คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกนธ์ กฤติยาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบบริษัท และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์อนุญาตให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนไม่ตรงกับใบสั่งจ่ายน้ำมันเข้าไปเติมน้ำมันในบริษัทจำเลยและออกใบผ่านยามไม่ตรงกับความจริง ซึ่งปฏิบัติกันเป็นปกติเพราะไม่มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จำเลยก็เรียกเก็บเงินในภายหลังได้ตามปกติ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ว่า "ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย ทำหลักฐานหรือรายงานหรือให้ข้อความเป็นเท็จแก่บริษัทฯ" จำเลยจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812-7813/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การก่อน จึงจะอุทธรณ์ได้
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่นั้น จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 9 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าคอมมิชชั่นขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ การที่จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812-7813/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในชั้นศาลแรงงานก่อน หากไม่ทำในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหา ดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับค่าคอมมิชชั่นขึ้นต่อสู้ไว้ใน คำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีแล้ว จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างโดยไม่ตรงเหตุ ผลักดันให้จ่ายค่าชดเชยแม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
แม้ในระหว่างการทำงานโจทก์ลาป่วยและมาทำงานสายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการลา ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ตักเตือนโจทก์ในเรื่องดังกล่าวด้วยวาจาและเป็นหนังสือ จำเลยได้ลงโทษโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนหลายครั้งซึ่งจำเลยอาจอ้างความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ตาม แต่หนังสือเลิกจ้างของจำเลยเพียงแต่อ้างเหตุที่ให้โจทก์ออกจากงานว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นผู้หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่การงานของตน ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และบกพร่องในหน้าที่เท่านั้น จำเลยมิได้อ้างเหตุความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุโดยตรงในการเลิกจ้าง จึงต้องถือว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะเลิกจ้างโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว นอกจากนี้ตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 34 ซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยในการเลิกจ้างโจทก์ ก็ระบุว่าพนักงานที่ต้องพ้น จากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34 ให้ถือว่าเป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่โดยมิได้กระทำความผิด มีสิทธิได้รับบำเหน็จอีกด้วย จำเลยจึงหยิบยกอ้างความผิดของโจทก์ซึ่งมิได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือให้โจทก์ออกจากงานมาเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแม้ผู้ถูกเลิกจ้างมีประวัติลาป่วยและมาสาย หากเหตุผลในหนังสือเลิกจ้างไม่ได้อ้างถึงประวัติความผิดนั้นโดยตรง
ระหว่างการทำงานโจทก์ลาป่วยและมาทำงานสายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการลา ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ตักเตือนด้วยวาจาและเป็นหนังสือ และลงโทษโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนหลายครั้ง ซึ่งจำเลยอาจอ้างความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ตามหนังสือให้พนักงานออกจากงาน (เลิกจ้าง) ของจำเลยเพียงแต่อ้างเหตุที่ให้โจทก์ออกจากงานว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นผู้หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่และบกพร่องในหน้าที่เท่านั้น จำเลยไม่ได้อ้างเหตุความผิดของโจทก์มาเป็นเหตุโดยตรงในการเลิกจ้างจึงต้องถือว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะเลิกจ้างโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว จำเลยยังอ้างข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจจำเลยในการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวได้แต่ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการลาออกจากตำแหน่งหน้าที่โดยมิได้กระทำความผิดและมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จำเลยจึงหยิบยกอ้างความผิดของโจทก์ซึ่งมิได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 6,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ทั้งสองจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปจำนวนมากน้อยเท่าใด และโจทก์ทั้งสองไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าวด้วยเงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยเป็นนายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ทั้งสองถือว่าเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
แม้จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้ระบุเหตุผลของการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสามกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ก็ตามแต่ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ ศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในส่วนนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่ระบุเหตุผล
นายจ้างจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อย เท่าใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าว เงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายใจความว่า ระหว่างที่จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยนำสินค้าไปขายและเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์แล้ว แต่ไม่นำส่งเงินให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะบรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหายแล้ว ยังถือว่าโจทก์เสนอข้อหาว่า จำเลยได้กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีนี้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น ย่อมมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 หาได้มีอายุความ 1 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เลิกจ้างเมื่อนายจ้างไม่เพิ่มเงินเดือนและลูกจ้างไม่ต่อสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์หาได้กระทำการใด ๆ เพื่อมิให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ไม่ตกลงเพิ่มเงินเดือนแก่ลูกจ้างตามความประสงค์ของลูกจ้างเนื่องจากพิจารณาเห็นว่าตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันโจทก์ไม่สามารถจะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 4 กับโจทก์จนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 สิ้นสุดลง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป เพราะโจทก์มิได้ลดเงินเดือนหรือค่าจ้างของลูกจ้างและโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไปในอัตราเงินเดือนเดิม แต่ลูกจ้างกลับเป็นฝ่ายที่ไม่ไปทำงานกับโจทก์เองหลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เลิกจ้างลูกจ้าง โจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง การไม่ตกลงเพิ่มเงินเดือนไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
นายจ้างจะต้องกระทำการใด ๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างสามฉบับ การทำงานตามสัญญาจ้างทั้งสามฉบับมีระยะเวลาติดต่อกัน ครั้นถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2542 ก่อนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 ครบกำหนด โจทก์เรียกให้ลูกจ้างไปทำสัญญาจ้างฉบับที่ 4 มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อจากสัญญาจ้างฉบับที่ 3 ไปอีก 2 ปี โจทก์ประสงค์จะจ้างลูกจ้างให้ทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปในอัตราค่าจ้างเดิม แต่ อ. ลูกจ้างเสนอขอเงินเดือนเพิ่มและไม่ลงชื่อตอบรับการจ้างตามสัญญาจ้างฉบับที่ 4 โจทก์เห็นว่าค่าจ้างของลูกจ้างเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว จึงไม่ตกลงเพิ่มเงินเดือนให้ตามที่ลูกจ้างต้องการ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ตามสภาวะเศรษฐกิจโจทก์ไม่สามารถจะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 4 กับโจทก์จนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 สิ้นสุดลง ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปเพราะโจทก์มิได้ลดเงินเดือนหรือค่าจ้างของลูกจ้างและโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไปในอัตราเงินเดือนเดิม แต่ลูกจ้างเป็นฝ่ายที่ไม่ไปทำงานกับโจทก์เองหลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เลิกจ้างลูกจ้าง โจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ อ. ลูกจ้าง
of 369