พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจโทษในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุก 10 ปี และฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี รวมจำคุก 20 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษา แก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 8 ปี ลดโทษกระทงละกึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 8 ปี จึงเป็นกรณีที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นฎีกาโต้เถียง ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: หน้าที่ก่อสร้าง, การผิดสัญญา, และดอกเบี้ยกรณีไม่สามารถก่อสร้างได้
สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระบุว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินค่ามัดจำห้องชุดโดยวิธีผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ส่วนที่เหลือผู้ซื้อจะชำระให้แก่ผู้ขายในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผู้ขายจะทำการก่อสร้างให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 18 เดือน นับตั้งแต่ได้รับอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างอาคารจากทางราชการ? แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขาย ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ได้ชำระมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ครบตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ก่อสร้างห้องชุดพิพาทให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จตามรายการที่ระบุในสัญญาดังกล่าว ซึ่งนับตั้งแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ระบุไว้ในสัญญาว่าจะก่อสร้างเสร็จ จนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือแจ้ง บอกเลิกสัญญาเป็นรายเวลานานถึง 3 ปี จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดดังกล่าว ระบุว่า "หากบริษัทฯ ไม่สามารถทำการก่อสร้างหรือไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดอันเนื่องจากขัดต่อข้อบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ หรือขัดข้องด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือบริษัทฯ เลิกทำการก่อสร้างอาคารชุด บริษัทฯ มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้และคืนเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระจาก "ผู้จะซื้อ" ให้แก่ "ผู้จะซื้อ" พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตรา 14% ต่อปี?" ย่อมหมายถึง สัญญาเลิกกันโดยมิใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินที่รับชำระไว้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิใช่หมายถึงเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายบอกเลิกด้วยเหตุที่ระบุดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับชำระแต่ละงวดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 2
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดดังกล่าว ระบุว่า "หากบริษัทฯ ไม่สามารถทำการก่อสร้างหรือไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดอันเนื่องจากขัดต่อข้อบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ หรือขัดข้องด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือบริษัทฯ เลิกทำการก่อสร้างอาคารชุด บริษัทฯ มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้และคืนเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระจาก "ผู้จะซื้อ" ให้แก่ "ผู้จะซื้อ" พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตรา 14% ต่อปี?" ย่อมหมายถึง สัญญาเลิกกันโดยมิใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินที่รับชำระไว้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิใช่หมายถึงเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายบอกเลิกด้วยเหตุที่ระบุดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับชำระแต่ละงวดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมสละที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ทำให้ที่ดินตกเป็นของแผ่นดิน แม้มีการโอนสิทธิภายหลัง
เมื่อไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อก่อสร้างถนนสายอักษะตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 และจำเลยก็ไม่ได้ดำเนินการให้มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ฉะนั้นที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ได้ถูกเวนคืนตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่เนื่องจากพฤติการณ์ของ บ. แสดงออกชัดว่าได้ยอมสละที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อสร้างถนนสายอักษะตั้งแต่ปี 2508 และรับเงินค่าตอบแทนไปบ้างแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ต่อมาภายหลัง บ. ได้โอนที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทด้วย ก็หาทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาส่งมอบที่ดินตามคำขอให้แก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิ ถือเป็นการแบ่งที่ดินได้ ไม่เกินคำขอ
ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ทั้งเจ็ดขอให้บังคับจำเลยแก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เลขที่ 150 และ 151 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่ง คำขอท้ายฟ้องเช่นนั้นมีความหมายว่า ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งนั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษา ให้จำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: ความผิดเกิดขึ้นในเขตอำเภออื่น ทำให้การสอบสวนและการฟ้องไม่ชอบ
การที่จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนให้ผู้อื่นเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน แต่จำเลยมีที่อยู่และถูกจับที่บ้านในเขตอำเภอ น. และความผิดของจำเลยมิได้เกิดในเขตอำเภอ ด. พนักงานสอบสวนอำเภอ ด. จึงไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4441/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่ชอบด้วยก.ม. เจ้าของที่ดินมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ แม้ได้รับเงินชดเชยบางส่วน
เมื่อที่ดินพิพาทมิได้อยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯการดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาทโดยกรุงเทพมหานครจึงเป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ การที่กรุงเทพมหานครโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้โจทก์เป็นการกระทำโดยชอบแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ฯ ซึ่งมีผู้ว่าของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนและตามบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังคงมีชื่อโจทก์กับ ส. และ ณ. เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ซึ่งบุคคลทั้งสามมอบอำนาจให้ทนายโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยนำเงินค่าทดแทนที่ดินมาชำระแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้มีการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและจ่ายเงินทดแทนที่ดินให้แก่ฝ่ายโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมาย ทำให้ฝ่ายโจทก์ไม่มีโอกาสที่จะดำเนินการอุทธรณ์หรือฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของฝ่ายโจทก์แล้ว และการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยื่นฟ้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4441/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเมื่อที่ดินไม่อยู่ในขอบเขตเวนคืน
เมื่อที่ดินพิพาทมิได้อยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลของกรุงเทพมหานคร การดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาทโดยกรุงเทพมหานครจึงเป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ การที่กรุงเทพมหานครโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทดังกล่าวถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ฯ และตามบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังคงมีชื่อโจทก์กับ ส. และ ณ. เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ซึ่งบุคคลทั้งสามมอบอำนาจให้ทนายโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยนำเงินค่าทดแทนที่ดินมาชำระแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้มีการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและจ่ายเงินทดแทนที่ดินให้แก่ฝ่ายโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมาย ทำให้ฝ่ายโจทก์ไม่มีโอกาสที่จะดำเนินการอุทธรณ์หรือฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของฝ่ายโจทก์แล้ว และการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยื่นฟ้อง ให้จำเลยรื้อถอนทางพิเศษในส่วนที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาท หากไม่สามารถที่จะรื้อถอนได้ ก็ให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดิน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4421/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การที่จำเลยซึ่งขาดนัดพิจารณา อ้างว่าไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดพิจารณาตลอดจน คำบังคับซึ่งส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลย เพราะเหตุไปค้าขายที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหนี้และการออกเช็คชำระหนี้ใหม่ ย่อมทำให้จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
แม้เดิมจำเลยจะออกเช็คพิพาทเพื่อประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงอันมีผลให้จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเสีย แล้วทำ บันทึกข้อตกลงกันใหม่ โดยตกลงให้นำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ก็ต้องถือว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงใหม่ อันเป็นหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว กรณีหาใช่โจทก์ร่วมกับ จำเลยตกลงกันใหม่เพื่อไม่ให้คดีอาญาระงับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดไม่ใช่เอกสารบัญชี - ไม่ต้องลงรายการกู้เงิน
จำเลยทำรายงานสรุปยอดเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วยรายงานดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดของบริษัท แม้จำเลยจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดฐานไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท