยไฟฟ้าก็ไม่สามารถแสดงค่าจำนวนหน่วยคลาดเคลื่อนว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด การที่โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าย้อนหลังโดยดูจากประวัติการใช้กระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ในเดือน มกราคม 2531 ซึ่งเป็นเดือนที่มียอดต่ำสุดมาเป็นเกณฑ์คาดคะเน ว่าเครื่องวัดหน่วยคลาดเคลื่อนตั้งแต่เดือนนั้นเป็นต้นไปเป็น หลักการคาดคะเนที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่าเครื่องวัด หน่วยคลาดเคลื่อนตั้งแต่เดือนดังกล่าว แต่เมื่อวันที่22 ตุลาคม 2531 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ตั้งไว้สายควบคุมเส้นสีแดงต่อเข้าหม้อแปลงหลวงไฟฟ้าลัดวงจร จึงถือว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุดตั้งแต่วันที่ไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2531 เป็นต้นไป กิจการของโจทก์เป็นกิจการสาธารณูปโภค และการฟ้องเรียก ค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยทั้งสองเป็นการเรียกหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวันหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าขาดตกบกพร่อง ไป เมื่อคำนวณใหม่ให้ถูกต้องแล้วเรียกค่าใช้กระแสไฟฟ้า เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด อายุความส่วนนี้มิได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงให้ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งเป็นกฎหมาย สารบัญญัติที่ใช้ขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท คดีค้ามนุษย์ การลงโทษบทหนักสุด
การที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นและความผิดฐานพาเด็กหญิงไปจากประเทศสยามเพื่อการรับจ้างให้เข้าทำเมถุนกรรมนั้น เป็นการกระทำไปโดยมีเจตนา อย่างเดียวคือพาผู้เสียหายไปขายบริการทางเพศที่ประเทศ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการพาออกไปจากประเทศสยาม ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทและกรณี เป็นเหตุในลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพจำเลย และการสันนิษฐานการร้องทุกข์โดยชอบ
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์คดีอาญา: การรับสารภาพของจำเลยทำให้สันนิษฐานว่ามีการร้องทุกข์โดยชอบ
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมายชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจาก โทษในคดีอาญาอื่นอีก 3 คดี รวมแล้วมีโทษจำคุก 70 ปี 22 เดือน จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกรวมโทษ ทั้ง 4 คดีแล้วไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 3 ฎีกาโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างอิง ข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกา ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง, 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่ออุทธรณ์ของกรรมการบริษัทที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้กรรมการซึ่ง ลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้คือ น. หรือป.ลงลายมือชื่อร่วมกับล. หรือช. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลย กรรมการที่ลงลายมือชื่อ ในช่องผู้อุทธรณ์คือ น.และป. และประทับสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท จึงไม่มี อำนาจกระทำการผูกพันจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้