พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลสมควรจากการขาดความไว้วางใจจากความบกพร่องในการบังคับบัญชา
สัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่มีเหตุที่จำเลยจะไล่โจทก์ออกจากงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันที่มีคำสั่งเลิกจ้างจนถึงวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 เป็นเวลา 44 วัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลพิจารณาเหตุผลที่กว้างกว่าความผิดร้ายแรงตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
การเลิกจ้างของนายจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควร ที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ เหตุดังกล่าวอาจเกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่มิใช่การกระทำหรือความผิด ของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ก็ตาม แต่โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และโจทก์ทำงานบกพร่องหลายครั้ง ผู้บังคับบัญชา เตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นทำให้จำเลยเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แต่โจทก์และจำเลยยังมีข้อโต้เถียงกันว่า จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงิน ที่ค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ก็ตาม แต่โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และโจทก์ทำงานบกพร่องหลายครั้ง ผู้บังคับบัญชา เตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นทำให้จำเลยเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แต่โจทก์และจำเลยยังมีข้อโต้เถียงกันว่า จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงิน ที่ค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กว้างกว่าเหตุเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49หรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ทำงานบกพร่องหลายครั้งผู้บังคับบัญชาเตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นและมีลูกค้าส่งสินค้าคืนมาหลายครั้ง ทำให้จำเลยเสียหาย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะมีข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงินทีค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคสอง
จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะมีข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงินทีค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง: พิจารณาคดีแรงงานทั่วราชอาณาจักรเมื่อยังไม่มีศาลแรงงานภาค/จังหวัด
ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลจังหวัดเชียงใหม่เป็นศาลที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาหรือเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805-6807/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนดระยะเวลา
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ทั้งสามไว้พิจารณาโดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ทั้งสามไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6791/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด การทำงานบกพร่องตามปกติไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
ก่อนเกิดเหตุโจทก์เคยฝังเพชรฝังพลอยเครื่องประดับรุ่นอื่น ๆ บกพร่องมาแล้ว จำเลยมิได้ถือเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงแต่ตักเตือนโจทก์ด้วยวาจา เมื่อโจทก์ทำงานฝังเพชรแหวนรุ่น อาร์ - 173 บกพร่อง จำเลยก็ยังยอมรับในคุณภาพฝีมือของโจทก์ การทำงานบกพร่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติของช่างฝังทุกคน และโจทก์ไม่ได้พลิกแพลงวิธีการทำงานให้ผิดไปจากปกติที่เคยปฏิบัติ การที่โจทก์เจาะรูตัวเรือนแหวนกว้างเท่ากันตลอดก็มิได้เพื่อจะให้ได้เศษทองมากขึ้น ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าการทำงานบกพร่องของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต หรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้การกระทำของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย แต่ความผิดที่โจทก์กระทำล้วนไม่ใช่ความผิดที่จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แสดงว่าจำเลยมิได้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพักงานทางวินัยและการโต้แย้งสิทธิ: การตั้งกรรมการสอบสวนไม่กระทบคำสั่งพักงานหากยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพ
คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยของจำเลยที่ 1จะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ หาถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคจึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งให้พักงานคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยจึงชอบแล้ว
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคจึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งให้พักงานคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพักงานทางวินัยของนายจ้างและการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ กรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าวจะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนยังทำการสอบสวนไม่เสร็จ และจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีความเห็นหรือมีมติว่าโจทก์มีความผิดและมีคำสั่งที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าจ้างโดยไม่ชอบธรรมและอายุความฟ้องร้องคดีแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
วันที่ 9 มีนาคม 2543 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ว เห็นว่าคดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งที่ให้งดสืบพยานซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ เฉพาะของโจทก์ลดลงไปเดือนละ 2,022 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 รวม 26 เดือน เป็นเงิน 52,572 บาท การลดเงินเดือนและไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและผิดสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามบทบัญญัติข้างต้น มิใช่เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ เฉพาะของโจทก์ลดลงไปเดือนละ 2,022 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 รวม 26 เดือน เป็นเงิน 52,572 บาท การลดเงินเดือนและไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและผิดสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามบทบัญญัติข้างต้น มิใช่เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี