คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกนธ์ กฤติยาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,686 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินโบนัสตามผลดำเนินงาน สัญญาจ้างกำหนดสิทธิขั้นต่ำ และผลของการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจ้างกำหนดสิทธิที่โจทก์จะได้รับเงินโบนัสจากจำเลยว่า "เงินโบนัสตามผลดำเนินงานของบริษัท โดยบริษัทจะจ่ายเงินโบนัสให้อย่างน้อยปีละ 1 เท่าของเงินเดือน ในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี" ย่อมหมายความว่า บริษัทจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์จำนวนมากน้อยตามผลการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างน้อยต้องจ่ายปีละ 1 เท่าของเงินเดือน โดยจ่ายให้แก่โจทก์ในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินโบนัสของปี 2541 ให้แก่โจทก์ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง มาตรา 7 และ 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727-2731/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับลดเงินโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามมติคณะรัฐมนตรี
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี แม้จำเลยจะมีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานอันถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลใช้บังคับตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา 54 วรรคสอง แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามมิให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และแม้พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ จะมิได้บัญญัติวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ก็ตามแต่ก็ไม่อาจนำขั้นตอนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาใช้ได้เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในกิจการของเอกชนเท่านั้นไม่ได้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจด้วย เมื่อประเทศประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจคณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจลงได้โดยให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่งทุกคนจึงมิได้ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 54 วรรคสองและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่งทุกคนจึงไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความข้ามประเภทคดี และการไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ใบแต่งทนายความของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแรงงานระบุว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การประนีประนอมยอมความทนายโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์แม้สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญา และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีกไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญา และคดีอาญาดังกล่าวมิใช่คดีแรงงาน แต่ในใบแต่งทนายดังกล่าวมอบหมายให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น และข้อตกลงดังกล่าวก็เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 มิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน ศาลแรงงานจึงพิพากษาตามยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยกำลังจะปิดบริษัทเนื่องจากขาดทุนอย่างมหาศาล ต้องลดกำลังคน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นธรรมแล้ว จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ลาออก ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำใบลาออกและหนังสือปลดเปลื้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์มาพิจารณาว่าโจทก์ลาออก อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือนจึงจ่ายค่าจ้างต่าง ๆ ให้ครบในแต่ละเดือนแล้ว เอกสารที่โจทก์อ้างโดยขอหมายเรียกจากจำเลย ในนัดแรก ๆ จำเลยยังจัดหาให้ไม่ได้ ภายหลังโจทก์แถลงไม่ติดใจอ้างเอกสารเหล่านั้น ทั้งที่จำเลยเตรียมมาให้แล้ว ศาลแรงงานก็ไม่รับเอกสารเข้าสำนวนทั้งที่มีอำนาจ จำเลยไม่ได้แถลงคัดค้านไว้ก็เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ติดใจขอเอกสารนั้น ไม่ใช่เรื่องของจำเลยและไม่ทราบว่าการไม่นำส่งเอกสารจะกลับกลายเป็นโทษต่อจำเลย ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้โจทก์ได้ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดจึงคลาดเคลื่อนนั้น ศาลแรงงานฟังว่า โจทก์ทำงานทุกวันและทำงานล่วงเวลาทุกวันแม้ในวันหยุด แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราปกติมิได้จ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยฟังจากคำเบิกความของโจทก์ประกอบใบสำคัญการจ่ายค่าจ้าง และตารางคำนวณค่าจ้าง อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีกำไรประมาณ 5,000,000 บาท แล้วจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยขาดทุนซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิพนักงาน
คำร้องของโจทก์ที่อ้างว่า โจทก์มีสิทธิได้รับการสอบสวนความผิดทางวินัยจากกรรมการสอบสวนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของจำเลยตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยของจำเลย การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น กรณีตามคำร้องของโจทก์มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาหารเป็นสวัสดิการ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
อาหารวันละ 3 มื้อ ที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ไปทำงานปกติรับประทาน โดยลูกจ้างซึ่งไม่ได้ไปทำงานหรือเป็นวันหยุดจะไม่ได้รับประทานด้วยนั้น อาหารดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการช่วยการครองชีพของลูกจ้างซึ่งมาทำงานให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลบังคับใช้ทำให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก ความหมายคำว่า "ค่าจ้าง" จึงต้องใช้ตามมาตรา 5 ซึ่งหมายถึง "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ?" ดังนั้น อาหารวันละ 3 มื้อ ที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์จึงมิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจควบคู่กับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
จำเลยประสบภาวะขาดทุนจำเป็นจะต้องลดจำนวนลูกจ้างและจำเลยได้ขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างประจำสถานประกอบการของจำเลยและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวต่อศาลแรงงานก่อนที่สหภาพแรงงานจะยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อจำเลยนานประมาณ 1 ปี และเมื่อศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงสืบเนื่องมาจากจำเลยประสบภาวะขาดทุน จำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างและศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตแล้ว มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ฉะนั้น แม้ว่าโจทก์จะเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตามที่สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย และขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นั้นจะอยู่ในระหว่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงานภายใต้เหตุผลทางธุรกิจ มิใช่การกลั่นแกล้ง
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มิได้หมายความว่าหากมีเหตุจำเป็นที่นอกเหนือจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างไม่ได้เสียเลยทีเดียว
จำเลยประสบภาวะขาดทุนต้องลดจำนวนลูกจ้างและจำเลยได้ขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางก่อนที่สหภาพแรงงานจะยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อจำเลยนานประมาณ 1 ปี และเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยก็มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ฉะนั้น แม้โจทก์จะเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องตามที่สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยและเลิกจ้างขณะที่อยู่ในระหว่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ยังตกลงกันไม่ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และผลกระทบจากการดำเนินการที่ล่าช้า
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวงในรัฐบาลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นผู้แทน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้นเป็นผู้แทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีทางหลวงรวมทั้งมีหน้าที่ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนสำหรับสร้างทางหลวงอันเป็นสิ่งสาธารณูปโภค ดังนั้น การเวนคืนที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเพื่อให้ได้ที่ดินมาใช้สร้างทางหลวงแผ่นดิน ย่อมเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง นอกจากนี้ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้เวนคืนที่ดิน จำเลยที่ 2 ยังกำหนดให้จำเลยที่ 3เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกำหนดให้จำเลยที่ 4เป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ออกประกาศแจ้งการเวนคืนและให้ความเห็นชอบกับการกำหนดเงินค่าทดแทนของคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ส่วนจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดให้ แต่จำเลยที่ 4มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4เพื่อให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ใหม่ให้เหมาะสม โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 และที่ 4 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ทันทีโดยไม่จำต้องรอให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน กำหนดเวลายื่นอุทธรณ์การกำหนดเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้แม้เป็นเวลาก่อนที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก็ตาม
หลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินพิพาทแล้วได้มีการโอนสิทธิในที่ดินไปยังโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 16 วรรคท้าย และเมื่อไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา จะถือเอาราคาภายหลังจากที่มีการสร้างทางแล้วเสร็จมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ได้เพราะเมื่อมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินเสร็จสมบูรณ์แล้วย่อมทำให้สภาพของที่ดินในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงจากในขณะเริ่มต้นดำเนินการเวนคืนและมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนที่ดินไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 22เมษายน 2536 ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายธนบุรี-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-ปากท่อฯ มีผลใช้บังคับแล้วถึงเกือบสามสิบปีเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควรเป็นการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามในราคาตารางวาละ 10 บาท โดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(3) เพียงประการเดียว ซึ่งใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10กรกฎาคม 2508 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมีเพียงเท่ากับเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกรณีนี้ฝ่ายจำเลยเพิ่งกลับมามีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2535ขอให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงหลักเกณฑ์ที่จะนำมาคำนึงในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมต้องเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับมาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงประมาณ 2 ปีซึ่งเทียบเคียงกับระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์
of 369