คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกนธ์ กฤติยาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7816/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานขับรถประมาท จำเลยต้องรับผิดตามที่ฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกายกประเด็นความผิดอื่นที่ไม่ได้บรรยาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ซึ่งหมายถึงมาตรา 160 วรรคสามด้วยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันเป็นความผิดตามมาตรา 43 (4) ซึ่งต้องลงโทษตามมาตรา 157 เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) อันจะต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสามด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 160 วรรคสาม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทหลังสัญญาขายฝาก: โจทก์ยังไม่ได้ครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่ พ. แต่ พ. ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมา พ. ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ก็เป็นเพียงดำเนินการทางทะเบียนเท่านั้น โจทก์ยังมิได้ครอบครองที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกได้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7170/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรง และศาลมีอำนาจกำหนดราคาที่ดินส่วนที่เหลือลดลงได้แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
ค่าเสียหายที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะมีสิทธิได้รับเพราะเหตุที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น การที่โจทก์ที่ 1 และ ส. จะต้องไปเช่าบ้านอยู่ในระหว่างที่รอการก่อสร้างบ้านใหม่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามกำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูง ให้เอาราคาสูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ หากที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ส. ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ลดลงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำสัญญา แม้จะอ้างเป็นเพียงตัวแทน
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรมร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรม แม้เป็นเพียงกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กรณีโทษจำคุกเกินสองปี
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำคุกและการรอการลงโทษ: กรณีโทษจำคุกเกินเกณฑ์
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สาระสำคัญของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(1) อยู่ที่วันออกเช็ค ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำความผิด เพียงแต่ความผิดยังไม่เกิดจนกว่าธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นความผิดจึงจะเกิดสำเร็จ เมื่อจำเลยออกเช็ควันที่ 31 มีนาคม 2539 โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบเพียงว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ให้เหตุผลว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอใช้เงินตามเช็ค ซึ่งหากโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงินในวันดังกล่าว ธนาคารย่อมจะต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คอยู่นั่นเอง พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4
of 369