พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด ณ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความล่าช้าในการจ่ายค่าชดเชย
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ทันที กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ก่อนได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การปฏิบัติงานอิสระ, ไม่มีการบังคับบัญชา, และฐานะผู้ถือหุ้น/กรรมการ ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
โจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยตั้งแต่เริ่มแรก โดยเป็นกรรมการมาตลอดและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย เมื่ออายุเกิน 60 ปีก็ไม่ถูกปลดเกษียณไม่ต้องมาทำงานทุกวัน ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทจำเลยกับโจทก์หาได้มีลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้างไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ต้องมาทำงานทุกวันและไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย อันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แม้จะได้รับเงินเดือนจากบริษัทจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเวนคืนกลายเป็นที่สาธารณะ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกแก่ผู้รับโอนต่อๆ กัน
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนกับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแลสถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาทเพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้แก่กันมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออกเป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ. และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ผู้รับโอนต่อ ๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ พ. ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้ต้องฟ้องในศาลเดียวกัน และคำสั่งศาลเป็นที่สุด
แม้คำร้องของจำเลยจะระบุว่าขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่เนื้อหาในคำร้องเป็นการขอให้งดการบังคับคดีเพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน คดีนี้จำเลยฟ้องโจทก์ที่ศาลอื่นจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะหักกลบลบหนี้ได้ และเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวไม่ว่าจะสั่งให้มีผลในทางใด คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างเนื่องจากอายุครบ 60 ปีเข้าข่ายเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2510มาตรา 6,7 และมาตรา 9(1) และ (2) เพียงแต่บัญญัติว่าองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล ได้รับเงินอุดหนุนจากงบเงินอุดหนุนของกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราวแต่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นทั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 8 จำเลยก็ไม่ได้เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยจึงมิได้เป็นราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่จะได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียนพวงมาลัยผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง มิได้ดำเนินการนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของจำเลยการดำเนินกิจการดังกล่าวจึงเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2521 ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2536ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานนั่นเอง การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นการไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง
ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียนพวงมาลัยผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง มิได้ดำเนินการนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของจำเลยการดำเนินกิจการดังกล่าวจึงเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2521 ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2536ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานนั่นเอง การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นการไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากอายุครบ 60 ปี และข้อยกเว้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานสำหรับหน่วยงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ได้รับการยกเว้นมิให้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เท่ากับจำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างได้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลแรงงานกลาง
ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 และมาตรา 9 (1) และ (2) เพียงแต่บัญญัติว่าจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล ได้รับเงินอุดหนุนจากงบเงินอุดหนุนของกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว แต่มิได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 มาตรา 8 จำเลยก็มิได้เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม จำเลยจึงมิได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองกำหนดราคาจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพร เท่าราคาทุน แต่ได้กำไรจากการที่สามารถนำดอกไม้พวงมาลัย ผ้าแพร กลับมาจำหน่ายอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนอกเหนือจากเงินที่มีผู้บริจาค และเงินที่มีผู้บริจาคใส่ตู้รับบริจาคตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณศาลหลักเมืองถือได้ว่ากิจการของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ อุทธรณ์ของจำเลยที่แสดงเหตุผลต่าง ๆ โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 เพื่อการกุศล การดำเนินกิจการของจำเลยเป็นการให้การสงเคราะห์ แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานของจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆ ส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง
แม้จำเลยมีข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 โดยข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างฯ ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานฯ ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่ก็หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 และมาตรา 9 (1) และ (2) เพียงแต่บัญญัติว่าจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล ได้รับเงินอุดหนุนจากงบเงินอุดหนุนของกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว แต่มิได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 มาตรา 8 จำเลยก็มิได้เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม จำเลยจึงมิได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองกำหนดราคาจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพร เท่าราคาทุน แต่ได้กำไรจากการที่สามารถนำดอกไม้พวงมาลัย ผ้าแพร กลับมาจำหน่ายอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนอกเหนือจากเงินที่มีผู้บริจาค และเงินที่มีผู้บริจาคใส่ตู้รับบริจาคตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณศาลหลักเมืองถือได้ว่ากิจการของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ อุทธรณ์ของจำเลยที่แสดงเหตุผลต่าง ๆ โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 เพื่อการกุศล การดำเนินกิจการของจำเลยเป็นการให้การสงเคราะห์ แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานของจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆ ส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง
แม้จำเลยมีข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 โดยข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างฯ ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานฯ ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่ก็หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการปรับลดเบี้ยปรับ: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิในที่ดินไม่กลับคืนแก่ผู้บริจาค แม้ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่แต่ผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ย่อมไม่ทำให้สิทธิของทายาทในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะดำเนินการฟ้องคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
จ. อุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว จึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ตามมาตรา 1305 แม้กรุงเทพมหานครจำเลยจะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาค และ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์นานเพียงใดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จ. อุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว จึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ตามมาตรา 1305 แม้กรุงเทพมหานครจำเลยจะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาค และ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์นานเพียงใดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852-1915/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุผลเฉพาะเจาะจง นอกเหนือจากราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ได้ราคาต่ำเกินสมควรนอกจากจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม แล้ว ยังจะต้องอ้างด้วยว่าการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้