พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดไม่ใช่เอกสารบัญชี - ไม่ต้องลงรายการกู้เงิน
จำเลยทำรายงานสรุปยอดเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วยรายงานดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดของบริษัท แม้จำเลยจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดฐานไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้พิการทำปืนเถื่อนเพื่อเลี้ยงชีพ พิจารณาโทษสถานเบาและฟื้นฟูผู้กระทำผิด
แม้อาวุธปืนที่จำเลยทำ ประกอบ และซ่อมแซมจะมีหลายกระบอกแต่ก็เป็นเพียงอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) อาวุธปืนยาวอัดลมซึ่งมีอานุภาพไม่ร้ายแรง จำเลยร่างกายพิการเนื่องจากเป็นโรคเรื้อนอยู่ระหว่างรักษาตัว ได้ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตัวรับทำเครื่องมือเครื่องใช้ ในการเกษตรกรรม เพื่อมิให้เป็นภาระแก่สังคม ชาวบ้านเห็นว่าเป็นคนมีฝีมือ จึงไหว้วานให้ช่วยซ่อมแซมอาวุธปืนของกลางซึ่งมีไว้ยิงหนู ยิงกบหรือยิงสัตว์เล็กๆ ที่มากัดกินต้นข้าวเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัว พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติ จะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ การลงโทษจำคุก จำเลยระยะสั้นนอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติ ของจำเลยแล้ว ยังทำให้จำเลยมีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้ว ก็ยากที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเองและ ครอบครัวโดยสุจริตต่อไปได้ การรอการลงโทษจำคุกจำเลยและคุม ความประพฤติจำเลยไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในความผิดชิงทรัพย์ - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ - การรอการลงโทษ
จำเลยมิได้ถืออาวุธปืนจ้องมาทางผู้เสียหาย ก่อนหยิบเสื้อของ ว. ไป จำเลยพูดว่าเอาเสื้อไปนะ ขณะหยิบเสื้อของ ว. ซึ่งแขวนอยู่ที่ไม้แขวนเสื้อและเครื่องรับโทรศัพท์ไร้สาย จำเลยถืออาวุธปืนอยู่ในมือข้างเดียวกับที่ถือไม้แขวนเสื้อแสดงว่าจำเลยมิได้หยิบเสื้อของ ว. ไปโดยพลการ จำเลยถือไม้แขวนเสื้อในมือที่ถืออาวุธปืนมีลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวได้ ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายไม่กล้าขัดขวางจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยถืออาวุธปืน จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายและว. ไปจึงมิใช่เกิดจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยเอาทรัพย์ไปก็เพื่อให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จำเลยมีฐานะดี การที่เอาทรัพย์ของผู้เสียหายและ ว. ไป เพื่อต้องการให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จึงไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยเอาทรัพย์ไปก็เพื่อให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จำเลยมีฐานะดี การที่เอาทรัพย์ของผู้เสียหายและ ว. ไป เพื่อต้องการให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จึงไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมาหาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองระหว่างที่ศาลปกครองยังมิได้เปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น มาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมา หาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯจะมีผลเป็นการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองก็ตาม แต่ศาลปกครองเหล่านั้นจะเปิดทำการเมื่อใดต้องเป็นไปตามประกาศของประธานศาลปกครองสูงสุด เมื่อยังไม่มีประกาศดังกล่าวก็ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้มิฉะนั้นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้โจทก์จะใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาล ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: ความสำคัญของการรับรู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้เกิดจากความผิดพลาดของโจทก์
การจงใจขาดนัดต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึง วันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: การสำคัญผิดเวลานัดไม่ใช่การจงใจ
การจงใจขาดนัดจะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึงวันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิด และได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัด และไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ โดยโจทก์โต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี แม้จะเป็นการแก้ไขมาก โจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษและริบของกลาง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลในการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ฟ้องคดีต่อศาล โดยไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี จำเลยทั้งสามฎีกาในทำนองไม่เห็นด้วยกับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ หักเอาไว้อันเนื่องจากมีความเห็นว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งเพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตนเองหรือฝ่ายตนเอง จำเลยทั้งสามหามีสิทธิฎีกาเช่นนี้ไม่