คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ ชพานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 950 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการมอบอำนาจขอคืนของกลางในคดีอาญา: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการดำเนินคดีทั้งหมดและมอบอำนาจช่วงได้
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา
ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ นอกจากนี้ในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินการแทนได้ภายในขอบเขตที่ได้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ และปรากฏในหนังสือมอบอำนาจช่วงผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องราวลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืน อันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั่นเอง ถือได้ว่า ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและอาวุธปืน การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์ การแยกความผิดฐานอื่น
เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น โดยจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงถือมิได้ว่าจำเลยที่ 3 มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
หลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้วระหว่างทางได้ใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้เสียหายและร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผู้ข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป และให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หาใช่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังกรรมหนึ่งและทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ไม่ได้ใช้อาวุธปืน ศาลพิจารณาโทษฐานปล้นทรัพย์และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบตามระเบียบพัสดุ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และความเสียหายต่อโจทก์
ร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิพาทโดยตรง อีกทั้งหนังสือพิพาทไม่ใช่หนังสือภาคบังคับตามหลักสูตรของโจทก์ เพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือพิพาทหากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย การจัดซื้อหนังสือพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 แม้การจัดซื้อดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือเวียนที่มีถึงส่วนราชการต่าง ๆ หนังสือดังกล่าวก็มิใช่คำสั่ง แต่เป็นเพียงข้อเสนอแนะชักชวนให้สนับสนุนกิจการด้านสหกรณ์กลาโหม จำกัดเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การที่จำเลยที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขออนุมัติจัดซื้อหนังสือพิพาท จำเลยที่ 9 ในฐานะรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นกรรมการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเป็นการผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ และเป็นการเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ และการพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำผิด
คำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ จะแปลข้อความไปในทางที่เป็นผลร้ายว่า จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ใช้รถจักรยานยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ขัดต่อสิทธิจำเลย แม้มีหนี้ค้างก่อนหน้า สิทธิยึดหน่วงเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระ
แม้จำเลยทั้งสองจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้งแต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้น หนี้ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ก็ยังไม่ถึงกำหนดชำระเนื่องจากโจทก์ให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสองเป็นเวลา 90 วัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์: การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์โดยผู้รับจ้างถือเป็นการผิดสัญญา
แม้จำเลยจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อหนี้ ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 การที่โจทก์ยึดเพลทแม่พิมพ์ไว้ ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่สามารถพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายอยู่ในตัว
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
of 95