คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกนธ์ กฤติยาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ การนำเสนอข้อเท็จจริงต้องชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ณ วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ จากเดิมที่ให้กำหนด โดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึง มาตรา 21 ทั้งมาตรา คือ ต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย หาใช่แก้ไขให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยต้องถือเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนในปีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษ กรณีกระทำผิดซ้ำภายในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 2,500 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขให้คุมความประพฤติของจำเลยโดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้ง มีกำหนด 1 ปี และจำเลยได้กระทำผิดคดีนี้อีกภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและมิได้ขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับคดีนี้มาท้ายฟ้อง แต่ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาล ตาม ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงให้นำโทษจำคุก 3 เดือนที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีอายุความฟ้องคดีอย่างไร
ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมีเพียงที่ดินสองแปลงที่พิพาทกันในคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงแล้วนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจัดการมรดกไม่ถูกต้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 จัดการมรดกเสร็จสิ้น คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิจะรับมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้ด้วยสิทธิความเป็นทายาทและย่อมจะครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตน กรณีไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจัดการมรดกและการรับมรดกของทายาท ศาลฎีกายืนตามศาลล่างว่าฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินสองแปลง จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ไปแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเกินกว่า 5 ปีคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตร ป. เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้และครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตนไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกและไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ1 ปี ตามมาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้า: การค้าที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจการของลูกหนี้
การประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองเป็นประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ประกอบการค้าประเภทพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ธุรกิจสองประเภทนี้มิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กันแต่อย่างใด ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคาร แต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3 อันจะตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายเครื่องปรับอากาศ พิจารณาความสัมพันธ์ทางธุรกิจและประเภทสินค้า
โจทก์ทั้งสองเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันโดยประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นบริษัทมหาชน จำกัด และบริษัทจำกัดทำกิจการร่วมกันประเภทการพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ธุรกิจของฝ่ายโจทก์และจำเลยมิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กัน ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคารแต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์จึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และการพิจารณาผลกระทบจากความล่าช้า
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ คือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน จากเดิมที่ให้กำหนดโดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา 21 ทั้งมาตรา คือต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย และบทบัญญัติมาตรา 9 ที่แก้ไขนี้ ข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ซึ่งเป็นวันเวลาก่อนที่โจทก์อุทธรณ์ราคาของอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืนในโครงการนี้ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดนั้นต้องเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ หาใช่เป็นวันภายหลังใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ก็ได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค: โจทก์สละสิทธิเรียกร้องเมื่อทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยร่วมเพื่อชำระค่าโทรทัศน์สี แต่จำเลยร่วมมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้ทวงถามเช็คพิพาทคืน แต่จำเลยร่วมไม่คืนให้เพราะนำไปขายลดแก่โจทก์และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยร่วมและผู้สั่งจ่ายเช็ครายอื่นรวม 12 คน ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คจำนวน 20 ฉบับซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยร่วมยินยอมชำระเงินให้โจทก์ถือว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้วโดยได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินอีก
of 369