คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ ชพานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 950 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การอายัดทรัพย์ และการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์หลังมีคำสั่งอายัด
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้น ครั้งแรก ที่ให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 กับคำสั่งครั้งที่สองที่ให้อายัดเงินที่ จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอบังคับให้ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งศาลมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว และคำสั่งให้อายัดเงินสุทธิที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิ จะได้รับจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว คงมีผลบังคับเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้มีผลบังคับถึง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิที่จะ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา การเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวม 96 แปลง ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามคำร้องขอของโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดิน 96 แปลง
ในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวนั้น ศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีอื่นให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งถูกอายัดชั่วคราวบางแปลงให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวครั้งที่สอง ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับในการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าว ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดชั่วคราว จึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นสั่งอายัดชั่วคราวได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงินจากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการไม่อุทธรณ์ได้: การรอไต่สวนคำร้องคุ้มครองประโยชน์ไม่ถือเป็นการยกคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของจำเลย แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อมาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ยื่นไว้ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนไว้ก่อนเท่านั้น หาได้ มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ จำเลยยื่นไว้อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 ไม่ คำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ถือเป็นการยกคำร้อง ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ทันที
จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของจำเลยทั้งสี่แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของจำเลยทั้งสี่ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นไว้แล้วเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาไว้ก่อนเท่านั้น หาได้มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ที่จำเลยทั้งสี่ได้ยื่นไว้แต่เดิม อันจะทำให้จำเลยทั้งสี่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 แต่อย่างใดไม่ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้มีการโอนที่ดินแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ายังบังคับคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเป็นคำฟ้องที่ต้องบังคับแก่จำเลยโดยตรงได้ เพราะผู้กระทำการละเมิดโจทก์คือจำเลย และเป็นการขอให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะโอนที่ดินแปลงที่บ้านและเล้าไก่ปลูกอยู่ให้ ป. บุตรชายไปก่อนแล้วก็ตาม การบังคับจำเลยให้รื้อถอนเล้าไก่เฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ก็หาได้กระทบกระเทือนสิทธิใด ๆ ของ ป. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ศาลจึงอาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงที่ดินจากการซื้อขายเงินผ่อนและการฟ้องขาดอายุความ
อ. กับ ส. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2510 โดย อ. เข้าครอบครองปลูกบ้านในปี 2510 ต่อมา ส. จะแบ่งแยกที่ดินโอนแก่ อ. แต่การแบ่งแยกมีปัญหาเพราะมีการฟ้องร้องระหว่าง ส. กับเจ้าของเดิม คดีถึงที่สุดในปี 2514 และ ส. ถึงแก่ความตายในปี 2522การที่ ส. ยอมให้ อ. เข้าครอบครองปลูกบ้านจนกระทั่ง อ. ถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองต่อมา โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จะปฏิบัติตามสัญญาโดยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241และมาตรา 193/27 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เมื่อปี 2536 จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินทางจำเป็น ค่าทดแทน และประเด็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยยินยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยซึ่งตกเป็นทางจำเป็น โดยโจทก์ยอมใช้ค่าทดแทนให้ 30,000 บาท จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะวางท่อระบายน้ำผ่าน แต่หากศาลเห็นว่าจะต้องวางท่อระบายน้ำผ่านก็ขอให้โจทก์ใช้เงินค่าทดแทนแก่จำเลย 5,000,000 บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์จะใช้สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352ได้หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าทดแทนอยู่ในตัวเพราะโจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใดจะต้องพิจารณาถึงค่าทดแทนที่โจทก์เสนอด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 50,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการวางท่อระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น กรณีทางจำเป็น ค่าทดแทน และขนาดท่อ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยยินยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยซึ่งตกเป็นทางจำเป็น โดยโจทก์ยอมใช้ค่าทดแทนให้ 30,000 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะวางท่อระบายน้ำผ่าน แต่หากศาลเห็นว่าจะต้องวางท่อระบายน้ำผ่านก็ขอให้โจทก์ใช้เงินค่าทดแทนแก่จำเลย 5,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์จะใช้สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 ได้หรือไม่เพียงใด ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าทดแทนอยู่ในตัว เพราะโจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใดจะต้องพิจารณาถึงค่าทดแทนที่โจทก์เสนอด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 50,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนเกินกำหนดอายุความ 1 ปี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เมื่อจำเลยกระทำผิดในปี 2534แต่ถูกจับและฟ้องในปี 2540 ดังนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้เกินกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8948/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และประเด็นการฟ้องร้องซ้ำเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 28 ตารางวา มิใช่ 31 ตารางวา ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทส่วนที่เกินอีก 3 ตารางวาเป็นของผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินแล้วมีราคา 15,000 บาทจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8ได้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ หรือได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ฎีกาเป็นหนังสือ ฎีกาของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คดีก่อนเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาท และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้คัดค้านซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้องหรือเรียกค่าเสียหายส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทโดยการครอบครอง เพื่อจะนำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการได้ในคดีก่อนดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน การยื่นคำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
of 95