พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องซื้อคืนที่ดินเช่า: ต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพิกถอนคำวินิจฉัยก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก. จังหวัดเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเสียก่อน การที่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยโจทก์จึงชอบที่จะฟ้อง คชก. จังหวัดเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุให้จำเลยโอนขายที่นาพิพาทคืนโจทก์ จึงเท่ากับขอให้กลับคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัด ดังนั้น ที่โจทก์ไม่ฟ้องหรือร้องขอให้เรียก คชก. จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยขายที่นาพิพาทคืนโจทก์โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์ เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 , 9 , 11 , 13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นวันก่อนที่ พ.ร.ฎ. สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออก พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกแล้วไม่อาจใช้ลงโทษจำเลยได้ แม้โจทก์อ้างถึง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 มีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลย มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกแล้ว ศาลไม่สามารถใช้ลงโทษจำเลยได้ แม้โจทก์อ้าง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรมโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลย มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาเห็นว่าการอุทธรณ์ประเด็นเหตุผลความจำเป็นในการเลิกจ้างเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยประสบภาวะขาดทุนจริงแต่ผลประกอบการในปี 2542 ขาดทุนน้อยกว่าปี 2541 และจำเลยยังได้เปิดสถานที่ขายคอนกรีตเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง แสดงว่ากิจการของจำเลยดีขึ้น การเลิกจ้างโจทก์เป็นเพียงนโยบายลดค่าใช้จ่ายเท่านั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักในปี พ.ศ. 2541 และ 2542จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งปรับโครงสร้างทางบุคลากรด้วยเพื่อให้กิจการของจำเลยอยู่ต่อไปได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น เป็นกรณีที่ต้องนำข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติแล้วว่าจำเลยประสบภาวะขาดทุนในปี พ.ศ. 2541 และ 2542และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาเพื่อจัดสรรขายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อการใช้ประโยชน์จากที่นานั้นเองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำไปขายซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37(2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องเป็นการใช้ที่ดินเอง ไม่ใช่ขาย หากขายถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำนาไปขาย ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37 (2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้