พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาซ้ำ ความเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้แบ่งพนักงานหรือลูกจ้างไว้เป็น 2 ประเภท คือประเภทผู้บังคับบัญชากับประเภทพนักงานธรรมดา โดยถือเอาระดับตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานเป็นเกณฑ์ พนักงานที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานในงานทุกส่วนถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งสิ้น มิได้ถือว่าผู้ที่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการพนักงานคนใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาเฉพาะของพนักงานคนนั้นเท่านั้น เมื่อ ก. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการอาคาร มีระดับเป็นหัวหน้างานในอาคาร ก. จึงเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านี้โจทก์เคยดูหมิ่น พ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์และจำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่ต่อมาโจทก์กล่าวดูหมิ่น ก. เกี่ยวกับการทำงานอีกจึงเป็นการดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาอันเป็นการทำผิดซ้ำคำเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(4) จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษต่อลูกจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายซึ่งโจทก์ทำงานอยู่และมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงิน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ละทิ้งหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่อาจเลิกจ้างได้
จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายมีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ 150 คน จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนโจทก์ทั้งสอง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม คำสั่งดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
โจทก์เบิกความประกอบเอกสารหมาย จ.1 และส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ศาลชั้นต้นรับเอกสารนั้นไว้เป็นพยานโจทก์และนำมาวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ ถือว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานเอกสารของโจทก์เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวและมิได้ส่งสำเนาให้จำเลย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน
ตู้นิรภัยมีลูกกุญแจใช้ประจำรวม 2 ดอก โดยจะต้องไขพร้อมกันจึงจะเปิดตู้นิรภัยได้ และมีระเบียบว่าด้วย การรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงิน กำหนดให้หัวหน้ากองคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยการเงินหรือผู้ที่หัวหน้ากองมอบหมายถือกุญแจไว้ 1 ดอก และหัวหน้าหน่วยการเงินถือไว้ 1 ดอก ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดถือพร้อมกันทั้ง 2 ดอก แต่โจทก์ไม่ได้ถือลูกกุญแจไว้เลย กลับได้มอบให้ น.ผู้ใต้บังคับบัญชาเก็บไว้ทั้ง 2 ดอก โดยโจทก์มิได้ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาถือกุญแจแยกไว้คนละดอกตามระเบียบ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้ความระมัดระวังปฏิบัติให้ ถูกต้องตามระเบียบได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวจนเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถจี้บังคับ น.ให้เปิดตู้นิรภัยเอาเงินที่เก็บไว้ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ มิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7106/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ยินยอมลูกจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบธรรม และการสอบถามสิทธิเป็นสิทธิลูกจ้าง
จำเลยมิได้จัดทำข้อตกลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นหนังสือ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา ตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมาโดยลูกจ้างของจำเลยไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงถือได้ว่ากำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา เป็นสภาพการจ้างที่มีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยทั้งหมดการที่จำเลยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างมาเป็นระหว่างเวลา 12 ถึง 13 นาฬิกา ย่อมมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าสภาพการจ้างเดิมจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: ค่าจ้าง vs. สัญญาจ้าง, การเพิ่มเติมคำให้การ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ให้ศาลแรงงานสอบถามและบันทึกคำให้การจำเลยในวันนัดพิจารณา และตามมาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติว่าจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาล (วันนัดพิจารณา) ก็ได้ การที่จำเลยขอเพิ่มคำให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความโดยยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แต่ยังไม่ได้สืบพยานโจทก์ จำเลยจึงยื่นคำให้การเพิ่มเติมได้โดยชอบเพราะยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยสามารถให้การเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็ระบุรายละเอียดว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จำเลยยังจ่ายให้โจทก์ไม่ครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็ระบุรายละเอียดว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จำเลยยังจ่ายให้โจทก์ไม่ครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การในคดีแรงงานเรื่องอายุความ ศาลอนุญาตได้หากยังอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ซึ่งข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำให้การของจำเลยในคดีแรงงานนั้น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 39 ที่ให้ศาลแรงงานสอบถามและบันทึกคำให้การจำเลยในวันนัดพิจารณาและตามมาตรา 37 วรรคสอง ก็บัญญัติว่าจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาล (วันนัดพิจารณา)ก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความโดยยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แต่ยังไม่ได้สืบพยานโจทก์ จำเลยจึงยื่นคำให้การเพิ่มเติมได้โดยชอบเพราะยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยสามารถให้การเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาได้ตามมาตรา 39 และมาตรา 37 ดังกล่าวแล้วและกรณีดังกล่าวไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 มาใช้บังคับ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากวันนัดพิจารณา ที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเพิ่มเติมนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6977/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยกรณีมีเงินบำเหน็จสูงกว่า เงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ตามกฎหมาย
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 กำหนดให้บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 จ่ายเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งให้แก่พนักงาน และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์รับไปแล้ว โจทก์ก็ยอมรับว่าเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีที่ได้รับเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เงินบำเหน็จตัดตอนรายปี ที่จำเลยที่ 3 จ่ายให้โจทก์จึงเป็นการจ่ายและรับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม หาใช่โจทก์รับโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ เพราะบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว กำหนดเพียงวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวง อุตสาหกรรมที่ 124/2501 ว่าให้จ่ายตัดตอนเป็นรายปีได้เท่านั้น
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างที่จำเลยที่ 3 ตกลงให้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสหภาพแรงงานเป็นทางการและเคยถือปฏิบัติมาก่อนแก่พนักงาน และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างดีขึ้น จึงต้องนำไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคิดค่าชดเชย และค่าชดเชยดังกล่าวที่ได้รับก็เป็นค่าชดเชยตามจำนวนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพอันถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์ดังกล่าวที่โจทก์จะพึงได้รับ ส่วนค่าชดเชยซึ่งเป็นผลประโยชน์อีกประการหนึ่งที่โจทก์จะพึงได้รับและจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องจ่ายก็มีเฉพาะค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้โจทก์ทั้งห้ารับไปแล้ว และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงิน ชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงิน ชดเชยหรือค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง และถ้าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย และเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยก็ถือว่าได้จ่ายค่าชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายรวมไปกับเงินบำเหน็จแล้ว จำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์รับไปแล้ว และเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ถือว่าจำเลยที่ 3 จ่ายค่าชดเชยรวมไปกับเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยอีก
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างที่จำเลยที่ 3 ตกลงให้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสหภาพแรงงานเป็นทางการและเคยถือปฏิบัติมาก่อนแก่พนักงาน และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างดีขึ้น จึงต้องนำไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคิดค่าชดเชย และค่าชดเชยดังกล่าวที่ได้รับก็เป็นค่าชดเชยตามจำนวนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพอันถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์ดังกล่าวที่โจทก์จะพึงได้รับ ส่วนค่าชดเชยซึ่งเป็นผลประโยชน์อีกประการหนึ่งที่โจทก์จะพึงได้รับและจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องจ่ายก็มีเฉพาะค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้โจทก์ทั้งห้ารับไปแล้ว และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงิน ชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงิน ชดเชยหรือค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง และถ้าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย และเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยก็ถือว่าได้จ่ายค่าชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายรวมไปกับเงินบำเหน็จแล้ว จำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์รับไปแล้ว และเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ถือว่าจำเลยที่ 3 จ่ายค่าชดเชยรวมไปกับเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ศาลยืนคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ค. และ ง. ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม